10 วิธี รักษาแผลผ่าคลอด ไม่ให้ป็นคีลอยด์ นูนแดง - Amarin Baby & Kids
วิธีรักษาแผลผ่าคลอด

10 วิธี รักษาแผลผ่าคลอด ไม่ให้เป็นคีลอยด์

account_circle
event
วิธีรักษาแผลผ่าคลอด
วิธีรักษาแผลผ่าคลอด

หลังผ่าคลอด คุณแม่หลายคนคงพบปัญหาแผลจากการผ่าตัดที่คอยกวนใจ รู้สึกเจ็บ ๆ คัน ๆ บริเวณแผลผ่า นอกจากนี้ยังกังวลเรื่องของแผลเป็นที่อาจตามมา วันนี้ทีมแม่ ABK มีวิธีการดูแลแผลผ่าตัดหลังคลอดมาฝากให้คุณแม่รู้เเนวทาง รักษาแผลผ่าคลอด อย่างถูกวิธีค่ะ 

รับมือแผลผ่าคลอด
รับมือแผลผ่าคลอด

ในงานเสวนาเรื่อง รู้จริงเรื่องแผลเป็น นพ.ธรรมนูญ พนมธรรม ศัลยแพทย์ตกแต่ง โรงพยาบาลราชวิถี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดรอยแผลเป็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดรอยแผลเป็นหลัก ๆ มีด้วยกัน 3 ปัจจัย

วิธีรักษาแผลผ่าคลอด ทำแบบนี้ไม่ทิ้งรอยให้กวนใจ

อย่างแรกคือ เรื่องอายุ เนื่องจากคนที่อายุน้อยกว่ามีโอกาสสร้างพังผืดเยอะกว่าคนที่มีอายุมาก อย่างที่สองคือ ลักษณะผิวหนัง  เพราะ คนที่มีผิวสี มีโอกาสในการเกิดแผลเป็นนูนมากกว่าคนที่มีผิวขาว และปัจจัยสุดท้ายคือตำแหน่งของแผล ถ้าตำแหน่งที่เกิดอยู่บริเวณหน้าอก ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ไหล่ หู  หรือบริเวณผิวหนังที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ มีโอกาสสูงที่จะเกิดแผลเป็นได้

ปัญหาของแผลผ่าตัดที่ควรรู้เพื่อ รักษาแผลผ่าคลอด

  1. แผลเป็นเกิดนูนแดงนั้น กลายเป็น แผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หรือที่เรียกว่า คีลอยด์
  2. หลังจาก 1 ปีหรือ 1 ปีครี่งไปแล้ว แผลนั้นยังแดงอยู่ แดงอยู่นาน และรอยแดงไม่ลดลง
  3. มีอาการเจ็บหรือคัน
  4. เป็นแผลที่เกิดตรงบริเวณข้อต่อ ทำให้ขยับข้อต่อได้ไม่เต็มที่ หรือนิ้วงอ หรือมีการผิดรูปเกิดขึ้น
  5. แผลที่ไม่มีปัญหา เพียงแต่ดูไม่ดี แต่เป็นสิ่งต้องการและความคาดหวังในการรักษาของคนไข้

วิธีการ รักษาแผลผ่าคลอด ไม่ให้เป็นคีลอยด์

ทีมแม่ ABK จึงมีวิธีการดูแลแผลผ่าคลอด ของคุณแม่มือใหม่แบบง่าย ๆ มาแนะนำกันค่ะ

1. พยายามลุกขยับเดิน

หลังจากผ่าคลอดผ่าคลอดได้ 1 วัน คุณแม่อาจมีอาการเจ็บแผลจนรู้สึกไม่อยากขยับร่างกาย แต่ทั้งนี้คุณแม่ควรลุกขยับร่างกาย หรือ เดิน เพื่อลดโอกาสเกิดพังผืดที่เกาะอวัยวะภายในช่องคลอดทำให้เสี่ยงท่อนำไข่อุดตัน หรือ ผ่าตัดครั้งต่อไปอาจทำได้ยาก หรืออาจมีอาการท้องผูกเรื้อรัง

2. ใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด

การใช้ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอดจะช่วยพยุงกล้ามเนื้อส่วนหลังเวลาเดิน นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการเจ็บอีกด้วย

3. ระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ

ช่วงแรก ควรระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ คุณหมอจะปิดแผลผ่าตัดหลังคลอด ด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่ไม่ต้องล้างแผล หรือล้างแผลตามวิธีแนะนำของคุณหมอ หรือไม่เปิดแผลบ่อย ๆ

