ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็ บริหารจัดการนมแม่ ได้ เมื่อถึงคราวคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน หลายคนคงสงสัยว่าแล้วจะให้นมลูกต่อได้อย่างไรดีล่ะ เรามีเทคนิคแบบ Step-by-step บอกเล่าแต่ละขั้นตอนมาให้ได้เตรียมตัวกันแต่เนิ่นๆ เพื่อการให้นมแม่ จะได้ไม่ต้องสะดุดล้มกลางคัน
ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้
- เตรียมตัว หาข้อมูลเกี่ยวกับที่ทำงาน การลาคลอด คนดูแลลูก สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานที่บีบน้ำนม รวมไปถึงตู้เย็นในที่ทำงาน
2. เตรียมบริหารน้ำนม เมื่อลูกอายุครบ 6 สัปดาห์ ทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง ขอแนะนำให้คุณแม่ เวิร์คกิ้งมัม เริ่มเก็บสะสมน้ำนมไว้เลย เช่น หากลูกดูดนมข้างขวา ก็ให้บีบนมข้างซ้ายเก็บไว้พร้อมๆ กัน ไม่ก็หลังจากลูกดูดนมจนอิ่มแล้วให้บีบออกจนเกลี้ยงทั้งสองเต้า เพื่อเก็บไว้เป็นทุน จะได้ไม่ต้องมาเร่งเก็บเมื่อใกล้ถึงวันจะกลับไปทำงาน การทำแบบนั้นยิ่งไม่มีน้ำนมสะสมเอาไว้เลย ทีนี้ละความเครียดทบเท่าทวีคูณ
3. มองหาผู้ช่วย ลองตัดสินใจดูว่าจะให้ลูกเราอยู่กับใคร คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย พี่เลี้ยง หรือ จะฝากไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลาคิดอย่างรอบคอบว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง คนใกล้ตัวเราถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ถ้าไม่มีต้องส่งให้คนอื่นดูแล ก็ต้องพิจารณากันให้ดี
4. ให้ความรู้แก่ผู้ช่วย บอกถึงเหตุผล และความสำคัญของการให้นมแม่อย่างละเอียด เน้นเรื่องความสะอาด ถูกสุขอนามัย รวมถึงฝึกฝนวิธีให้นมแม่ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ พยายามฝึกล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนคุณแม่ไปทำงาน โดยในระยะแรกคุณแม่ต้องอยู่ด้วยเพื่อให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงค่อยๆ ถอนตัวออกมาให้คำแนะนำอยู่ห่างๆ อย่าลืมชื่นชมและให้กำลังใจผู้ช่วยคนเก่งของเราด้วยนะคะ เพราะชีวิตลูกเราฝากไว้ในมือพวกเขา
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
5. วิธีการให้นมแม่โดยใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
– แก้ว ให้ใช้แก้วยาใบเล็ก และเติมน้ำนมทีละน้อย โดยจัดท่านั่งของผู้ป้อนให้สบาย จับเด็กอยู่ในท่านั่งพิงตัวไว้กับอกของผู้ป้อน หรือ วางเด็กลงบนตัก ยกศีรษะให้สูงขึ้นนำปากแก้วไปแตะที่ริมฝีปากล่าง ปล่อยให้เด็กค่อยๆ ใช้ลิ้นไล้นมเข้าปากเอง อย่าใช้วิธีกระดกแก้วให้เด็กกลืน อาจเกิดการสำลักนมได้
