ซึมเศร้าหลังคลอด อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงหลังคลอดลูกได้ และมักจะส่งผลให้แม่หลังคลอดมีภาวะอารมณ์ที่เศร้ามากกว่าปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้จากภาวะอารมณ์ของแม่ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการเศร้าหลังคลอด ที่จะช่วยให้คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกได้ดูแลสุขภาพ และจัดการกับภาวะเศร้าหลังคลอดกันได้อย่างถูกต้องค่ะ
ซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากอะไร?
โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) เป็นกลุ่มอาการที่รุนแรง และส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกน้อยอย่างมาก ซึ่งหากปล่อยให้แม่ที่เพิ่งคลอดลูกมาใหม่ๆ มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกน้อยทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจได้อย่างมาก
บทความแนะนำ คลิก>> ภาวะตกเลือดหลังคลอด ละเลยเพียงนิด อันตรายถึงชีวิตได้
Good to know… “โรคซึมเศร้าหลังคลอดสามารถเกิดขึ้นในคุณแม่อายุเท่าไหร่ก็ได้ หรือเป็นการคลอดครั้งไหนก็ได้ ในคุณแม่ที่คลอดลูก 1,000 ราย จะมีโอกาสที่จะมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด 1-3 ราย1”
อ่านต่อ >> “มารู้จักกับอาการซึมเศร้าหลังคลอด อย่างถูกต้อง” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการซึมเศร้าหลังคลอด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues หรือ Baby Blues) ซึ่งเมื่อหลังคลอดคุณแม่จะมีอาการความรู้สึกเศร้าๆ ที่มักเกิดขึ้นเพียงแค่ 2-3 วัน แล้วอาการก็หายไป
อารมณ์เศร้าหลังคลอด มักจะมีอาการที่แสดงออกได้ดังนี้
- มีความรู้สึกโกรธลูก โกรธสามี และคนรอบข้างอย่างที่ไม่มีเหตุผล
- บางครั้งก็ร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผล
- มักนอนไม่หลับ และทานข้าวไม่ค่อยได้
- มักคิดและพูดเสมอว่าจะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) ซึ่งเมื่อหลังคลอดคุณแม่จะมีอาการเศร้าซึม ท้อแท้ วิตกกังวล และมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หากคุณแม่หลังคลอดที่มีอาการเหล่านี้ ทางการแพทย์ถือว่ารุนแรงมาก และควรต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นโรคทางจิตเวชได้
โรคซึมเศร้าหลังคลอด มักจะมีอาการที่แสดงออกได้ดังนี้
- มีความเศร้ารุนแรง จนคิดอยากฆ่าตัวตาย
- มีความวิตกกังวลกับทุกเรื่องอย่างมาก
- รู้สึกท้อแท้ในชีวิต ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
บทความแนะนำ คลิก>> กฎและมารยาทในการเยี่ยมคุณแม่หลังคลอดและทารกแรกเกิด
Good to know… “อารมณ์เศร้าหลังคลอดไม่ถึงกับต้องรักษากับคุณหมอ แต่การดูแลรักษาอาการเบื้องต้น คือ ขอให้สามี และคนรอบข้างในครอบครัว มีความเข้าใจ และช่วยดูแล พูดคุยให้กำลังใจ ก็จะทำให้อารมณ์เศร้าหลังคลอดให้ไปได้ใน 2-3 วัน”
อ่านต่อ >> “การดูแลตัวเองจากอาการซึมเศร้าหลังคลอด” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เมื่อมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดควรทำอย่างไร?
