ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที เคล็ดลับคุณแม่นักปั๊ม - Amarin Baby & Kids
ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที

ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที เคล็ดลับคุณแม่นักปั๊ม

account_circle
event
ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที
ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที

รู้ลึกสารอาหารจากนมแม่ ทำไมควรให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ พร้อมไขข้อข้องใจ ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที

ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที

อิ่มอุ่นจากอกแม่ น้ำนมแม่ วัคซีนหยดแรกที่ช่วยให้หนูแข็งแรง

น้ำนมจากแม่ อาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญต่อร่างกายทารก ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตทารกตั้งแต่แรกเกิดด้วยองค์ประกอบสำคัญด้านโภชนาการ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีวิตามินต่าง ๆ และแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหาร ด้วยเหตุนี้เอง แม่หลังคลอดจึงควรให้ทารกกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจวบจนอายุ 2 ปี ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟแนะนำ แต่คุณแม่หลายท่านก็มีหน้าที่กลับไปทำงาน ทำให้ต้องปั๊มนมไว้ให้ทารกน้อย ซึ่งมักจะมีคำแนะนำให้ปั๊มนมรอบละ 30 นาที แม่ ๆ คงสงสัยกันว่า ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ

มีสารอาหารอะไร ซ่อนอยู่ในนมแม่

ก่อนอื่นมารู้จักสารอาหารในน้ำนมแม่กันก่อนว่า มีสารอาหารอะไรสำคัญกับร่างกายของลูกน้อยบ้าง โดยนมแม่มีสารอาหารและสารต่าง ๆ มากกว่า 200 ชนิด เหมาะกับระบบทางเดินอาหารและไตของทารกแรกเกิดที่ยังไม่สมบูรณ์ดี ซึ่งมีสารอาหารสำคัญ ดังนี้

  • โปรตีน ดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของทารก ย่อยง่าย และดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติที่สำคัญ เช่น สารป้องกันเชื้อโรคและสารช่วยการเจริญเติบโต
  • ไขมัน มีกรดไขมันที่จำเป็น ไลโนเลนิคและไลโนเลอิค เช่นเดียวกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโซ่ยาว อาทิ ดีเอชเอและเอเอ ช่วยพัฒนาระบบสมอง และจอตา สร้างความสมบูรณ์แข็งแรงให้แผ่นหุ้มเส้นประสาท ทำให้การรับส่งสัญญาณของเส้นประสาทระหว่างสมองและร่างกายมีประสิทธิภาพ
  • คาร์โบไฮเดรต แลคโตส มีมากที่สุดในน้ำนมของคน เป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาการของสมองและระบบประสาท เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับขนาดของสมอง และมีโอลิโกแซคคาไรด์มากกว่า 130 ชนิด ส่งเสริมสุขภาพและช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำไส้
  • วิตามินในนมแม่ วิตามินละลายในไขมันและละลายในน้ำ ตัวช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมของแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น วิตามินซีช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสี
  • แร่ธาตุในนมแม่ มีปริมาณที่เหมาะสมและดูดซึมได้ดี เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัส
  • ฮอร์โมนและเอ็นไซม์ เช่น ฮอร์โมน ไทรอยด์ โปรแลคติน ออกซิโทซิน ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต เผาผลาญสารอาหาร และการทำงานของอวัยวะ เช่น เอ็นไซม์ไลเปสช่วยย่อยไขมันในนมแม่ ทำให้การดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่างกายของแม่จะผลิตน้ำนมขึ้น 3 ระยะ

ระยะหัวน้ำนม น้ำนมเหลือง โคลอสตรุ้ม (Colostrum) น้ำนมแม่ระยะแรกที่สร้างขึ้น 1-3 วันแรกหลังคลอด น้ำนมแม่ระยะนี้อุดมด้วยสารสร้างภูมิต้านทาน เช่น

  • IgA
  • แลคโตเฟอริน
  • เซลล์เม็ดเลือดขาว
  • โปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

น้ำนมเหลืองจะมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสไม่สูงมาก มีแร่ธาตุ เช่น โซเดียม คลอไรด์ แมกนีเซียม อยู่สูงกว่าน้ำนมระยะอื่น แต่โพแทสเซียมและแคลเซียมต่ำกว่า

น้ำนมระยะที่ 2 น้ำนมในระยะต่อมาหรือที่เรียกกันว่า ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transitional milk) น้ำนมระยะนี้จะไหลหลังจากน้ำนมเหลืองและอาจผลิตจนถึง 2 สัปดาห์ มีส่วนประกอบสำหรับทารกให้เจริญเติบโต มากด้วยไขมันและน้ำตาลที่ดีต่อพัฒนาการของทารก

น้ำนมระยะที่ 3 (Mature Milk) หลัง 2 สัปดาห์ ร่างกายแม่หลังคลอดจะผลิตน้ำนมที่มีสารอาหารหลักจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก อาทิ