– ช้อน ใช้ช้อนชา ตักน้ำนมแม่ทีละน้อย หรือใช้หลอดป้อนยา ค่อยๆ ฉีดเข้าตรงมุมปากอย่างเบามือ โดยระหว่างป้อนยกศีรษะเด็กทารกให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการสำลัก
– ขวดนม หาขวดและจุกนมที่เหมาะสมกับความชอบของเด็ก วิธีนี้ง่ายและสบาย แต่หากเลี่ยงได้ควรเลี่ยง เพราะอาจเกิดปัญหาในภายหลัง เด็กบางคนอาจสับสนระหว่างหัวนมแม่ กับจุกนมขวด บางคนถืงกับไม่อยากไปดูดนมจากอกแม่ก็มี จนเกิดอาการติดจุกนมไปจนโต ส่งผลให้เกิดฟันผุ และปัญหาในการเลิกนมขวดตามมา
ติดตาม ถึงเป็นเวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้ คลิกต่อหน้า 2
6. ฝึกลูกล่วงหน้า ควรมีเวลาฝึกให้ลูกชินกับการดื่มนมแม่จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ และควรให้ลูกดูดนมแม่ตั้งแต่เริ่มรู้สึกหิวใหม่ๆ จะได้ไม่โมโหหิว และให้ดูดก่อนเวลานอน จะได้ไม่งอแงเพราะง่วงนอน
7. อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่
– ถุงเก็บน้ำนมแม่
– ที่ปั๊มนม มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบปั๊มมือ และปั๊มไฟฟ้า ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน
– อุปกรณ์การป้อน แก้วยาเล็กๆ ช้อนชา หลอดป้อนยา ขวดนม จุกนม
– ตู้เย็น ซึ่งแบบสองประตูมีประสิทธิภาพดีกว่า เพราะมีการเปิดปิดในส่วนของช่องแช่แข็งน้อยกว่า (การเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ ส่งผลให้อุณหภูมิในตู้เย็นไม่คงที่ อาจทำให้ระยะเวลาในการเก็บสั้นลง) กระติก หรือ กระเป๋าเก็บความเย็น สำหรับใช้ในการเดินทางระหว่างที่ทำงานกับที่บ้าน
– อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างขวดนม ที่นึ่งขวดนม ภาชนะสำหรับลวกอุปกรณ์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
8. เทคนิคการบีบนมด้วยมือ
– ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนบีบนมเสมอ
– เช็ดหัวนมด้วยสำลีชุบน้ำสุกให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
– ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางตรงบริเวณลานนม หรือ ห่างจากหัวนม 3 เซนติเมตร
– กดนิ้วทั้งสองเข้าหาลำตัว บีบนิ้วทั้งสองเข้าหากันเหมือนก้ามปู
– คลายนิ้ว แล้วเริ่มทำซ้ำใหม่ โดยกด-บีบ-ปล่อย ให้เป็นจังหวะ และเปลี่ยนตำแหน่งไปจนรอบลานนม
– นำภาชนะที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อแล้วมารองรับน้ำนม เสร็จแล้วปิดฝาให้สนิท เขียน วัน เวลา ติดไว้ที่ขวด หรือถุง
– สวมเสื้อชั้นในสำหรับคุณแม่ให้นม เพื่อความสะดวกในการบีบน้ำนม ไม่ควรสวมเสื้อชั้นในปกติ เพราะอาจเกิดการกดทับบริเวณเต้านม จนทำให้ทางเดินน้ำนมไหลไม่สะดวก
เลือกสถานที่ที่เหมาะสม หาที่นั่งสบาย สะอาด และถูกสุขอนามัย
เตรียมตัว และเตรียมใจ ทำใจให้สบายก่อนบีบ ไม่เครียด และดื่มน้ำอุ่นจัดทั้งก่อน หลัง และ ระหว่างที่บีบ
