ผ่าคลอด อันตราย ต่อสุขภาพแม่และเด็ก เรื่องนี้เป็นการเตือนมาจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อกระตุ้นให้แม่ท้องหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการคลอดลูกตามวิธีธรรมชาติ และลด การคลอดลูกด้วยวิธีการผ่า ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลการผ่าคลอดมาให้ได้ทราบกันค่ะ
ผ่าคลอด อันตราย ต่อสุขภาพแม่และเด็ก
ก่อนที่จะไปเจาะลึกว่า ผ่าคลอด อันตราย ต่อสุขภาพแม่และเด็ก อย่างไรบ้างนั้น อยากจะให้คุณแม่ได้เข้าใจถึงการคลอดลูกด้วยวิธีผ่าคลอดกันก่อนค่ะ
การผ่าตัดคลอดลูกทางหน้าท้อง (Caesarean section หรือ Cesarean section หรือ C–section) โดยมากแล้วแพทย์จะเลือกใช้ วิธีนี้ก็ต่อเมื่อแม่ท้องมีปัญหาทางสุขภาพ ที่ไม่สามารถเบ่งคลอดลูกได้เอง อย่างเช่น…
- ทารกในครรภ์ มีส่วนนำที่ไม่ใช่ศีรษะ เช่น ท่าก้น เป็นต้น
- คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด
- มีภาวะรกเกาะต่ำ
- แพทย์ได้มีการชักนำให้เกิดการคลอดแล้ว แต่ล้มเหลว มารดาคลอดเองไม่ได้
- มีประวัติการตั้งครรภ์ที่เคยผ่านการผ่าตัดคลอดมาก่อน
- มีเนื้องอกในอุ้งเชิงกรานที่ขัดขวางการคลอดทางช่องคลอด เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ เป็นต้น
- การติดเชื้อที่ช่องทางคลอดของมารดา เช่น โรคเริมที่อวัยวะเพศ หรือ โรคหูดหงอนไก่ เป็นต้น
- ภาวะที่ศีรษะทารกมีขนาดใหญ่กว่าอุ้งเชิงกราน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะวินิจฉัยได้ในช่วงที่มีการเจ็บครรภ์คลอดแล้ว[1]
บทความแนะนำ คลิก >> อาการหนาวสั่นหลังคลอดลูก เกิดจากอะไร?
ซึ่งหากคุณแม่ที่ไม่มีความเสี่ยงต่างๆ ของสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ โดยมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้คลอดลูกตามวิธีธรรมชาติมากกว่า เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของทั้งแม่และลูก
อ่านต่อ ผ่าคลอดอันตรายกับแม่และลูก หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ผ่าคลอดเรื่องอันตรายของแม่และเด็ก
กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพ เตือนให้ตระหนักถึงการคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ลดการผ่าคลอดลูก เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งแม่และลูก
- เราคิดว่าผ่าคลอดเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัย เพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์
- แต่การผ่าตัดคลอดถือว่ามีอันตรายทั้งระยะสั้น และระยะยาวต่อแม่และลูกสูงกว่าคลอดปกติผ่านช่องคลอด
- อันตรายจากการผ่าคลอด เพราะแม่มีโอกาสเสียเลือด และติดเชื้อ ยาที่ใช้ระงับความเจ็บปวดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดแม่จะฟื้นตัวได้ช้า
- เมื่อมีการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไปเกิดภาวะรกฝังตัวลึก เป็นอันตราย (รกฝังตัวลึก คือการที่รกจะไปเกาะกินทะลุมดลูก ทำให้แตกได้ ยิ่งผ่ายิ่งอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง กระเพาะปัสสาวะทะลุ พังผืดอาจไปรัดลำไส้ ทำให้ลำไส้ตีบตัน อุจจาระผ่านไม่ได้)
- ในช่องคลอดแม่จะมีเชื้อแบคทีเรียที่ดีคอยควบคุมไม่ให้แบคทีเรียไม่ดีเข้ามาได้ เด็กที่คลอดผ่านช่องคลอดจะได้สัมผัสกับแบคทีเรียดี ทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันกับสุขภาพร่างกายของลูก
- มีงานศึกษาพบว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติมีโอกาสเป็นภูมิแพ้น้อยกว่าเด็กที่คลอดด้วยการผ่าคลอดถึง 3 เท่า[2]
อ่านต่อ ผ่าคลอด มีข้อดี ข้อเสีย หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ผ่าคลอด มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง?
ข้อดีของการผ่าคลอด
- กำหนดเวลาคลอดได้และใช้เวลาไม่นาน
- สะดวกและมีเวลาเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ
- เหมาะสำหรับผู้มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น เด็กตัวใหญ่ น้ำคร่ำน้อย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- สามารถทำหมันได้เลย
ข้อเสียของการผ่าคลอด
- อาจเสียเลือดมากขณะผ่าตัด และมีภาวะแทรกซ้อนจากการดมยา
- เกิดภาวะแทรกซ้อนในการเจ็บครรภ์ที่สอง เช่น แผลมดลูกปริแตก
- เจ็บแผลผ่าคลอดนานหลายสัปดาห์ เพลียและเหนื่อยง่ายกว่า
- อาจไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที
- ค่าใช้จ่ายในการทำคลอดแพงกว่า
- ทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นภูมิแพ้หรือป่วยง่ายกว่า
บทความแนะนำ คลิก >> แชร์ประสบการณ์ แม่คลอดลูกติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ได้นมแม่จึงรอดปลอดภัย
โดยธรรมชาติของผู้หญิงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการตั้งครรภ์ และให้สามารถคลอดลูกได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อความแข็งแรงทั้งแม่และลูก หากไม่มีความเสี่ยงใดๆ ที่จะเป็นผลกระทบต่อทารกในครรภ์ แนะนำให้เบ่งคลอดลูกเอง มากกว่าใช้วิธีผ่าตัดคลอดลูก …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
10 เรื่องควรรู้ของ การคืนสภาพช่องคลอดหลังคลอดลูก
อาการหนาวสั่นหลังคลอดลูก เกิดจากอะไร?
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วรลักษณ์ สมบูรณ์พร สูตินรีแพทย์. haamor.com
2ผ่าคลอดอันตราย. กรมอนามัย