AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อุ่นนมแม่ อย่างไรไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร?

อุ่นนมแม่

 

อุ่นนมแม่ มีคุณแม่นักปั๊มที่ทำสต็อกนมแม่ไว้ในตู้เย็นมาก เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ไปนานๆ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนค่ะ เพราะนมแม่มีประโยชน์กับลูกมากจริงๆ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าน้ำนมแม่ที่ปั๊บเก็บในตู้เย็น ถ้าจะ อุ่นนมแม่ ให้ลูกกิน จะต้องอุ่น หรือละลายนมแม่อย่างไรเพื่อไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบที่คุณแม่ไม่ควรพลาดมาให้ทราบกันค่ะ

 

อุ่นนมแม่ ลูกชอบกินแต่นมอุ่นๆ ทำอย่างไรดี?

ก่อนที่เราจะไปอุ่นนมแม่ให้ไม่เสียคุณค่าสารอาหาร เรามาหาคำตอบกับคำถามที่คุณแม่ที่ให้นมลูก ถามกันเข้ามาว่า “ลูกชอบกินแต่นมอุ่น” แบบนี้ได้หรือเปล่า นมแม่ที่อุ่นจะได้ประโยชน์ไหม? ซึ่งผู้ที่จะให้คำตอบได้ดีที่สุด ก็คือ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด(1) ที่คุณหมอได้ให้ข้อมูลอธิบายไว้อย่างชัดเจนในเรื่องที่ว่าลูกชอบกินนมแม่อุ่น ดังนี้

 

“ไม่เป็นปัญหาใหญ่ค่ะ แต่ถ้าไม่ยอมกินทั้งเย็นทั้งอุ่น น่าปวดหัวกว่าค่ะเด็กบางคนชอบกินนมเย็น เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นหืนน้อยกว่าและรสชาติดีกว่านมที่ถูกอุ่น แต่บางคนชอบกินอุ่นๆ คล้ายอุณหภูมิที่เหมือนออกจากเต้านมแม่ การกินนมเย็นไม่ได้ทำให้ปวดท้องหรือท้องเสีย ถ้าลูกชอบอย่างใดก็ทำอย่างนั้นได้ค่ะ แต่สิ่งที่ควรระวังในการทำให้นมอุ่นคือ อย่าให้ร้อนเกินไป เพราะทำให้วิตามินบางตัว สารภูมิคุ้มกันเซลล์เม็ดเลือดขาวลดลงเมื่อเทียบกับนมที่ยังเย็นอยู่ แต่แน่นอนว่ายังมีคุณค่ามากกว่านมผงทุกยี่ห้อ และหากร้อนมากอาจลวกปากลูกได้ ดังนั้นการอุ่นนมแม่ที่ปลอดภัยและได้คุณค่าเต็มที่คือให้ย้ายจากช่องแช่แข็งลงมาที่ตู้เย็นด้านล่าง โดยเตรียมก่อนวันใช้หนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นนมจะละลายบางส่วน เมื่อนำออกจากตู้เย็นให้แช่ขวดนมไว้ในน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้อง ห้ามเอานมใส่ไมโครเวฟหรือแช่ในน้ำร้อนหรือวางไว้ในที่อุ่นนมไฟฟ้า

หากคุณแม่อยากฝึกให้ลูกกินนมเย็น แต่พยายามให้กินจากขวดแล้วไม่สำเร็จ ลองเปลี่ยนรูปแบบเป็นดื่มจากถ้วยน่ารักที่ลูกชอบ ดูดหลอดหรือใช้ช้อนขูดนมน้ำแข็งกินเป็นไอศกรีม ลูกอาจชอบและยอมกิน เพราะเป็นรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน”

 

จากคำอธิบายของคุณหมอดังที่กล่าวไปข้างต้น น่าจะพอช่วยให้คุณแม่สบายใจหากต้องอุ่นนมให้ลูกได้ทานกันนะคะ เอาเป็นว่าเพื่อให้คุณแม่เข้าใจกันมากขึ้นในเรื่องของการนำนมแม่แช่เย็นเก็บเป็นสต็อกในตู้เย็น แล้วเมื่อถึงเวลาที่ต้องนำมาให้ลูกกิน คุณแม่ควรจัดการกับนมแม่แช่เย็นก่อนให้ลูกกินกัน ซึ่งมูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย(2) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนมแม่แช่เย็น ไว้ดังนี้

 

อ่านต่อ >> “น้ำนมแม่แช่เย็น อุ่นอย่างไรไม่เสียคุณค่าสารอาหาร” หน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

Credit Photo : Shutterstock

 

น้ำนมแม่แช่เย็น ก่อนให้ลูกกิน ต้องทำอย่าง?

