ความจุในการเก็บน้ำนม ของเต้านมแม่มีเท่าไหร่?

ความจุในการเก็บน้ำนม ของเต้านมแม่มีเท่าไหร่?

event

น้ำนมแม่พอสำหรับลูกจริงหรือไม่?

ช่วง 2-3 วัน หลังคลอด ลูกน้อยไม่ได้ต้องการนมมากมาย ในวันแรกลูกน้อยต้องการนมแม่ประมาณ 1.5-7 ซีซีต่อมื้อเท่านั้น ซึ่งพอดีกับความจุของกระเพาะลูกน้อย คือ 5-7 ซีซี ขนาดประมาณลูกแก้ว ถ้าทารกได้รับน้ำนมเกิน 7 ซีซีจะอาเจียนออกมา เพราะกระเพาะอาหารของลูกรับน้ำนมไม่ได้มาก น้ำนมแม่ช่วงวันแรกก็ผลิตได้ไม่มากเช่นกัน ลูกจะได้รับปริมาณน้ำนมที่เหมาะสม คือดูดน้อยๆ แต่บ่อยๆ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเต็มเปี่ยม

ปริมาณน้ำนมแม่จะผลิตมากขึ้นตามการดูดของลูก กระเพาะอาหารของลูกจะปรับขนาดใหญ่ขึ้นในวันที่ 3 มีความจุประมาณ 22-27 ซีซี หรือ 1 ออนซ์ ขนาดประมาณลูกปิงปอง

กระเพาะของลูกน้อยจะโตขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปรับการรับน้ำนมที่ผลิตมากขึ้น ในวันที่ 10 ประมาณ 57-65 ซีซีต่อมื้อ เทียบเท่าไข่ไก่ 1 ฟอง

ความจุในการเก็บน้ำนม

เครดิตภาพ: http://www.ardothai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539535132&Ntype=1

จะรู้ได้อย่างไรว่ารับนมแม่เพียงพอ?

1.สังเกตอุจจาระลูกใน 1-2 วันแรก ลูกจะอุจจาระเหนียวสีเขียวเข้มถึงดำ เรียกว่าขี้เทา หลังจากวันที่ 3-4 สีอุจจาระจะค่อยๆ จางลงเป็นเขียวปนเหลือง และขับถ่าย 3-4 ครั้งต่อวัน

2.สังเกตที่ปัสสาวะ ปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนใสใน 5 วันแรก ควรถ่ายปัสสาวะวันละ 3-5 ครั้ง หลังจากนั้นอย่างน้อยวันละ 6 ครั้ง

3.หลังจากดูดนมอิ่ม จะปล่อยหัวนมออกมาเอง นอนหลับได้ ไม่งอแง เมื่อหิวก็ตื่นขึ้นมาดูดนม ช่วง 1 เดือนแรก ลูกจะตื่นขึ้นมาดูดนมแม่บ่อยๆ บางคนดูด 1-2 ชั่วโมง เป็นเรื่องปกติในการกระตุ้นการผลิตน้ำนม

4.ก่อนให้นมจะรู้สึกว่าเต้านมหนัก ตึง หลังดูดเสร็จเต้านมจะนิ่ม และรู้สึกน้ำหนักเบาลง

banner300x250

สัญญาณที่บอกว่าลูกหิว

เมื่อลูกหิว มือจะกำแน่น งอแขนขึ้นมา เอากำปั้นมาแตะที่ปาก ต่อมาเอากำปั้นเข้าปาก อม และเริ่มดูดมือตัวเอง เมื่อนำลูกเข้าเต้า ลูกจะไซ้หาเต้า อ้าปากงับนม และดูดนมจนเกลี้ยง แล้วปล่อยปากออกมา แต่ถ้าคุณแม่มือใหม่ยังไม่ทราบว่าลูกหิว ลูกจะอ้าปากแลบลิ้นออกมา กระวนกระวาย จนร้อนไห้ ถ้านำลูกมาดูดนมขณะร้องไห้ อาจทำให้เข้าเต้าไม่ถนัด จึงทำให้รับน้ำนมไม่เต็มที่ การสังเกตอาการเมื่อลูกหิวจะได้รับน้ำนมมากกว่า

เครดิต: www.birthababy.com, http://siripatana.myreadyweb.com, www.breastfeedingthai.com, www.feelmom.com

อ่านเพิ่มเติมคลิก!!

ลูกดูดนมแม่ไม่ได้ ปัญหาใหญ่ของทารกป่วย/คลอดก่อนกำหนด

ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ป้องกันความเสี่ยงลูกน้อยเสียชีวิต

นมแม่เหม็นหืน ทำอย่างไรดี และมีวิธีเก็บรักษาอย่างไรบ้าง?

Save

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up