อาการหนาวสั่นหลังคลอด มักพบได้ในคุณแม่หลายคน ซึ่งหลังจากคลอดลูกแล้ว มักมีอาการหนาวสั่นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งหากคุณแม่มีอาการนี้ ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายได้
เช่นเดียวกับคุณแม่ท่านนี้ ที่ได้ออกมาโพสต์เรื่องเตือนใจคุณแม่ๆ ผ่านเฟซบุ๊กชื่อ Nitaya Pachan ซึ่งสำหรับคุณแม่ๆ ที่คลอดลูกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด หรือ จะเป็นลูกคนที่สอง แล้วแต่ลูกคนแรกไม่มีอาการ ก็อย่าได้มองข้ามอาการหนาวสั่นแบบนี้เป็นอันขาด โดยคุณแม่เล่าว่า…
แม่ออกเตือน! อย่ามองข้าม
อาการหนาวสั่นหลังคลอด เสี่ยงเป็นโรคร้าย
ขออนุญาตโพสต์เพื่อเป็นวิทยาทานนะคะ😁😁😁ว่าด้วยเรื่องหนาวสั่นในหญิงหลังคลอดค่ะ😅😅😅
แม่บ้านนี้ผ่าคลอดมา 2 ท้องไม่เคยได้อยู่ไฟเลย ด้วยความไม่สะดวกหลายๆอย่าง จนวันหนึ่งหลังคลอดลูกคนที่ 2 ได้ 3เดือน คุณแม่ก็มีอาการหนาวสั่น ฟันกระทบกัน ตัวเกร็ง
คนแก่ก็ให้ห่มผ้า ดื่มน้ำร้อน ทุกคนสันนิฐานว่าเป็นเพราะเราไม่ได้อยู่ไฟและผิดสำแดง เป็นอยู่นานอาการดังกล่าวก็ไม่ดีขึ้น เพื่อน ๆ จึงพาไปโรงพยาบาล คุณหมอตรวจฉี่ ตรวจเลือด
ผลออกมาว่าแม่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ จนกรวยไตอักเสบ สาเหตุสำคัญเพราะดื่มน้ำน้อย อั้นปัสสาวะ และช่วงที่เรากำลังตั้งครรภ์นั้น ท้องที่ใหญ่ๆของเราก็กดทับท่อทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดเเบคทีเรียสะสม จนกลายเป็นสาเหตุให้แม่บ้านนี้ป่วย
ซึ่งตอนนี้หายแล้วแต่หมอบอกว่าเราสามารถกลับมาเป็นได้อีกถึง 75%
***จึงอยากฝากประสบการณ์นี้ไว้เผื่อมีแม่ๆ ท่านใดที่มีอาการหนาวสั่น ฟันกระทบกัน หนาวไปจนถึงกระดูก อย่ามองข้ามไปนะคะ ควรไปตรวจให้รู้ว่าเราเป็นอะไร เพื่อความปลอดภัยในชีวิตเราค่ะ😉
ซึ่งจากอาการที่คุณแม่ได้กล่าวมานั้น จะสังเกตได้ว่า มีคุณแม่หลายท่านน่าจะเคยมีอาการแบบนี้กันบ้าง ซึ่งถ้าหากคุณแม่มี อาการหนาวสั่นหลังคลอด จนผิดปกติ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค เพื่อความแน่ใจว่าเราไม่ได้เป็นอะไรมากจริงๆ
สำหรับอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบหลังคลอด เป็นอาการผิดปกติหลังคลอดสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด ซึ่งอาการข้างเคียงทางสุขภาพอาจจะแค่อาการเล็กน้อย ไปจนถึงกลุ่มอาการติดเชื้อที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณแม่เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ….
