AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกกินนมเก่ง อย่าหลงดีใจ สุดท้ายต้องแอดมิทเพราะ กินนมมากเกินไป

ลูกกินนมเก่ง กินนมได้เยอะ ผู้ใหญ่ก็มักจะดีใจ และคิดว่าลูกน้อยตัวจ้ำม่ำจะต้องเป็นเด็กที่แข็งแรงแน่ๆ เลย แต่คุณแม่มือใหม่อาจไม่ทราบว่าขนาดกระเพาะของเด็กทารกนั้นเล็กนิดเดียว หากลูกกินนมมากเกินไปก็เป็นโทษได้ ไม่ว่าจะนมผงหรือนมแม่ก็ตาม Amarin Baby and Kids จึงขอนำประสบการณ์ของคุณแม่มือใหม่ท่านหนึ่ง มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจคุณแม่มือใหม่ทุกท่านในการให้นมลูกน้อยวัยทารกค่ะ

ลูกกินนมเก่ง อย่าหลงดีใจ สุดท้ายต้องแอดมิทเพราะ กินนมมากเกินไป

คุณแม่ Sawitree Ying ได้เล่าว่า ตัวคุณแม่เองอายุ 17 ปี เลี้ยงลูกเองตั้งแต่คลอด ไม่มีผู้ใหญ่อยู่ให้คำปรึกษา เพราะทุกคนต้องทำงาน น้องอายุ 17 วัน เป็นเด็กเลี้ยงง่ายมาก ไม่งอแง คืออาบน้ำ กินนมเสร็จก็นอนได้เลย แต่น้องกินนมเยอะ ถ้าใส่ขวดให้ก็กินครั้งละ 4 ออนซ์ แรกๆ ก็ไม่เป็นอะไรจนเมื่อวานอยู่ๆ ไข้ขึ้นสูงมาก ต้องคอยเช็ดตัวตลอด แต่ก็ไม่ดีขึ้น จนตอนเช้าพามาหาหมอ หมอสั่งแอดมิททันที จากเด็กที่ไม่งอแงก็อ้อนมาก เพราะเป็นไข้ ต้องอุ้มแนบอกเพื่อให้เค้าอุ่นใจ

สุดท้ายได้คำตอบจากหมอถึงสาเหตุที่เป็นแบบนี้ เพราะน้องกินนมมากไป แม่ควรแบ่งช่วงเวลาการกินนมให้ลูก ไม่ใช่ตามใจปากให้เค้ากินจนอิ่มจัด คือเราเครียดมาก งานนี้ไม่โทษใคร โทษตัวเองทั้งนั้น เห็นลูกกินนมได้เยอะ เห็นน้ำนมตัวเองเยอะ ก็หลงดีใจคิดว่าลูกแข็งแรง ผู้ใหญ่ก็ชมว่าเด็กคนนี้มันกินเก่ง วันนี้ได้คำแนะนำจากหมอเยอะมาก หมอบอกอีกว่าเราไม่ใช่แม่มือใหม่รายแรกที่เจอแบบนี้ ต่อไปนี้ต้องปรับเวลาการกินนมลูกใหม่ สำหรับคนที่รู้ก็ไม่เป็นไรนะคะ แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ต้องระวังมากจริงๆ ไม่งั้นอาจเจอเหตุการณ์แบบเราได้

 

จากเหตุการณ์นี้ คุณแม่ไม่ได้โทษว่าเป็นเพราะนมแม่นะคะ แต่เพราะคุณแม่ยังมือใหม่ ไม่รู้ว่า ขนาดกระเพาะทารกแรกเกิดยังไม่สามารถรับน้ำนมต่อครั้งได้ในปริมาณมาก ซึ่งครั้งละ 4 ออนซ์ถือว่ามากเกินไป จึงให้ลูกกินนมจนอิ่มจัด ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า overfeeding หรือการกินนมเยอะเกินไปนั่นเอง ซึ่งก็ทำให้น้องปวดท้อง ท้องอืด ไม่สบายตัว โดยคุณแม่เพิ่งสังเกตเห็นว่าน้องไม่โอเค คือตอนมีไข้ค่ะ คุณแม่จึงอยากเตือน คุณแม่มือใหม่ที่อาจยังไม่รู้เรื่องนี้ ให้ระวังให้มากๆ ค่ะ

