วิธีสังเกตอาการ Overfeeding
พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ได้แนะวิธีสังเกตการ Overfeeding ไว้ 5 ข้อดังนี้
- นอนร้องเสียงดัง แอะๆๆๆ เสียงคล้ายแพะและแกะ
- บิดตัวเหยียดแขนเหยียดขา ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด คล้ายประตูไม่หยอดน้ำมัน
- มีเสียงครืดคราดในลำคอ คล้ายมีเสมหะอยู่ในลำคอ เนื่องจากนมล้นขึ้นมาที่คอหอย
- แหวะนม หรืออาเจียนนมออกมา ทั้งทางปาก และทางจมูก
- พุงกางเป็นน้ำเต้าตลอดเวลา
นอกจากนี้คุณแม่จะพบว่า น้ำหนักน้องจะขึ้นเกิน 35 กรัมต่อวัน หรือขึ้นมากกว่า 1 กิโลกรัมต่อเดือน จนทำให้อึดอัด ปวดท้อง ร้องไห้โยเย ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นดังนี้
- อายุ 0 – 3 เดือน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 600 – 900 กรัม ต่อเดือน
- อายุ 4 – 6 เดือน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 450 – 600 กรัม ต่อเดือน
- อายุ 7 – 12 เดือน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 300 กรัม ต่อเดือน
หากลูกมีอาการ Overfeeding ตามที่กล่าวมาเป็นสัญญาณว่าคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้นมลูกตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย และมีสุขภาพที่แข็งแรงจากคุณประโยชน์อันมากมายจากนมแม่ ที่ถือว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อยวัยทารกค่ะ
อ่านต่อ บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
น้ำนมน้อย นมแม่ไม่พอ ? และเคล็ดลับขับน้ำนมด้วยวิธีธรรมชาติ
เลือดปนในน้ำนมแม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ?
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณแม่ Sawitree Ying , คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่