บีบจนเกลี้ยงเต้า (บีบจนเต้านมนิ่ม) อย่าลืมคลึงส่วนที่เป็นก้อนด้วย ซึ่งอาจทำได้โดยการถูมือให้ร้อนๆ แล้วนำไปคลึงบริเวณที่เป็นก้อนแข็ง หรือจะให้ดีนำผ้าขนหนูมามัดเป็นก้อน ชุบน้ำอุ่น ไม่ก็ใช้ แผ่นร้อนมาคลึงจุดที่เป็นก้อนแล้วบีบต่อจนเกลี้ยงเต้า
บีบให้บ่อย เพื่อลดอาการคัดนมเพราะอะไร ลูกไม่ยอมดูดนมแม่? ควรบีบทุก 3 ชั่วโมง และ/หรือตามเวลาที่ลูกเคยดูด
ทำใจให้สบาย อย่าเครียด อย่าจริงจังมากเกินไป พยายามคิดถึงหน้าลูก โดยไม่ต้องพะวงว่าทำได้กี่ออนซ์ ระหว่างทำหาอะไรดู หรือ ฟังเพลงเพลินๆ
ติดตาม ถึงเป็นเวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้ คลิกต่อหน้า 3
9.ระยะเวลาในการเก็บน้ำนม
– น้ำนมแม่ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง 25 องศา จะเก็บได้นาน 6 ชั่วโมง หากสูงกว่า 25 องศาเก็บได้นาน 2 ชั่วโมง
– น้ำนมแม่เก็บในตู้แช่แข็งได้ 3 เดือน ช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 เดือน ช่องธรรมดา 48 ชั่วโมง
– ก่อนให้ลูกดื่มนมแม่ ควรย้ายนมจากช่องแช่แข็งมาเก็บในช่องธรรมดาก่อน จะเก็บได้นาน 12 ชั่วโมง
– ไม่ควรเก็บน้ำนมแม่ไว้ที่ฝาประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิไม่คงที่อาจลดระยะเวลาในการเก็บให้สั้นลง
– เลือกใช้ขวด หรือถุงที่บีบไว้ก่อนเสมอ
– ควรเก็บน้ำนมในปริมาณที่ลูกต้องการในแต่ละมื้อ โดยบรรจุถุง หรือขวดให้เท่ากับจำนวนที่ลูกกิน มื้อไหนบีบได้น้อยให้เก็บเท่าที่บีบได้ อย่านำมารวมกัน แต่สามารถนำมาละลายรวมกันให้พอตามปริมาณที่ลูกต้องการได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
– นมที่กินไม่หมดให้ทิ้ง อย่าเก็บไว้
– หากพบว่าน้ำนมแยกส่วนกันไม่ต้องตกใจ ปกติน้ำนมจะแยกเป็นส่วนอยู่แล้ว ข้นอยู่ด้านบน ใสอยู่ด้านล่าง
– สี กลิ่น และรสชาติของนมแม่จะเปลี่ยนไปตามอาหารที่แม่กิน เช่น สีเขียว หรือ สีแดง
– เวลานำนมออกมาใช้ ให้ละลายด้วยน้ำอุ่น ห้ามใช้น้ำร้อน ต้มให้เดือด และห้ามอุ่นเตาไมโครเวฟ เพราะอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำลายคุณค่านมแม่ ทั้งนี้ลูกสามารถกินนมเย็นที่มาจากตู้เย็นได้เลย
10. กลางคืนให้ลูกดูดแค่เต้าเดียว เพื่อสะสมปริมาณน้ำนมให้สามารถบีบจากอีกเต้าได้ในปริมาณมาก แต่ถ้ามีอาการคัดระหว่างคืนให้รีบบีบออก การบีบหรือปั๊มออก ยิ่งช่วยสร้างน้ำนม
11. วันหยุด คือ นาทีทอง ให้ลูกดูดนมแม่ทุกครั้งที่เขาต้องการ และให้ดูดอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน เพื่อรักษาปริมาณน้ำนมไว้ เพราะการกระตุ้นที่ดีที่สุด คือการให้ลูกดูดโดยตรง
12. ให้ลูกดูดนมจากเต้าเต็มที่ ตั้งแต่ตอนก่อนออกจากบ้าน และให้รีบดูดทันทีที่แม่กลับมาถึง ให้ดูดนมแม่จากเต้าทุกครั้งที่ลูกหิว
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