น้ำคร่ำน้อยอันตรายหรือไม่?
น้ำคร่ำมีความสำคัญต่อทารกน้อยในครรภ์อย่างมาก ซึ่งตลอด 40 สัปดาห์น้ำคร่ำจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับช่วยประคองทารกให้อยู่สบายในครรภ์คุณแม่ไปจนกว่าจะคลอด
บทความแนะนำ คลิก >> น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือดเพชฌฆาตเงียบของแม่ท้อง
น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) ที่ทางการแพทย์เรียกว่า น้ำทูนหัวทารก น้ำคร่ำ เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งทารกจะอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่เป็นเสมือนบ้านหลังแสนอบอุ่นของลูก ทารกน้อยจะลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะมากระทบกระเทือนต่อทารกให้รับบาดเจ็บ ยิ่งในอายุครรภ์อ่อนๆ เสี่ยงต่อการแท้งได้ง่าย
น้ำคร่ำมีประโยชน์อย่างไรกับทารกน้อยในครรภ์ ?
- เป็นเกราะป้องกันอันตรายให้กับทารกในครรภ์
- ป้องกันแรงกระแทกที่อาจได้รับจากภายนอกครรภ์
- ช่วยรักษาอุณหภูมิคงที่ให้ทารกน้อยในครรภ์
- ช่วยลดการกดทับสายสะดือจากตัวทารก
- ช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
และจากกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์เกินกำหนด และคลอดลูกออกมาเสียชีวิตลงนั้น ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุคือสำลักขี้เทาเข้าปอด อย่างรู้ไหมคะว่าภาวะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิมล ศรีสุภาพ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้อธิบายไว้ดังนี้…
“สาเหตุของการเกิดภาวะสูดสำลักขี้เทา มาจากการที่เด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ถ่ายขี้เทาออกมาก่อนกำหนด ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงทารก อาจจะเกิดจากสาเหตุของโรคประจำตัวของคุณแม่ หรือสาเหตุของตัวทารกเองหรือสาเหตุจากอะไรก็ตามที่ไปทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกผ่านสายสะดือแม่น้อยลงแล้วก็จะมีปฏิกิริยาทางระบบประสาทกระตุ้นทำให้เด็กมีการถ่ายขี้เทาออกมา ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้มีหลายสาเหตุ เช่น ในคุณแม่ที่อาจจะพบปัญหาจากการเจ็บป่วยบางอย่างที่มีผลกระทบไปยังการไหลเวียนของเลือดที่ไปที่ลูกก็จะไปกระตุ้นให้มีภาวะนี้เกิดขึ้นได้”[1]
ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ Yui ในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และกลับมามีลูกอีกครั้งได้อย่างราบรื่นจนคลอดลูกออกมาได้อย่างปลอดภัยค่ะ …ด้วยความห่วงใยและใส่ใจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
น้ำคร่ำแตก อาการเป็นแบบไหน? และควรทำอย่างไร!!
แชร์ประสบการณ์จริง แม่เป็นมะเร็งโพรงจมูก
[เรื่องจริงจากหมอสูติฯ] คลอดเองตามธรรมชาติ หรือผ่าตัดคลอด อย่างไหนดีกว่ากัน?
ขอขอบคุณเรื่องจาก
คุณแม่ Yui Yu-iYui Wanida Rattanaphonr
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1ผศ.พญ.พิมล ศรีสุภาพ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. www.si.mahidol.ac.th