ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ เพิ่มความมั่นใจกับงานวิจัยจากมหิดล - amarinbabyandkids
ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่

ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ เพิ่มความมั่นใจกับงานวิจัยจากมหิดล

Alternative Textaccount_circle
event
ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่
ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่

ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ “ลูกซัด ขิง ขมิ้น” สมุนไพรที่ขึ้นชื่อเรื่องเพิ่มบำรุงน้ำนมแม่ให้มีปริมาณมากขึ้น  สำหรับคุณแม่หลังคลอดลูก ที่ตอนนี้ได้มีการนำมาวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพตำรับยาของสมุนไพรทั้ง 3  ชนิด โดยทีมวิจัยจากคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยผลงานวิจัยตำรับสมุนไพร ลูกซัด ขิง ขมิ้นที่เป็นสมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ในครั้งนี้ได้มีการตีพิมพ์ในวรสาร การแพทย์ระดับโลก “Breastfeeding Medicine” นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ ลูกซัด ขิง ขมิ้น

การรับประทาน ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ อย่างลูกซัด ขิง ขมิ้นในแม่หลังคลอดที่มีคำถามว่าการทานสมุนไพร เข้าไปในร่างกายมากๆ จะปลอดภัยต่อสุขภาพ และช่วยให้ปริมาณน้ำนมแม่เพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ วันนี้เราได้  คำตอบที่จะช่วยให้คุณแม่ทุกคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทานตำรับยาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดนี้ได้สบายใจกันมากขึ้นค่ะ

ทีมวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะทีมแพทย์โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการ แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร ได้นำเอาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฟีนูแคปพลัส (Fenucaps Plus) เลขที่ อย. 13-2-02053-1-0011 ของ บริษัท สมุนไพรบ้านอาจารย์ จำกัด ที่มีส่วนประกอบจากสมุนไพร  ลูกซัด ขิง ขมิ้น ในการทดสอบครั้งนี้  ซึ่งการทดสอบทางคลินิคจะมีกลุ่มควบคุมแบบ Randomized Double-Bilnd Controlled Trial โครงการวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบ อนุมัติรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เลขที่เอกสาร COA. NO MUPH 2017-141 จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นไปตามหลักปฎิบัติของปฎิญญาเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki on Human subject) หลักจริยธรรมการวิจัยทางการเเพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ที่ยอมรับในระดับสากล

ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่

การวิจัยมีรูปแบบเป็นอย่างไร ?

การวิจัยประสิทธิภาพของสมุนไพร ลูกซัด ขิง ขมิ้น สมุนไพรบำรุงน้ำนม ทางทีมวิจัยได้ทำการทดสอบกับคุณแม่ให้นมลูกที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก(แป้งข้าวโพด) กับ กลุ่มที่ได้รับฟีนูแคป ซึ่งทั้งสองกลุ่มเป็นคุณแม่ลูกอ่อนที่เพิ่งคลอดมาได้ 1เดือน เเละเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แบบFull time ทั้งสองกลุ่ม

โดยคุณแม่ทั้งสองกลุ่มนี้จะมีการสุ่มเพื่อทำการทดสอบ คือกลุ่มหนึ่งได้รับสมุนไพรฯ ส่วนอีกกลุ่มได้รับยาหลอก ทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เดือน

ซึ่งทางทีมวิจัยได้มีการตรวจประเมินร่างกาย วิเคราะห์เลือดทางชีวเคมี และมีการเก็บตัวอย่างน้ำนมทั้งก่อนและหลังการรับประทาน ตลอดจนมีการบันทึกอาหารที่แม่ทานในแต่ละวัน เพื่อศึกษาปัจจัยด้านอาหารร่วมด้วย

  • ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมของคุณแม่ก่อนการทดลอง ในกลุ่มที่ได้รับสมุนไพร อยู่ที่ 710 มล. /วัน และในกลุ่มยาหลอกอยู่ที่ 736 มล./วัน ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ
  • แต่หลังจากการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 พบว่า ปริมาณน้ำนมในกลุ่มคุณแม่ที่ทานสมุนไพรฯ เพิ่มขึ้น 49% และเพิ่มสูงขึ้นถึง 103 % ในสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สูงขึ้นเกือบ 5 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ที่เพิ่มขึ้นเพียง 11% และ 24% ในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ตามลำดับ

 

ตำรับยาสมุนไพรลูกซัด ขิง ขมิ้น มีผลข้างเขียงอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?

แน่นอนว่าคุณแม่ที่ทานสมุนไพรต่อเนื่องอาจมีความกังวลเกิดขึ้นได้ สำหรับผลการวิจัยครั้งนี้ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ยืนยันว่าการทาน ลูกซัด ขิง ขมิ้น ที่เป็นตำรับยาเพิ่มน้ำนมแม่ ไม่พบรายงานใดๆ ถึงผลกระทบข้างเคียงในทารกที่ทานนมแม่ในกลุ่มทดลอง รวมถึงสุขภาพคุณแม่ด้วยเพราะได้มีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดทั้งก่อนและหลังทดลอง พบว่าการทำงานของตับ และไตไม่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ยังพบว่าคุณแม่กลุ่มที่ทานตำรับสมุนไพรลูกซัด ขิง ขมิ้น วิตามินเอในน้ำนมแม่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนคุณแม่ที่ทานยาหลอก วิตามินเอในน้ำนมแม่มีปริมาณลดลง

สามารถดูผลวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำรับยาสมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่ ลูกซัด ขิง ขมิ้น ได้ที่ http://www.fenucap.com/ครั้งเเรกของไทย-ม-มหิดล/

หวังว่างานวิจัยที่น่าเชื่อถือจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในเรื่องตำรับยาสมุนไพร ลูกซัด ขิง ขมิ้น ที่ช่วยบำรุงเพิ่มน้ำนมแม่ให้มีทั้งปริมาณ และคุณค่าสารอาหาร จะช่วยให้คุณแม่ที่อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มั่นใจกันมากขึ้น หากจะเลือกดูแลสุขภาพหลังคลอดด้วยการทานสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดในการเพิ่มน้ำนมแม่อาหารที่มีคุณประโยชน์มหาศาลต่อลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอดค่ะ

ฟีนูแคป สมุนไพรเพิ่มน้ำนมแม่

ขอบคุณข้อมูลจากคณะทีมวิจัยฯ

ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์

ผศ.ดร.พร้อมลักษณ์ สมบูรณ์ปัญญากุล

พญ.ศิริพร ธนินทรานนท์

นาง สาลี่ แซ่เบ๊

นางสาว อัญชลี ศิริกาญจนโรจน์

นางสาว สญามล เสนาพรม

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up