AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

Overfeeding ลูกกินนมมากเกินไป อันตรายหรือไม่?

Overfeeding อันตรายอย่างไร?

Overfeeding ลูกกินนมมากเกินไป การป้อนนมลูกไม่ว่าจะเป็นจากอกแม่โดยตรง หรือให้ทานจากขวด ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ หากแม่ให้ลูกกินนมมากเกินไป เพราะอาจทำให้กระเพาะ ลำไส้ย่อยดูดซึมนมไม่ทัน จนทำลูกปวดท้อง อาเจียนได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีเรื่องชวนให้ได้ตระหนักถึงอันตรายจาก Overfeeding ลูกกินนมมากเกินไป มาให้ทราบค่ะ

Overfeeding ลูกกินนมมากเกินไป มีอาการอย่างไร?

พญ.สุธีรา  เอื้อไพโรจน์กิจ  กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ได้อธิบายถึงการ Overfeeding ไว้ดังนี้

  1. นอนร้องไห้เสียงคล้ายแพะและแกะ เสียงดัง แอะๆๆ
  2. บิดตัวเหยียดแขนเหยียดขา ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าด คล้ายประตูไม่หยอดน้ำมัน
  3. มีเสียงครืดคราดในลำคอ คล้ายเสียงที่มีเสมหะอยู่ในลำคอ เนื่องจากนมล้นขึ้นมาที่คอหอย
  4. มีอาการแหวะนม หรืออาเจียนนมออกมา ทั้งทางปาก และทางจมูก
  5. พุงใหญ่ เป็นทรงน้ำเต้าตลอดเวลา

 

เมื่อเด็กมีอาการดังกล่าวจะพบว่า น้ำหนักจะขึ้นเกิน 35 กรัมต่อวัน หรือน้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัมต่อเดือน จนทำให้อึดอัด ปวดท้อง ร้องไห้โยเย ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นดังนี้

อายุ 0 – 3 เดือน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 600 – 900 กรัม ต่อเดือน

อายุ 4 – 6 เดือน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 450 – 600 กรัม ต่อเดือน

อายุ 7 – 12 เดือน ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 300 กรัม ต่อเดือน

 

อ่านต่อ >> “Overfeeding ลูกมากเกินไป อันตรายอย่างไร” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Overfeeding อันตรายอย่างไร?

การให้ลูกกินนมจนล้น ก็อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายลูกได้เหมือนกัน ฉะนั้นคุณแม่ควรรู้ว่าการให้ลูกกินนมจนอิ่มล้นมากเกินไป (Overfeeding) นั้นมีผลกระทบกับลูกอย่างไรบ้าง

 

การที่ลูกได้กินนมไม่จะเป็นนมแม่ หรือนมขวดอิ่มมากจนล้น อาจทำให้ลูกดูเป็นอ้วนสมบูรณ์มีน้ำมีนวล แต่รู้ไหมว่านั้นอาจเป็นการเพิ่มน้ำหนักห้ลูกมากเกินเกณฑ์ที่ควรจะเพิ่มขึ้นไปตามแต่ละช่วงวัยของลูกได้ค่ะ จึงแนะนำว่าควรให้ลูกกินนมแต่พอดีตามที่ร่างกายลูกต้องการในแต่ละมื้อ หรือถ้าจะให้ดีคือพยายามเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะการให้ลูกกินนมแม่ ร่างกายแม่จะผลิตน้ำนมออกมาให้ได้ปริมาณที่เหมาะจะให้ลูกกินในแต่ละมื้อ ซึ่งถ้าลูกรู้สึกอิ่มพอแล้ว แม่ต้องไม่ยัดเยียดให้ลูกกินเพิ่ม และควรให้นมลูกตามชั่วโมง อย่างเด็กแรกเกิดจะมีพฤติกรรมการบริโภคคือ จะตื่นขึ้นมากินนมแม่ทุก 2-3 ชั่วโมง

 

อ่านต่อ >> “การป้องกัน Overfeeding การป้อนนมให้ลูกกับลูก” หน้า 3

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีป้องกันการ Overfeeding จากการป้อนนมให้กับลูก

1. คุณแม่ต้องระวังไม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป หลักการให้นมแม่ คือชั่วโมงละ 1 ออนซ์ ถ้าให้ 4 ออนซ์ ลูกจะอิ่มท้องอยู่ไปได้ราว 4 ชั่วโมง

2. ให้ประเมินว่าลูกอึครบ 2 ครั้ง โดยที่แต่ละครั้งมีปริมาณอึกว้างเท่ากับแกนของม้วนกระดาษชำระ คือ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. หรือจำนวนฉี่ครบ 6 ครั้ง ในหนึ่งวัน (24 ชม.) แสดงว่าได้รับนมเพียงพอ

3. การเบี่ยงเบนความสนใจลูกก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีคุณแม่บางรายที่อาจให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกทำท่าขยับปาก หรือกำลังจะเปปากร้องไห้ ซึ่งบางทีลูกอาจต้องการอย่างอื่นที่ไม่ใช่สื่อสารว่าต้องการกินนมเพียงอย่างเดียว ที่อาจทำให้คุณแม่เผลอหรือเคยชินกับการหยิบยื่นป้อนนมให้ลูกทุกครั้ง ดังนั้นทางออกที่ดีคือควรเบี่ยงเบนความสนใจลูก ด้วยการอุ้มพาออกไปเดินเล่น หรือให้ลูกดูดจุกหลอก หรือให้ลูกอยู่ในเปลไกว เป็นต้น

4. บางครั้งลูกก็เรียกร้องกินนมจากเต้าแม่เพื่อความพึงพอใจ ซึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไปในแต่ละมื้อ ที่ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมออกมามาก แนะนำว่าก่อนให้ลูกเข้าเต้า แม่ควรปั๊มน้ำนมออกมาสักนิดค่ะ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ได้รับปริมาณนมมากเกินไป

 

น้ำนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก ในน้ำนมแม่มีคุณค่าสารอาหารหลากหลายเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของลูกมากแต่การให้ลูกกินนมมากจนอิ่มล้นเกินไปก็สามารถส่งผลต่อร่างกายลูกได้เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่ได้อันตรายร้ายแรงอะไรมากก็ตาม แต่จะดีกว่าไหมหากคุณแม่ให้ลูกกินนมในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัยของลูก เพื่อที่ลูกจะได้เติบโตขึ้นอย่างเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง และท้ายที่สุดผู้เขียนในฐานะที่เป็นแม่ให้นมลูกเอง ก็ยังยืนยันว่าน้ำนมแม่มีประโยชน์และสำคัญกับลูก และขอสนับสนุนให้ว่าที่คุณแม่มือใหม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่กันตั้งแต่ลูกแรกเกิด …ด้วยความห่วงใยและใส่ใจค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ไม่จริงใช่ไหม! กินนมแม่ แล้วลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย
เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้ลูกมีกินได้นานเป็นปี
เลือดปนในน้ำนมแม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ?

 

 


เครดิต: breastfeedingthai.com, เฟสบุ๊คเพจนมแม่