วิธีเก็บรักษานมแม่
ถึงแม้ว่าเจ้าตัวเล็กของคุณแม่จะเพิ่งแรกคลอดออกมาได้เพียงไม่กี่สัปดาห์ และคุณแม่ก็สามารถให้ลูกกินนมแม่จากเต้าได้อย่างไม่มีอุปสรรค แต่เดี๋ยวพอหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว หรือช่วงหลังสามเดือนที่ต้องกลับไปทำงาน น้ำนมแม่จากเต้าอาจไม่ได้ให้ลูกดูดได้อย่างสะดวกแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่ให้น้ำนมแม่สุดยอดอาหารชั้นเลิศของลูกหดหายไป แนะนำว่าคุณแม่ต้องปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้ทานจากขวดค่ะ และเพื่อไม่ให้น้ำนมแม่เสียคุณค่าไปหลังจากปั๊มออกมาเก็บใส่ไว้ในถุงเก็บน้ำนมแม่แล้ว จะต้องเก็บรักษาคุณค่าน้ำนมแม่ไว้อย่างดีด้วยการแช่เย็น จะเป็นในตู้เย็น หรือตู้สำหรับแช่นมแม่โดยเฉพาะก็ได้ค่ะ
สถานที่เก็บน้ำนมแม่หลังจากปั๊มออกมาแล้ว
ตั้งทิ้งไว้ ที่อุณหภูมิ 27-32 ๐C จะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง
ตั้งทิ้งไว้ ที่อุณหภูมิ 16-26 ๐C จะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 4-8 ชั่วโมง
กระติกใส่น้ำแข็ง ที่อุณหภูมิ 15 ๐C จะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง
ตู้เย็นช่องธรรมดา ที่อุณหภูมิ 0-4 ๐C จะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 3-8 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว อุณหภูมิจะไม่ค่อยคงที่ จะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู ที่อุณหภูมิ -4 ๐C จะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 4-6 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ ที่อุณหภูมิ -19 ๐Cจะเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 6-12 เดือน
คุณแม่คะ น้ำนมชุดไหนปั๊มออกมาแล้วอย่าลืมเขียนวันที่ไว้ด้วย เพื่อที่จะได้ทำสต็อกนมแม่ถูกต้อง และจะได้นำออกมาให้ลูกได้กินก่อนค่ะ เอาเป็นว่าเมื่อรู้แล้วว่าลูกน้อยแรกเกิดขนาดกระเพาะของเด็กๆ มีปริมาณแค่ไหน ก็ควรให้นมลูกอย่างพอดีกับความต้องการ ของร่างกายที่ต้องไม่มาก และไม่น้อยเกินไป …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ลูก 1 เดือนท้องผูก ทารกกินน้ำส้ม ได้หรือไม่?
น้ำนมน้อย นมแม่ไม่พอ ? และเคล็ดลับขับน้ำนมด้วยวิธีธรรมชาติ
สุดยอด อาหารสมุนไพร กระตุ้นน้ำนมแม่ เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพช่วยลูกสมองดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
[1]อาจารย์ ดร. ผกากรอง วนไพศาล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. www.pharmacy.mahidol.ac.th
คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
www.breastfeedingthai.com , www.breastfeedingthai.com