AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ประโยชน์คับเต้า “นมแม่” ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด

คงเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าอิจฉาไม่น้อย สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมลูกแล้วยังปั้มเป็นสต็อกเก็บไว้ได้อีกเยอะแยะ…แต่รู้หรือไม่ นมแม่ นอกจากจะเป็นอาหารที่ดีที่สุดของลูกน้อยแล้ว ในนมแม่ยังสารอาหารพิเศษที่เรียกว่า พรีไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหารที่มีประโยชน์ แบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคและการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ช่วยให้ทารกเติบโตขึ้นอย่างมีความสุข สุขภาพดี และพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งรอบตัว แต่ประโยชน์ของนมแม่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมเหลือเยอะเกินที่จะให้ลูกกิน แล้วไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร …เรามีประโยชน์ของนมแม่อีกมากมายมาบอกค่ะ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

19 ประโยชน์ของนมแม่ ช่วยแก้ รักษา อาการ เจ็บป่วย ปวดแผลต่างๆ

  1. บรรเทาอาการคันของอีสุกอีใส: ใช้สำลีจุ่มนมแม่แล้วนำมาทาที่ตุ่มอีสุกอีใสสามารถช่วยบรรเทาอาการคันและลดปวด
  2. แก้ปัญหาตาปลา: ใช้สำลีจุ่มไขมันในนมแม่แล้วนำมาวางไว้บนตาปลาสัก 2-3 นาที วันละ 2 ครั้ง ช่วยให้ตาปลาแห้งได้
  3. รักษาแผลน้ำร้อนลวก และ ไหม้แดด: ทานมแม่บนแผลไหม้เบาๆ วันรุ่งขึ้นแผลจะดีขึ้นมาก ความอ่อนโยนของน้ำนมจะลดอาการปวดแสบร้อนได้ชะงัด
  4. รักษาแผลร้อนใน และ โรคไวรัสแผลในปาก: แต้มน้ำนมบนแผลโดยตรง จะช่วยลดอาการเจ็บปวด
  5. รักษาแผลมีดบาด แผลถลอก: ถ้าไม่มีน้ำและสบู่ ให้ใช้น้ำนมทำความสะอาดแผลได้เลย หรือ หยดน้ำนมลงไปในแผลแล้วรอให้แห้งเอง ถ้าแผลอยู่ที่ริมฝีปากหรือในปาก ให้ลูกดูดนมแม่ไปได้เลย
  6. รักษาผื่นผ้าอ้อม: ใช้น้ำนมทาบนก้นลูกให้ทั่วๆ และ แต้มมากเป็นพิเศษบริเวณที่แดงหรือ อักเสบ รอให้น้ำนมแห้งสนิทแล้วค่อยใส่ผ้าอ้อม
  7. รักษาหูชั้นนอกอักเสบ: หยดนมแม่เข้าไปในรูหู 2-3 หยด
  8. ลดอาการบวมแดงของหนังตา: ใช้สำลีชุบนมแม่ให้ชุ่ม แล้ววางปิดบนหนังตานาน 2-3 นาที หากใช้ร่วมกับถุงชา หรือ แตงกวาฝาน จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  9. นมแม่ รักษาแผลแมลงกัด: แต้มนมแม่บนแผล จะช่วยลดอาการคัน และ แผลยุบเร็วขึ้น
  10. รักษาแผลเรื้อรัง หรือ ตุ่มน้ำอีสุกอีใส: แต้มนมแม่บนตุ่มน้ำใส ช่วยลดอาการคัน ทานมแม่บนแผลเรื้อรัง ช่วยให้แผลหายได้

อ่าน >> ประโยชน์ของนมแม่ ช่วยแก้ รักษา อาการ เจ็บป่วย ปวดแผลต่างๆ ข้อ 11-29 คลิกเลย

