-
การคุมกำเนิด
ยาที่ปลอดภัย : การให้นม ไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดดีอย่างที่คิด เพราะถึงแม้แม่ยังไม่ได้กลับมามีรอบเดือนตามปกติ แต่การตกไข่ก็อาจเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นถ้าเคยกินยาคุมกำเนิดมา ก็อาจใช้วิธีนี้ต่อ โดยเลือกยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโพรเจสทินอย่างเดียว ซึ่งสามารถใช้ในช่วงให้นมได้อย่างปลอดภัย หรือจะเปลี่ยนไปใช้วิธีฉีดยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนทุกๆ 3 เดือนแทนก็ได้ ทั้งนี้ในช่วงที่เพิ่งคลอดแพทย์จะยังไม่ฉีดให้ เพราะยาฉีดคุมกำเนิดอาจมีผลต่อการผลิตน้ำนม ถ้าจะฉีด ควรฉีดในช่วง 6-8 สัปดาห์หลังคลอด จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องปริมาณการผลิตน้ำนมมากนัก
หลีกเลี่ยงยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโทรเจน เพราะสำหรับแม่บางคนฮอร์โมนนี้มีผลต่อปริมาณการผลิตน้ำนม
ทางเลือกอื่นๆ: ใช้แผ่นครอบปากมดลูก หรือวิธีคุมกำเนิดที่ไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนม จึงเหมาะจะใช้ในช่วงให้นมเช่นกัน และถ้านี่คือวิธีคุมกำเนิดที่แม่ใช้ก่อนคิดจะมีลูก แพทย์อาจต้องสั่งแผ่นใหม่ให้ในวันที่ตรวจสุขภาพหลังคลอด 6 สัปดาห์ เพราะการตั้งครรภ์และการคลอดทำให้รูปร่างของช่องคลอดเปลี่ยนไปและแผ่นเดิมอาจจะช่วยคุมกำเนิดไม่ได้เพราะใส่ไม่พอดี
-
อาหารไม่ย่อย และท้องเสีย
ยาที่ปลอดภัย : ยาลดกรด หรือ ยาแก้ท้องอืดในกลุ่มแคลเซียมคาร์บอเนต อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือไซเมธิโคน สามารถใช้ในช่วงให้นมได้
หลีกเลี่ยงการใช้ยารวมหลายชนิด เพราะอาจมีส่วนผสมของแอสไพริน หรือ ซาลิไซเลต และอาจเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอาการเลือดตกใน และกลุ่มอาการไรย์ (Reye’s Syndrome ความผิดปกติของสมองและตับ) ในทารก
ทางเลือกอื่นๆ : วิธีง่ายๆที่จะช่วยลดโอกาสในการกลับมามีอาการแสบร้อนกลางอก เพราะอาหารไม่ย่อยอีกคือ ต้องกินอาหารในแต่ละมื้อให้น้อยลง ไม่กินอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ อาหารรสจัด ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าว
ในกรณีที่แม่ท้องเสีย ให้เพิ่มปริมาณการกินโยเกิร์ต (และอาหารที่มีโพรไบโอติกอื่นๆ) ในแต่ละวัน เพราะโพรไบโอติก คือ แบคทีเรียชนิดดีที่จะช่วยรักษาสมดุลของลำไส้
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : 10 เรื่องอะไร ควรทำ ไม่ควรทำ ช่วงให้นมลูก
เคล็ดลับ ท้อง สุขภาพดี ลูกน้อยแข็งแรง
เลี้ยงลูกอย่างไร? ให้น่ารักสำหรับทุกคน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่