ขอบคุณประสบการณ์ และภาพจาก Nitaya Pachan
อ่านต่อ >> “อาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต่างจากอาการหนาวสั่นหลังคลอดลูก อย่างไร?” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เป็นผู้หญิง มีสาเหตุอันเนื่องจาก
- ด้วยท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า รวมไปถึงปากท่อปัสสาวะของผู้หญิงเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอด และทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งจากช่องคลอด และจากทวารหนักได้
- ทั้งนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศในช่วงตั้งครรภ์ และช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายในบริเวณปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว แบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora) ที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น
- สำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งตัวครรภ์จะก่อการกดเบียดทับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอุดกั้นได้ง่าย ปัสสาวะจึงแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญได้ดี จึงเพิ่มเชื้อโรคในปัสสาวะ ก่อให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
อาการจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย คือ
ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ
- อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือเหม็น ผิดปกติ และอาจมีปัสสาวะเป็นเลือด
- ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน
อาการจากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอื่นๆที่อาจพบได้ คือ
- อาจมีไข้ต่ำๆ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทั่วตัว อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เจ็บบริเวณอวัยวะเพศ และ/หรืออุ้งเชิงกรานเมื่อมีเพศสัมพันธ์
- มีหนอง หรือ สารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ ปากช่องคลอด และ/หรือปากท่อปัสสาวะ
อาการจากติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว คือ
- มีไข้ มักเป็นไข้สูง หนาวสั่น
- ปวดเอวทั้งสองข้าง
การดูแลตัวเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
- เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยา ปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยา เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และเชื้อดื้อยา ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้
- เมื่อพบแพทย์แล้ว ควรปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
- กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่หยุดยาเอง ถึงแม้อาการจะดีขึ้น/หายแล้วก็ตาม
- ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
- ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
- และควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าโรคจะหายแล้ว
อ่านต่อ >> “อาการหนาวสั่นหลังคลอด เป็นอย่างไร?” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
หนาวสั่นหลังคลอด คือ
สำหรับ หนาวสั่นหลังคลอด เป็นลักษณะอาการหนาวแบบไม่ปกติ หรือเรียกอีกอย่างว่า “หนาวใน” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกวัย ทั้งในผู้หญิงสูงอายุที่กำลังจะหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว รวมถึงคุณผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนมาน้อย เป็นไข้ทับระดู ปวดประจำเดือนรุนแรง ลักษณะของประจำเดือนมีสีคล้ำ เป็นก้อน เป็นลิ่ม เป็นต้น
หรือโบราณมักบอกว่าเป็นเพราะคุณแม่ไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอด เพราะตำราแพทย์แผนไทยกล่าวว่า เมื่อเราคลอดลูกร่างกายจะสูญเสียความร้อนและธาตุไฟ ทำให้ร่างกายขาดความสมดุลนั้นเอง
ซึ่งหลังคลอดลูกในคุณแม่บางคนอาจมีอาการของไข้จนทำให้ร่างกายเกิดมีอาการหนาวสั่นขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นภายหลังคลอดทันทีถึงประมาณ 1 ชั่วโมงภายหลังคลอด ที่คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าตัวเองมีอาการตัวรุมๆ หนาวสั่นคล้ายจะมีไข้ ซึ่งการหนาวสั่นหลังคลอดถือเป็นปกติ นั่นเพราะหลังจากคุณแม่คลอดลูกมาใหม่ๆ เกิดจากการเสียเลือดค่อนข้างมาก จึงทำให้ร่างกายมีการปรับตัว แต่พอร่างกายของแม่ปรับตัวได้แล้ว อาการไข้ อาการหนาวสั่นก็จะหายไป แนะนำว่าหากคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการหนาวสั่น ให้ห่มผ้าอุ่นๆ นอนหลับสักพักเมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกว่าร่างกายดีขึ้น
ทั้งนี้นอกจากอาการหนาวสั่นหลังคลอด ที่ไม่ได้อยู่ไฟแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง?