4. ทานอาหารจำพวกโปรตีน

เนื่องจากขณะป่วยโปรตีนถือเป็นสารอาหารหลักสำคัญที่ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและสมานแผลไวขึ้น ควรทานแต่พอดี ให้ครบทุกมื้อและพักผ่อนให้เพียงพอ

5. เลี่ยงการยกของหนัก

ช่วงสามเดือนแรกไม่ควรยกของหนัก ขยับตัวได้เท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ ถ้าเจ็บ หรือตึง แสดงว่าแผลยืดเหยียดมากเกินไป และจะทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะหลุด จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนาๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น เมื่อเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

6. ใช้ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อนๆ / วิตามินอี

หลังแผลผ่าคลอดแห้งสนิทแล้ว สามารถเปิดแผลได้ ถ้ามีแผลเป็นให้ใช้ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อนๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีทาบริเวณแผล ไม่มีผลต่อการให้นมลูกเพราะเป็นยาใช้ภายนอก

7. ปรับหัวนอนให้สูงขึ้น

ปรับหัวนอนให้สูงขึ้นจะช่วยให้แผลผ่าที่หน้าท้องไม่ตึงจนเกินไป ช่วยลดอาการเจ็บแผล

8. ใช้แผ่นซิลิโคนใสทับแผลเป็น

ตามคำแนะนำการดูแลรอยแผลเป็นของ The International Clinical Guidelines for Scar Management 2002 บอกว่าเมื่อใช้แผ่นเจลซิลิโคนแล้วจะช่วยปรับสีของแผลให้จางลงและแผลแบนราบลงได้ เนื่องจาก แผ่นซิลิโคนใสเหมาะสำหรับแผลเป็นที่มีสีแดงหรือสีคล้ำหรือนูน ในการใช้แผ่นเจลซิลิโคนนี้ไม่ควรจะใช้ในขณะแผลเปิด ควรเริ่มใช้ทันทีที่แผลปิดสนิทหรือหลังตัดไหมสำหรับแผลเย็บ โดยปิดแผ่นเจลซิลิโคนนี้ทับแผลเป็นหรือคีลอยด์เป็นระยะเวลานานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยให้แผลเป็นนี้ยุบลงได้ โดยที่ไม่เจ็บ

อ่านเพิ่มเติม เคล็ด(ไม่)ลับ วิธีดูแลแผลผ่าคลอด ให้รอยแผลเป็นอ่อนนุ่ม และสีจางลง

9. การฉีดยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (Intra lesional corticosteroid)

เมื่อใช้แผ่นซิลิโคนใสแล้วยังไม่หายดี ตามคำแนะนำการดูแลรอยแผลเป็นของ The International Clinical Guidelines for Scar Management 2002การฉีดยาคอร์ติโคสตีรอยด์ (Intra lesional corticosteroid) การฉีดยาเสตียรอยด์เข้าใต้ตำแหน่งของแผลเป็นจะช่วยให้แผลเป็นนั้นนุ่มลงและแบนราบลงได้ การฉีดยาได้ผลพอใช้ได้ แต่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บขณะที่ฉีดยา และต้องมาฉีดเป็นระยะตามที่แพทย์นัด

10. การนวดบริเวณแผลเป็น

การนวดบริเวณแผลเป็น จะช่วยกระตุ้นให้แผลนุ่มขึ้น แต่ควรใช้มอยเจอร์ไรเซอร์และโลชั่นมาช่วยนวดและทาเพื่อให้แผลเป็นชุ่มชื้น จะได้นุ่มได้ไวขึ้น แบนราบได้เร็วขึ้น และทำให้อาการปวดจากแผลเป็นเหล่านี้ลดลงไปได้ด้วย อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการนวดก็คือ นวดในแผลเปิด แผลอาจปริขึ้นมา หรือบวมขึ้นมา หรือหากพบอาการแพ้โลชั่นก็ต้องหยุด

รับมือแผลผ่าคลอด
รับมือแผลผ่าคลอด

สำหรับคุณเเม่มือใหม่การดูแลแผลผ่าคลอดก็เป็นอีกหนึ่งกระบวนการสำคัญ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูตัวเอง มีสุขภาพร่างกายที่เเข็งเเรงพร้อมเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อยอย่างเต็มที่


ขอบคุณข้อมูลจาก : ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, The International Clinical Guidelines for Scar Management 2002, นพ.ธรรมนูญ พนมธรรม ศัลยแพทย์ตกแต่ง โรงพยาบาลราชวิถี

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตรวจหลังคลอด..เจ็บไหม? ต้องตรวจอะไรบ้าง?

แผลผ่าคลอด แนวนอนกับแนวตั้งต่างกันอย่างไร และแบบไหนดีกว่ากัน!

แผลผ่าคลอดอักเสบ ปวด คัน เป็นหนอง ต้องทำอย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up