  1. รักษาอาการเจ็บคอ: ถ้าลูกมีอาการเจ็บคอ การดูดนมแม่จะช่วยบรรเทาอาการได้
  2. รักษาหูด: ใช้สำลีชุบนมแม่วางบนหูดนาน 2-3 นาที วันละ 2 ครั้ง ทำต่อเนื่องทุกวันจนกว่าหูดหลุดออกมา
  3. นมแม่ ฆ่าเซลล์มะเร็ง: นักวิทยาศาสตร์กำลังผลิตยาฆ่าเซลมะเร็งที่ทำจากนมแม่
  4. นมแม่ ช่วยลดอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด: เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน กินอาหารได้น้อย การนำ นมแม่ ให้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดกิน จะทำให้อาการผลข้างเคียงจากยาน้อยลง
  5. นมแม่ สะอาดหยดใส่ตา: ช่วยรักษาภาวะเยื่อบุตาอักเสบในกรณีที่เกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน ร่วมกับการนวดบริเวณหัวตาบ่อยๆ ส่วนกรณีติดเชื้อที่ตา อย่ารักษาเอง ให้พบหมอตาเสมอ
  6. นมแม่ ช่วยลดอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก: หยดเข้ารูจมูกลูก 2-3 หยด ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยาบางอย่างที่ทำให้จมูกบวมหลังจากหยุดใช้
  7. เวลาลูกป่วย เช่น เป็นไข้หวัดใหญ่ มักกินข้าวได้น้อย: นมแม่ ย่อยง่าย กินง่าย ช่วยให้พลังงานแก่ลูก ช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น
  8. นมแม่ ช่วยลอกสะเก็ดชันตุที่หนังศีรษะ: โดยการทาทิ้งไว้ก่อนสระผมนาน 5 นาที
  1. ใช้ นมแม่ ทาที่แผลหลังจากขลิบอวัยวะเพศชาย: หลังจากล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า ช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น

6 ประโยชน์ของนมแม่ แก้ปัญหาเสริมความงามทั้งใบหน้าและลำตัว

  1. รักษาสิว บำรุง และ ทำความสะอาดผิวหน้า: หลังจากล้างหน้าด้วยสบู่อ่อน ใช้สำลีชุบนมแม่แต้มให้ทั่วใบหน้า หรือ ใช้นมแม่มาสก์หน้า จะทำให้ผิวหน้านุ่มนวล และ ใช้เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางที่ตาได้ด้วย
  2. ลดไขบนศีรษะลูก: ไขบนศีรษะลูกมีลักษณะเป็นคราบคล้ายสะเก็ด มีสีน้ำตาลหรือเหลือง เพียงแค่คุณใช้นมแม่นวดเบา ๆ บริเวณที่มีไขบนศีรษะของลูกก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
  3. รักษาปากแตก: ทาน้ำนมบนริมฝีปากแตกบ่อยๆ รอให้แห้งเอง ปากจะหายแตกภายใน 1-2 วัน
  4. ลดแสบจากแดดเผา: นมแม่แช่เย็นช่วยบรรเทาอาการแสบของผิวหนังจากแดดเผาไหม้ได้ด้วย
  5. รักษาหัวนมแตก: ทานมแม่ที่แผล แล้วรอให้แห้ง หรือ จุ่มหัวนมลงไปแช่ในนมแม่ที่เทใส่จาน
  6. นมแม่ ช่วยทำให้ผิวหนังที่แห้งกลับชุ่มชื้น: โดยทาบนผิวแห้งโดยตรง หรือ ผสม นมแม่ ลงในอ่างอาบน้ำ

ที่น้ำนมแม่ ช่วยทำให้แผลต่างๆหายไวขึ้น เนื่องด้วยคุณสมบัติของกรดลอริคที่อยู่ใน นมแม่ มีฤทธิ์ต้านไวรัส แบคทีเรีย ช่วยสมานแผล และ มีคุณสมบัติเป็นยาชาอ่อนๆนั่นเอง หรือคุณแม่สามารถนำไปบริจาคให้โรงพยาบาล หรือผู้รอรับบริจาค ได้เช่นกัน

ปล.จากที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นการรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองก่อน แต่ถ้าทำแล้วไม่ดีขึ้น อย่าเสียเวลายื้อต่อ หรือ ละเลยการรักษาจากแพทย์ ควรพบแพทย์ตรวจเสมอค่ะ


ขอบคุณที่มา : เพจ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