เลือดปนในน้ำนมแม่

เลือดปนในน้ำนมแม่ ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยหรือไม่ ?

event
เลือดปนในน้ำนมแม่
เลือดปนในน้ำนมแม่

เลือดปนในน้ำนมแม่ สาเหตุจากอะไร ? 

เลือดอาจปนในน้ำนมแม่ได้จากหลายสาเหตุ  ส่วนใหญ่มักไม่มีอะไรน่ากังวลและจะหายไปได้เองภายในหนึ่งเดือน เว้นเสียแต่หัวนมยังคงเป็นแผลอยู่  ทั้งนี้ หากเกินหนึ่งเดือน คุณแม่ควรไปปรึกษาแพทย์  สาเหตุของเลือดปนในน้ำนมแม่มีดังต่อไปนี้

1. หัวนมแตก

  • หัวนมแตกหรือเป็นแผล ทำให้มีเลือดปนออกมาในน้ำนม
  • เป็นอาการปกติสำหรับคุณแม่ช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เมื่อลูกน้อยยังไม่รู้จังหวะเข้าเต้า หรือคุณแม่ยังจัดท่าให้นมไม่ถูกต้อง
  • กรณีที่หัวนมถลอกหรือเป็นแผลเปิด เช่น มีรอยแตกหรือตุ่มขาวอุดตันหัวนม ทำให้มีเนื้อเยื่อฉีกขาด จะยังเห็นมีเลือดออกแม้หลังจากปั๊มนมแล้ว
  • ถ้าปัญหาเกิดจากการเข้าเต้า คุณแม่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่


    2. ภาวะท่อสนิม
    (Rusty Pipe Syndrome)

  • ภาวะท่อสนิมหรือการคั่งคัดของหลอดเลือดในท่อน้ำนมเป็นสาเหตุที่พบทั่วไปของเลือดปนในน้ำนมแม่ โดยเฉพาะช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด
  • ภาวะนี้ถูกตั้งชื่อตามสีของน้ำนมที่เหมือนสีสนิม
  • การคั่งคัดนี้เกิดขึ้นเมื่อมีเลือดหรือของเหลวประเภทอื่นๆ จำนวนมากไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงและสะสมในเต้านม
  • แรงดันจากการไหลเวียนของเลือดจะทำให้ท่อน้ำนมขยาย และช่วยพัฒนาเซลล์ผลิตน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านม
  • เลือดบางส่วนยังคงหลงเหลือค้างอยู่ในท่อน้ำนม แต่จะถูกขับออกมาพร้อมกับนมแม่ โดยทั่วไปแล้วคุณแม่มักไม่มีอาการเจ็บปวด และภาวะนี้อาจเกิดที่เต้านมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • ส่วนใหญ่แล้ว ร่องรอยของเลือดจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้ามีเลือดปนในน้ำนมแม่นานเกินหนึ่งสัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

    3. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายในท่อน้ำนม (Intraductal Papilloma)

  • แม้จะพบไม่บ่อย แต่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของเลือดปนในน้ำนมแม่
  • เป็นก้อนเนื้อขนาดเล็กคล้ายหูดที่งอกขึ้นในท่อน้ำนม
  • มักทำให้มีเลือดออกและปะปนออกมากับน้ำนมแม่ ซึ่งจะค่อย ๆ ลดหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา
  • คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ปรากฏเป็นก้อนเนื้อบวมออกมา
  • อีกสาเหตุหนึ่งซึ่งพบน้อยมาก คือ ซีสต์เต้านมหรือก้อนเนื้อชนิดไฟโบรซีสติค เป็นภาวะก้อนเนื้อชนิดไม่ร้าย สามารถคลำเจอได้บนเต้านม

    4. หลอดเลือดฝอยฉีกขาด

  • การบาดเจ็บหรือมีแผลที่หลอดเลือดฝอยในเต้านม ทั้งจากการปั๊มนมผิดวิธี หรือเกิดการบาดเจ็บรุนแรงที่เต้านมจนมีเลือดออกในท่อน้ำนมและปนออกมากับน้ำนมแม่
  • บางครั้งการปั๊มนมที่ใช้แรงดันมากเกินไปก็อาจทำให้หัวนมเกิดการบาดเจ็บ

    5. เต้านมอักเสบ

  • เป็นอาการอักเสบของเต้านมที่ทำให้มีเลือดออก หากมีก้อนบวมนิ่มหลายก้อนอาจบ่งชี้ถึงอาการเต้านมอักเสบระยะแรกเริ่ม
  • คุณแม่ที่เป็นเต้านมอักเสบจะสังเกตว่าบริเวณที่อักเสบมีลักษณะบวมแดงและเจ็บ รวมทั้งมีไข้อ่อน ๆ ควรไปพบแพทย์ทันที

    6. มะเร็งเต้านม

  • เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีเลือดปนในน้ำนมแม่ แต่พบได้น้อยมาก
  • มะเร็งเต้านมบางประเภท เช่น มะเร็งท่อน้ำนมและมะเร็งหัวนม อาจเป็นสาเหตุทำให้หัวนมมีเลือดไหล จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิฉัยและหาแนวทางการรักษาต่อไป

หมายเหตุ: ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตัดโรคร้ายใดๆ ออกไป

อ่านต่อ >> “น้ำนมแม่มีเลือดปนควรทำอย่างไร?” หน้า 3 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up