1. น้ำหนักน้อยเกินไป = นักโภชนาการ กล่าวว่า หากค่า BMI ในร่างกายเราต่ำกว่า 18.5 นั่นแปลว่าเรามีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างคามอบอุ่นได้เพียงพอจนทำให้รู้สึกหนาวง่าย อีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อเราผอมเพราะไม่ค่อยได้กินอาหารสักเท่าไร ก็ยิ่งลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญให้อยู่เฉยจนความร้อนในกระบวนการเผาผลาญไม่เกิด ดังนั้นคนที่ตัวผอมบางจึงมักจะรู้สึกหนาวง่ายหรือหนาวตลอดเวลานั่นเอง
ซึ่งวิธีเพิ่มความอบอุ่นให้ตัวเองก็ไม่ยาก แนะนำให้คุณรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเยอะ ๆ โดยเน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันชนิดดี
2. ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ = ถ้าคุณมักจะรู้สึกหนาวเป็นพัก ๆ รวมทั้งผมเริ่มบาง ผิวแห้งมากขึ้น แถมยังรู้สึกอ่อนเพลียด้วย ลักษณะอาการเช่นนี้อาจเข้าข่ายภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่พอเพียง จนส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายจึงลดน้อยลงไปด้วย ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีสัญญาณเหล่านี้ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ
3. ขาดธาตุเหล็ก = ในภาวะที่ร่างกายมีธาตุเหล็กน้อยก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกหนาวง่ายด้วยเช่นกัน เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง นำพาความร้อนและสารอาหารที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการทำงานของเซลล์ทุกแขนงในร่างกาย ดังนั้นหากขาดธาตุเหล็กไป กระบวนการตามที่ว่าก็คงสะดุดกันบ้าง คราวนี้ความอบอุ่นในร่างกายก็จะลดน้อยลง
ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาหลังคลอด โดยส่วนมากแล้วคุณแม่ทุกคนจะสามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพร่างกายได้อย่างปกติ แต่อาจมีคุณแม่หลังคลอดในบางท่านที่อาจมีอาการผิดปกติในช่วงระยะเวลาหลังคลอด อย่างอาการหนาวสั่นหลังคลอด ซึ่งอย่างที่บอกไปข้างต้นว่าหนาวสั่นหลังคลอด จะหายเป็นปกติได้ หากไม่ได้มีอาการแทรกซ้อนทางสุขภาพอื่นใดเข้ามา สำหรับคุณแม่ที่หนาวสั่นหลังคลอด ลองดูวิธีดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้อาการหนาวสั่นดีขึ้น ดังนี้
4 วิธีแก้อาการแม่ หนาวสั่นหลังคลอด
- หลังจากคลอดลูกกลับมาพักฟื้นที่ห้อง ให้คุณแม่รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ ใส่เสื้อผ้า และนอนห่มผ้าอุ่นๆ หากนอนในห้องแอร์ให้ปรับอุณหภูมิที่พอดี คือไม่ให้เย็นจนเกินไป
- อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำอุ่นๆ เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดลมไหลเวียนดี และช่วยระบายความร้อนในร่างกายออกมาได้ดี
- คุณแม่หลังคลอดลูกแล้ว ต้องดื่มน้ำให้มาก เพราะน้ำจะช่วยระบายความร้อนในร่างกาย ช่วยปรับอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ
- หากคุณแม่รู้สึกมี อาการหนาวสั่นหลังคลอด มากกว่าปกติ และมีไข้ร่วมด้วย อาจมาจากการติดเชื้อให้รีบแจ้งคุณหมอทราบในทันที เพื่อจะได้ให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญให้คุณแม่นอนพักผ่อนให้มาก เมื่อร่างกายได้พักเต็มที่ จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวหลังคลอดลูก และกลับมาแข็งแรงได้เร็ว
ทั้งนี้นักโภชนาการเชี่ยวชาญแห่งสำนักโภชนาการลอสแองเจลิสได้แนะนำว่า คุณแม่สามารถเสริมธาตุเหล็กชนิดอาหารเสริมได้ โดยให้เลือกรับธาตุเหล็กจากอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ไข่ ผักใบเขียว กะหล่ำ ผักโขม และอาหารทะเลจะดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามอาการผิดปกติหลังคลอด หรือมี อาการหนาวสั่นหลังคลอด หากรู้เร็ว ก็จะรักษาได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นหากคุณแม่หลังคลอดลูกแล้ว พบว่าร่างกายของตัวเองมีความผิดปกติเกิดขึ้น ถึงแม้จะเล็กน้อย ก็ต้องแจ้งให้พยาบาล และคุณหมอทราบทันที …ด้วยความห่วงใยจากทีมงาน Amarin Baby & Kids ค่ะ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ดูแลตัวเองหลังคลอด ไม่มากพอนอนน้อย อาจป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- 10 เรื่องควรรู้ของ การคืนสภาพช่องคลอดหลังคลอดลูก
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้อง ต้องระวัง
- ภาวะตกเลือดหลังคลอด ละเลยเพียงนิด อันตรายถึงชีวิตได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : storylog.co