  1. โปรตีน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เพิ่มภูมิต้านทาน และเอนไซม์ที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียได้
  2. ไขมัน กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ DHA (Docosahexaenoic Acid) และ AA (Arachidonic Acid) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและการมองเห็น
  3. วิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, C, D, E และ K ส่วนแร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ เหล็ก แคลเซียม และไอโอดีน
  4. น้ำตาลแลคโตส สารคาร์โบไฮเดรตหลักให้พลังงานต่อร่างกายทารก ช่วยให้เจ้าตัวน้อยเติบโตอย่างแข็งแรง ซึ่งน้ำตาลแลคโตสนั้นไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ เพราะเชื้อ Streptococcus mutans แบคทีเรียสำคัญที่เป็นตัวก่อปฏิกิริยาฟันผุ ชอบน้ำตาลซูโครสมากกว่า น้ำตาลแลคโตส

ประโยชน์นมแม่มากมาย ต้องปั๊มเก็บไว้ให้ลูกดื่มกิน

สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน อยากปั๊มนมเก็บไว้ให้กับลูก ต้องเตรียมตัวปั๊มนมไปเก็บเป็นนมสต๊อก และต้องหมั่นปั๊มนมเป็นประจำเพื่อให้มีน้ำนมอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปั๊มนมคือ ช่วงเวลาตี 5 ถึง 7 โมงเช้า นอกจากนี้ ยังต้องใส่ใจในการเลือกเครื่องปั๊มนม ให้มีจังหวะการปั๊มเลียนแบบการดูดของทารก ช่วยให้ปั๊มนมได้เกลี้ยงเต้า ใช้งานง่าย ปรับรอบดูดแรงดูดได้ และเมื่อตั้งใจที่จะปั๊มนมแล้ว ก็เริ่มต้นให้เร็วที่สุด แต่อย่าเพิ่งปั๊มแรงเพราะหัวนมอาจแตกได้ โดยปั๊ม 8-10 ครั้งต่อวัน เลียนแบบลูกดูด โดยเลือกใช้เครื่องปั๊มนมที่ปั๊มได้พร้อมกัน 2 ข้าง หรือเครื่องปั๊มนมปั๊มคู่

ทำไมต้องปั๊มนมรอบละ 30 นาที

ในช่วงแรกเริ่มอาจปั๊มไม่นานนัก ราว ๆ 10-15 นาที พอร่างกายแม่เริ่มคุ้นชินก็ค่อย ๆ เพิ่มช่วงเวลาปั๊มให้บ่อยขึ้นและนานขึ้นราว ๆ 20-30 นาที ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดี และเพื่อให้น้ำนมแม่เกลี้ยงเต้า (สังเกตได้จากเต้านมที่นุ่มขึ้น) เมื่อน้ำนมเกลี้ยงเต้าหลังจากปั๊มนมรอบละ 30 นาทีแล้ว ร่างกายก็จะเข้าใจว่าน้ำนมถูกระบายออกมาหมด พร้อมที่จะผลิตน้ำนมขึ้นมาใหม่ จึงเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายคุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากขึ้น หากปั๊มนมไม่นานพอ นมค้างเต้า จะทำให้แม่มีอาการเต้านมคัด สัมผัสได้ถึงก้อนแข็ง ๆ ใต้เต้านม จนก่อให้เกิดอาการเต้านมอักเสบในภายหลังได้

การปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้ายังทำให้สต็อกนม มีทั้งน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลัง ซึ่งน้ำนมแม่ทั้งสองส่วนนั้นมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย

  • น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) ใสกว่าเพราะมีปริมาณน้ำอยู่สูง ให้ไขมันต่ำ มีน้ำตาลแลคโตส ซึ่งมีหน้าที่ช่วยพัฒนาสมอง ระบบประสาทส่วนกลาง ทั้งยังช่วยดูดซึมแคลเซียมและธาตุเหล็ก น้ำนมส่วนหน้ายังให้พลังงานสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีวิตามิน แร่ธาตุ  กระตุ้นต่อการขับถ่ายของทารก  ทารกจะได้ขับสารเหลืองออกจากร่างกาย
  • น้ำนมส่วนหลัง (Hind Milk)  สีเข้มข้นกว่า  อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันที่สูงกว่าน้ำนมส่วนหน้า  มี  AA ARA OMEGA   และยังมีไขมันดีอีกหลายชนิด    ดีต่อการเจริญเติบโต การปั๊มนมเกลี้ยงเต้ายังช่วยให้น้ำนมแม่ส่วนหลัง มาอยู่ในน้ำนมแม่ส่วนหน้า (เพราะไม่ปล่อยให้นมค้างเต้า) ซึ่งจะมีผลต่อน้ำหนักตัวของทารกให้เติบโตอย่างแข็งแรง

หากคุณแม่ปั๊มนมเกลี้ยงเต้า นอกจากจะดีกับตัวแม่ให้นมแล้ว ยังช่วยให้น้ำนมสต๊อกมีทั้งน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังในปริมาณที่พอเหมาะ ได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายของทารกด้วย

อ้างอิงข้อมูล : breastfeedingthai,sikarin และ pharmacy.mahidol

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โครงการส่งนมแม่ฟรี ปี 2563 และวิธีแพ็คนมสำหรับขนส่ง

เมนูหัวปลี ตัวช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ หัวปลีทำอะไรได้บ้าง?

5 ปัญหาการให้นมแม่ ที่แม่ต้องเจอ พร้อมวิธีแก้ปัญหา

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up