สำหรับคุณแม่มือใหม่ เรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า ความจุกระเพาะของทารกแรกเกิดนั้น สามารถรับปริมาณน้ำนมได้มากแค่ไหน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ ความจุกระเพาะของทารกแรกเกิด คลิกหน้า 2

ความจุกระเพาะทารก หลังคลอดถึง 1 เดือน

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ  ได้อธิบายถึง ความจุกระเพาะทารกไว้ดังนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เมื่อคุณแม่ทราบถึง ขนาดกระเพาะของลูกน้อยแล้ว จะได้ระวังไม่ป้อนนมเกินปริมาณที่ลูกจะรับได้ เพราะหากคุณแม่เห็นลูกร้องบ่อย คิดว่าลูกหิว ลูกกินนมเก่ง จึงให้ลูกกินนมมากเกินไป อาจทำให้กระเพาะ ลำไส้ดูดซึมนมไม่ทัน และเกิดการ Overfeeding ได้ค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกจากเต้าอาจเกิดคำถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกดูดนมไปมากน้อยแค่ไหน เพียงพอหรือยัง คุณหมอมีคำแนะนำ ดังนี้

ให้นมลูก ต้องแบบนี้ ป้องกันการ overfeeding

  1. ปกติเด็กแรกเกิดจะตื่นขึ้นมากินนมแม่ทุก 2-3 ชั่วโมง หลักการให้นมแม่คือชั่วโมงละ 1 ออนซ์ ถ้าให้ 2 ออนซ์ ลูกจะอิ่มท้องอยู่ไปได้ราว 2 ชั่วโมง
  2. สังเกตอึลูก ถ้าลูกอึครบ 2 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งมีปริมาณอึกว้างเท่ากับแกนของม้วนกระดาษชำระ คือ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. หรือฉี่ครบ 6 ครั้ง ในหนึ่งวัน (24 ชม.) แสดงว่าได้รับนมเพียงพอ
  3. ลูกร้องไม่ใช่เพราะหิวเสมอไป คุณแม่ควรเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ด้วยการอุ้มพาออกไปเดินเล่น หรือให้ลูกดูดจุกหลอก หรือให้ลูกอยู่ในเปลไกว แทนการให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกทำท่าขยับปากหรือร้องไห้
  4. ในบางครั้งลูกอาจร้องอยากดูดเต้าเพราะต้องการความอุ่นใจ ในกรณีนี้คุณแม่อาจปั๊มนมออกสักนิด ก่อนเอาลูกเข้าเต้า เพื่อป้องกันลูกกินนมมากเกินไปค่ะ

อ่านต่อ อาการแบบไหนเรียกว่า ลูกกินนมมากเกินไปแล้ว คลิกหน้า 3

วิธีสังเกตอาการ Overfeeding

พญ.สุธีรา  เอื้อไพโรจน์กิจ  กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ได้แนะวิธีสังเกตการ Overfeeding ไว้ 5 ข้อดังนี้

  1. นอนร้องเสียงดัง แอะๆๆๆ เสียงคล้ายแพะและแกะ
  2. บิดตัวเหยียดแขนเหยียดขา ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด คล้ายประตูไม่หยอดน้ำมัน
  3. มีเสียงครืดคราดในลำคอ คล้ายมีเสมหะอยู่ในลำคอ เนื่องจากนมล้นขึ้นมาที่คอหอย
  4. แหวะนม หรืออาเจียนนมออกมา ทั้งทางปาก และทางจมูก
  5. พุงกางเป็นน้ำเต้าตลอดเวลา

นอกจากนี้คุณแม่จะพบว่า น้ำหนักน้องจะขึ้นเกิน 35 กรัมต่อวัน หรือขึ้นมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อเดือน จนทำให้อึดอัด ปวดท้อง ร้องไห้โยเย ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นดังนี้

หากลูกมีอาการ Overfeeding ตามที่กล่าวมาเป็นสัญญาณว่าคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้นมลูกตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย และมีสุขภาพที่แข็งแรงจากคุณประโยชน์อันมากมายจากนมแม่ ที่ถือว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อยวัยทารกค่ะ

อ่านต่อ บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

น้ำนมน้อย นมแม่ไม่พอ ? และเคล็ดลับขับน้ำนมด้วยวิธีธรรมชาติ

เลือดปนในน้ำนมแม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ?


ขอบคุณข้อมูลจาก คุณแม่ Sawitree Ying คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids