วันนี้ขอว่าด้วยเรื่อง วิธีคุมกำเนิด เพราะผู้เขียนได้รับคำถามจากคุณแม่ลูกอ่อนอยู่หลายคน ที่อยากได้ความรู้วิธีการคุมกำเนิดหลังคลอดแบบปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพดีด้วย เนื่องจากยังไม่พร้อมมีลูกคนที่ 2 ระหว่างลูกคนแรกยังแบเบาะอยู่ และเพื่อให้เป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่นๆ ด้วย ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลในเรื่องนี้มาบอกต่อให้ทราบกันค่ะ
วิธีคุมกำเนิด เพราะอะไร “การคุมกำเนิด” จึงจำเป็น?
พอพูดถึง การคุมกำเนิด เราก็จะนึกถึงรูปแบบ วิธีคุมกำเนิด ที่ง่ายที่สุดคือ การกินยาคุม กับการสวมถุงยางอนามัยกันใช่ไหม คะ แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหลากหลายวิธีการคุมกำเนิด ที่ได้ผลและมีประสิทธิแตกต่างกันไปค่ะ
การคุมกำเนิดเหมาะกับคู่รักแต่งงานที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูก หรือในคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก แล้วอยากจะกุ๊กกิ๊กกับสามี แต่ก็ กังวลว่าจะท้องลูกคนที่สองเร็วเกินไป รวมทั้งในสาวๆ วัยใส ถ้าหนูๆ ยังไม่พร้อมเป็นแม่อุ้มท้องมีลูก ก็ต้องศึกษาและ ป้องกันไว้สักนิดนะจ๊ะ รอให้พร้อมแล้วค่อยท้องก็ยังไม่สายเกินไปนะจะบอกให้ ^_^
การคุมกำเนิด เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ (Contraception) เพื่อไม่ให้ร่างกายของผู้หญิงมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ซึ่งจะต้อง ป้องกันจากระบบภายในร่างกายของผู้หญิงที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาหลังจากได้รับการกระตุ้นให้เชื่อมไปสู่การมีครรภ์ การคุมกำเนิดจะเป็นการป้องกันในวงจรเหล่านี้ คือ…
- การป้องกันไม่ให้มีการตกไข่
- การป้องกันไม่ให้ไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิ
- การป้องกันไม่ให้มีการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก
การคุมกำเนิดจะไม่เกิดผล ถ้าคุณแม่ไม่ได้รับวิธีการคุมกำเนิดที่ถูก และเหมาะสมตามสภาพร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นเพื่อให้คุณแม่หลังคลอด และในผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมมีลูก ได้รู้และเข้าใจถึงรูปแบบการคุมกำเนิด ว่ามีกี่แบบ และการคุมกำเนิดวิธีไหนที่ได้ผล มีประสิทธิภาพปลอดภัย สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ ไปทำความเข้าใจพร้อมกันเลยค่ะ
อ่านต่อ รูปแบบวิธีการคุมกำเนิดที่ทำได้เอง คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีคุมกำเนิด แบบไหนมีสิทธิภาพ และปลอดภัย
นอกจากคุณแม่หลังคลอดจะถามว่า จะคุมกำเนิดยังไงดี ก็ยังถามมาอีกว่า วิธีการคุ้มกำเนิดมีหลายแบบ ไม่รู้จะเลือกวิธีไหนดี กลัวเจ็บบ้าง ไม่อยากกินยาคุมกำเนิดบ้าง และอีกหลายความกังวลของการคุมกำเนิด เอาเป็นว่าเพื่อให้คุณแม่ และผู้หญิงทุกคนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องของวิธีคุมกำเนิด ผู้เขียนมีข้อมูลของการคุมกำเนิดจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา[2] ที่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ค่ะ
สำหรับรูปแบบการคุมกำเนิดนั้นจะมีหลายวิธี ที่สามารถคุมกำเนิดด้วยตัวเอง กับการคุมกำเนิดที่ต้องมีสูติแพทย์เป็นผู้ดูแลวิธีการคุมกำเนิดให้ค่ะ
4 วิธีการคุมกำเนิดที่สามารถทำได้เอง
การทานยาเม็ดคุมกำเนิด
เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนใช้วิธีการทานยาคุมกำเนิดกันมาก อาจเป็นเพราะง่าย และสะดวกที่สามารถหาซื้อยาเม็ดคุมกำเนิดได้ ตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งจะมีเภสัชกรค่อยให้คำแนะนำในการใช้ยา การทานยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่สูง มาก เพราะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 1-9 % เท่านั้น แต่ถึงแม้ว่าการกินยาคุมจะได้ผลดี แต่ก็แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์ เภสัช กรผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งศึกษาหาข้อมูลให้มากพอจนแน่ใจก่อนใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดกันด้วยนะคะ
ถุงยางอนามัย
จะเห็นตามสื่อโฆษณาต่างๆ ที่มีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ จุดประสงค์แรกคือ เพื่อลดความเสี่ยงของ การติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์ และสองเพื่อเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งการใช้ถุงยางอนามัยจะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2-18 % และไม่มีผลข้างเคียงหลังการใช้ด้วยค่ะ
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าในยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจะมีปริมาณตัวยาที่สูงกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติ จึงไม่ค่อยแนะนำให้นำมาใช้กันบ่อยๆ เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
Good to know… รับประทานยาคุมฉุกเฉินอย่างไร?
