เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี ? - amarinbabyandkids
เต้านมคัด

เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี ?

Alternative Textaccount_circle
event
เต้านมคัด
เต้านมคัด

 

 5 วิธีแก้ไข เต้านมคัด ให้อยู่หมัด ?

      1. เวลาคุณแม่ให้นมลูกมีอาการเต้านมคัด ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นๆ แล้วประคบรอบเต้านมพร้อมกับนวดเบาๆ ให้ทั่วเต้านม จากนั้นให้บีบเอาน้ำนมออก ด้วยการใช้ฝ่ามือขวาประคองเต้านม แล้วกดหัวแม่มือเบาๆ ที่ด้านบนของเต้านมจากนวดนวดลงมาตรงหัวนมโดยค่อยๆ เพิ่มความแรงของการนวด พอนวดถึงบริเวณลานหัวนมก็ให้กดบีบลงตรงลานหัวนม จะช่วยทำให้น้ำนมพุ่งออกมาจากหัวนม
      2. แม่ให้นมลูกต้องให้ลูกดูดน้ำนมบ่อยๆ อย่างน้อยทุก 2 – 2 ½ ชั่วโมง และต้องดูดให้ถูกวิธี ก็จะช่วยให้น้ำนมระบายออกจากเต้าได้มากขึ้น และทันกับน้ำนมชุดใหม่ที่จะผลิตออกมาในแต่ละช่วงหลังจากที่ลูกดูดนมอิ่มเกลี้ยงเต้า
      3. อีกวิธีสำหรับแม่ที่เต้านมผลิตน้ำนมมากจนลูกดูดไม่ทัน ให้ใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแม่ออกมาจนหมดเต้าทั้งสองข้าง (น้ำนมที่ได้สามารถเก็บไว้เป็นสต็อกน้ำนมแม่) จากนั้นก็ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นๆ วางประคบบนเต้านมทั้งสองข้าง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เต้านมคัดเร็วขึ้น
      4. แม่ที่ให้นมลูกสามารถนำเอากะหล่ำปลีมาประคบเพื่อลดอาการคัดเต้านมได้ด้วยนะคะ วิธีการคือให้ใช้ใบกะหล่ำปลีสีเขียว แนะนำให้เลือกใบที่มีขนาดใกล้เคียงกับเต้านมของคุณแม่ จากนั้นนำใบกะหล่ำปลีมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปแช่เย็นที่ช่องแช่แข็งประมาณ 20-30 นาที เสร็จแล้วก็นำเอากะหล่ำปลีมาประคบเต้านม คุณแม่จะสวมเสื้อชั้นในปิดทับหรือใช้ผ้าพันทับก็ได้ ให้ประคบไว้ประมาณ 20 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ เต้านมคัดตึงให้บรรเทาลงค่ะ

Good to know… “กะหล่ำปลีเป็นพืชสมุนไพรเป็นยาเย็นที่มีฤทธิ์ดูดซับความร้อน สามารถช่วยลดการคั่งของสารน้ำในเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม ความเย็นจากใบกะหล่ำปลีจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ การใช้กะหล่ำปลีประคบนมไม่ควรใช้เกิน 3 ครั้งต่อวัน เนื่องจากจะส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้”

อ่านต่อ >> กะหล่ำปลี ช่วยลดอาการคัดนม อีกหนึ่งประโยชน์ที่คุณแม่ต้องรู้!

      1. หากเต้านมคัดตึงจนปวดหนักมากๆ คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาแก้ปวดมาทาน ทั้งนี้ควรเป็นยาแก้ปวดที่หมอสั่งให้เท่านั้น เพื่อจะได้ไม่กระทบกับน้ำนมที่ลูกต้องกินค่ะ นอกจากนี้ยังขอรับคำปรึกษาได้จากคลินิกนมแม่ที่มีบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งปัจจุบันนี้ตามโรงพยาบาลทั่วไปก็มีคลินิกนมแม่ค่ะ
      2. คุณแม่ควรใส่เสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านมไว้
      3. หากคุณแม่ทำทุกวิธีเพื่อบรรเทาอาการเต้านมคัดแล้ว แต่ยังไม่ดีขึ้นและเป็นรุนแรงมากขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคลินิกนมแม่ค่ะ

 

เต้านมคัด

 

Good to know… “อาการคัดเต้านมในแม่ให้นมลูก ปกติแล้วอาการนมคัดจะดีขึ้นและหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งในระหว่างนี้หากปวดเจ็บ คัดเต้านมมาก อาจจะทานยาพาราเซตามอล เพื่อช่วยช่วยบรรเทาปวดเต้านมคัด”

 

ถึงแม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเจอกับอุปสรรคบ้าง แต่เชื่อว่าทุกปัญหามีทางแก้ไขค่ะ เพียงขอแค่คุณแม่อย่าย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น ขอให้ตั้งใจต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป น้ำนมแม่คืออาหารที่ดีและวิเศษที่สุดสำหรับลูก เพราะเต็มไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ที่สำคัญมีสารภูมิคุ้มกันที่ได้จากน้ำนมแรกที่เรียกว่า “คอลอสตรัม” ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายลูกไม่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ง่ายด้วยค่ะ สำหรับคุณแม่ให้นมลูกที่มีอาการเต้านมคัด จนบวมแดงกดแล้วเจ็บ และมีไข้สูงร่วมด้วย แนะนำให้ไปพบคุณหมอทันทีค่ะ ด้วยความห่วงใยจากทีมงาน

 

อ่านต่อบทความหน้าสนใจ คลิก !
กู้น้ำนมแม่ กู้โลก!!!
นมแม่ เปลี่ยนรสชาติได้ จริงหรือ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


อ้างอิงข้อมูลจาก
รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 421.
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. http://www.thaibreastfeeding.org/page.php?id=87.

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up