อาการผิดปกติกับคุณแม่หลังคลอดที่เรียกว่าอาการซึมเศร้าหลังคลอด หากไม่รุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ในเบื้องต้นคุณแม่สามารถดูแลรักษาสภาพภาวะอารมณ์ จิตใจของตัวเองได้ ดังนี้
- พยายามพักผ่อนให้มากที่สุด
- หาคนมาช่วยสลับเลี้ยงลูก เช่น ญาติ พี่น้อง หรือพี่เลี้ยงเด็กที่ไว้ใจได้
- ดูแลความสะอาดตัวเองทุกวัน อาบน้ำ สระผม ให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น
- ไม่หมกมุ่นอยู่แต่ในบ้าน ควรออกมาเดินเล่นสูดอากาศบริสุทธิ์นอกบ้าน หรือหาเพื่อนคุย
- และหากการดูแลตัวเองในเบื้องต้นไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ค่ะ
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าโรคซึมเศร้าหลังคลอดไม่ได้เกิดขึ้นกับแม่หลังคลอดทุกคน แต่มักจะเกิดในแม่หลังคลอดที่เรื่องบางอย่าง เช่น
- อาจถูกสามีทอดทิ้งให้เลี้ยงลูกคนเดียว
- เคยมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดจากการคลอดลูกคนแรก
- เดิมมีอาการป่วยทางจิตอยู่
- ในครอบครัวมีประวัติทางจิต
อ่านต่อ >> “10 วิธีการรักษาอาการซึมเศร้าที่ได้ผลดี” หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีรักษาอาการซึมเศร้าหลังคลอด2
- เริ่มป้องกันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ การป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้าหลังคลอด ก่อนจะมีลูกว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอที่คลินิกให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์
- เมื่อเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่จะต้องไปฝากครรภ์เพื่อขอรับคำแนะนำในเรื่องของการปฏิบัติตน รวมทั้งเพื่อจะได้รับการดูแลป้องกันและรักษาโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์นั้นดำเนินไปอย่างเป็นปกติ
- คุณพ่อมีส่วนช่วยคุณแม่ได้อย่างมาก ก่อนการคลอดคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาหารือกันถึงการดำเนินชีวิตภายหลังจากที่ลูกน้อยได้คลอดออกมาแล้ว โดยคุยกันและตกลงกันไว้ก่อนว่าใครจะต้องทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร
- ดูแลและเอาใจใส่ตัวเอง คุณแม่อย่าเป็นกังวลในสิ่งที่ไม่ควรกังวล เพราะจะยิ่งทำให้คุณแม่วิตกกังวลและว้าวุ่นกับงานบ้านจนเกินไป
- หาคนช่วยเหลือและหากำลังใจ คุณแม่อาจให้บุคคลในครอบครัว คุณพ่อ เพื่อน ๆ หรือผู้ให้บริการดูแลเด็กอื่น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลลูกน้อย คุณแม่จะได้รู้สึกมีกำลังใจและไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนอยู่ตัวคนเดียว
- รู้จักระบายความรู้สึก ถ้าคุณแม่รู้สึกหงุดหงิด หรือรู้สึกอึดอัดคับข้องใจใด ๆ ก็อย่าเก็บไว้คนเดียว คุณแม่ควรพูดระบายถึงความรู้สึกที่อัดอั้นนั้นออกมากับให้สามีได้ทราบบ้าง
- เลิกวิตกกังวล กับเรื่องรอบข้าง ให้ปล่อยวางและทำใจให้สบายๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผักและผลไม้สด รวมทั้งน้ำผลไม้คั้นสดนั้นเป็นแหล่งของวิตามินที่ช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ไม่ควรเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ควรพาตัวเองออกมานอกบ้านบ้าง เช่น ออกมาเดินรับแดดอ่อนช่วงเช้า หรือพาลูกใส่รถเข็นเดินเล่นรับลมในหมู่บ้าน หรือหาเวลาออกกำลังกาย ให้เพื่อนๆ มาหาที่บ้านได้พูดคุยกันตามประสาผู้หญิง เป็นต้น ก็จะช่วยลดความเครียด ความท้อแท้ลงได้
- พักผ่อนให้เพียงพอ ในช่วงกลางวันคุณแม่ควรพยายามงีบหลับบ้างและหาคนช่วยดูแลลูกในตอนกลางคืน เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนให้มากขึ้น ทำให้รู้สึกสดชื่น เพราะร่างกายที่อ่อนเพลียจะทำให้อาการซึมเศร้าที่เป็นอยู่แย่ลง
บทความแนะนำ คลิก>> ไข้หลังคลอด สัญญาณร้ายที่ต้องพบแพทย์ทันที!!
ซึมเศร้าหลังคลอด เมื่อได้ยินแล้วอาจดูเป็นกลุ่มอาการที่น่ากลัว แต่หากรู้จักอาการที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีก็จะช่วยให้คุณแม่หายขาด และห่างไกลจากการเกิดโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
ปวดหลัง หลังคลอด ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ปล่อยไว้เสี่ยงอัมพาต
6 เคล็ดลับช่วยคุณแม่หลังคลอด ฟื้นตัวเร็ว
น้ำคาวปลา หลังคลอดลูก คืออะไร ?
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. ซึมเศร้าหลังคลอด. หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่.
2medthai.10 วิธีรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด & โรคซึมเศร้าหลังคลอด.