ผลิตภัณฑ์ยาคุมฉุกเฉินที่จำหน่ายในประเทศไทย จำหน่ายเป็นกล่อง มียากล่องละ 1 แผง และแต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด แต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 ไมโครกรัม การรับประทานยาที่ถูกต้องคือ รับประทานยาเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และจะต้องรับประทานยาเม็ดที่สองหลังจากรับประทานยาเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง หากมีการอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาแต่ละเม็ด ต้องรับประทานยาใหม่ และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2กล่อง ต่อเดือน
การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ดังกล่าวตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะให้ประสิทธิภาพในการ ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มยาภายใน 24ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการ ตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85% ดังนั้นจึงควรรับประทานยาเม็ดแรกหลังการมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด[1]
แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิด
วิธีเหล่านี้มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 1-9 % แต่ต้องเปลี่ยนแผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนคุมกำเนิดตามระยะเวลาหรือประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด ดังนั้น ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์และศึกษาข้อมูลให้ละเอียด[2]
อ่านต่อ รูปแบบวิธีการคุมกำเนิด ที่ต้องให้คุณหมอช่วย คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2 วิธีคุมกำเนิด ที่ต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้การช่วยเหลือในการคุมกำเนิด
ยาฉีดคุมกำเนิด
คุณแม่หลังคลอดที่ไม่กลัวเจ็บจากการฉีดยา จะเลือกคุมกำเนิดด้วยการฉีดยาคุมก็ได้นะคะ การฉีดยาคุมจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อซึ่งการฉีดยาคุมจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1-3 เดือน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของยาฉีดคุมกำเนิดค่ะ วิธีนี้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง คือมีโอกาสการตั้งครรภ์ 1-9 % สำหรับการยาฉีดคุมกำเนิดจะต้องฉีดซ้ำตามระยะเวลาหรือประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดด้วยนะคะ คือถ้าฉีดยาคุมเข็มแรกไปแล้ว พอระยะเวลาคุมกำเนิดหมด คุณแม่เกิดลืมไปฉีดซ้ำเข็มที่สอง ก็มีโอกาศกลับมาตั้งครรภ์ได้เร็วมากค่ะ
ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง ห่วงคุมกำเนิด หรือการทำหมัน
คุณแม่หลังคลอดที่ไม่อยากวุ่นกับการกินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือต้องเจ็บตัวฉีดยาคุมบ่อยๆ ลองคุมกำเนิดด้วยวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง ห่วงคุมกำเนิด หรือจะเป็นการทำหมันก็ได้ค่ะ ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดทั้ง 3 แบบนี้ ถือเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะมีโอกาสที่ตั้งครรภ์ไม่ถึง 1% เลยค่ะ
การมีลูกช่วยให้สถาบันครอบครัวแข็งแรงและอบอุ่นขึ้นได้ แนะนำว่าก่อนการมีลูกควรวางแผนกันให้ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกหลังคลอด และอย่าลืมว่าหากคุณแม่หลังคลอดยังไม่พร้อมที่จะมีลูกคนที่ 2 เร็วเกินไป ต้องการเว้นระยะห่างการอุ้มท้องจากลูกคนแรก ต้องไม่ลืมเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพอย่างปลอดภัยต่อตัวคุณแม่ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ภาวะตกเลือดหลังคลอด ละเลยเพียงนิด อันตรายถึงชีวิตได้
แม่ท้องต้องรู้! รกค้าง หลังคลอด อันตรายอาจตายได้
ฝังเข็ม อยู่ไฟ ดูแลตัวเองหลังคลอด แผนไทย แผนจีน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
[1]คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ยาคุมฉุกเฉิน เรื่องจริที่ผู้หญิงต้องรู้. www.pharmacy.mahidol.ac.th
[2],[3]สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 6 วิธีกันคุมกำเนิดและข้อดี-ข้อเสีย. women.oryor.com
พญ.กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์. การคุมกำเนิด. haamor.com