การละลายสต็อกนมแม่ก่อนให้ลูกกิน คุณแม่อาจทำนมแม่เย็นๆ ที่เป็นน้ำแข็งนั้นมาทำละลายด้วยการอุ่น ซึ่งการอุ่นนมแม่ ที่จะไม่เสียคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายของลูก สามารถทำตามข้อแนะนำที่ถูกต้อง คือ

  1. นมที่แช่ในตู้เย็นชั้นล่าง ให้ใช้นมใหม่ก่อน
  2. นมที่แช่ในช่องแช่แข็ง ให้ใช้นมเก่าก่อน โดยเรียงลำดับตาม วัน เวลา ที่จัดเก็บ
  3. นำนมออกมาจากช่องแช่แข็ง มาเก็บไว้ในช่องเย็นธรรมดาล่วงหน้า 1 วัน เพื่อให้ค่อย ๆ ละลายเอง
  4. เมื่อจะกิน ให้นำออกมาวางไว้นอกตู้เย็น ทิ้งไว้ให้หายเย็น หรือแกว่งในน้ำก๊อก ถ้ารีบอาจแช่ในน้ำอุ่นเพื่อให้หายเย็น (ห้ามใช้น้ำร้อน เครื่องอุ่นนม ไมโครเวฟ) ควรผ่านความร้อนให้น้อยที่สุด เพราะความร้อนจะทำลายสารที่มีประโยชน์ในน้ำนม และอาจลวกปากลูกได้
  5. น้ำนมที่เก็บไว้ จะเห็นแยกเป็นชั้น เนื่องจากไขมันจะลอยอยู่ด้านบน เวลาจะใช้ ให้เขย่าให้เข้ากัน แต่ถ้าส่วนไขมันที่ยังแข็งตัวไม่ละลาย ก็อาจทำให้อุ่นขึ้นอีกหน่อย จะละลายเป็นเนื้อเดียวกันกินได้
  6. ถ้าลูกไม่ปฏิเสธ สามารถให้ทานนมเย็นๆ ได้เลย(2)

อ่านต่อ >> “วิธีเก็บรักษานมแม่ให้คงคุณค่าสารอาหาร” หน้า 3 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีเก็บรักษานมแม่ เพื่อลูกน้อยได้กินไปนานๆ

คุณแม่ที่มีน้ำนมแม่มากจนบางครั้งลูกก็กินไม่ทัน หรือในคุณแม่ที่ต้องการทำสต็อกนมแม่ เพื่อเก็บไว้ให้ลูกกิน แนะนำว่าให้ปั๊มเก็บใส่ถุงเก็บน้ำนมแม่ที่บรรจุน้ำนมแม่ไม่ให้เสียคุณค่าสารอาหาร จากนั้นจะต้องเขียนวันเวลาที่ปั๊มนมแม่ออกมาให้ชัดเจน เพื่อให้รู้ว่าสต็อกน้ำนมแม่ถุงไหนก่อนหลัง ที่ควรเอามาให้ลูกกิน ที่นี่เรามาดูกันว่าจะเก็บรักษานมแม่ได้อย่างไรบ้าง

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากตั้งไว้ข้างนอกที่อุณหภูมิ 27-32 องศา สามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งหากเลยไปจากนี้ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน เพราะคุณค่าสารอาหารเสียไปหมดแล้ว

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากตั้งไว้ข้างนอกที่อุณหภูมิ 16-26 องศา สามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 4-8 ชั่วโมง ซึ่งหากเลยไปจากนี้ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน เพราะคุณค่าสารอาหารเสียไปหมดแล้ว

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่ใส่กระติกน้ำแข็ง ที่มีอุณหภูมิ 15 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งหากเลยจากนี้ไปแล้วไม่ควรให้ลูกกิน

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่เก็บรักษาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ที่มีอุณหภูมิ 0-4 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 3-8 วัน

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่แล้วเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นแบบประตูเดียว(เปิด-ปิด อุณหภูมิไม่คงที่) จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 2 สัปดาห์

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่แล้วเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู ที่มีอุณหภูมิ -4 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 4-6 เดือน

นมแม่ที่ปั๊มออกมา

หากปั๊มนมแม่แล้วเก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นที่แช่เฉพาะนมแม่ ที่มีอุณหภูมิ -19 องศา จะสามารถเก็บนมแม่ไว้ได้ประมาณ 6-12 เดือน

 

นมแม่นั้นดีและมีประโยชน์กับลูกมากๆ จึงขอเอาใจช่วยให้คุณแม่ทุกคนที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยแม่ ขอห้มีประมาณน้ำนมเพียงพอให้ลูกได้ทานกันได้มากกว่า 6 เดือนนะคะ แล้วอย่างลืมทำตามคำแนะนำในการอุ่นนมแม่ ที่ยังคงคุณค่าสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายของลูก …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

เทคนิคเพิ่มน้ำนมแม่ ให้ลูกมีกินได้นานเป็นปี
เคล็ดไม่ลับ การปั๊มนม วิธีเพิ่มน้ำนม ฉบับคุณแม่มืออาชีพ
เลือดปนในน้ำนมแม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ?

 


ขอขอบคุณข้อมูลบทความจาก
1แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด. “ลูกชอบกินแต่นมอุ่นๆ”
2มูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย. น้ำนมแม่แช่เย็น เวลาจะเอามาให้ลูกกิน ทำอย่างไร. www.thaibreastfeeding.org