การ เพิ่มน้ำนม เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่มักคิด วิตก ว่าตัวเองมีน้ำนมน้อย กลัวว่าจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก พอเห็นลูกร้องหิวบ่อยๆ ก็ยิ่งเครียด ยิ่งกังวล จนบางครั้งจากที่เคยมีน้ำนมให้ลูกแบบพอดีๆ ก็พานน้อยลงไปจริงๆ เพราะความเครียดจากการทึกทักเอาเองว่า “น้ำนมฉันน้อย”
มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ทารกที่กินนมแม่นั้นมีสติปัญญาดีกว่า นอกจากนี้การให้นมแม่ยังช่วยประหยัดค่านม ค่ารักษาพยาบาล แถมนมแม่ยังสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูก ส่งเสริมความรักภายในครอบครัว ทารกที่กินนมแม่มีความฉลาดทางด้านอารมณ์ดีกว่าทารกที่กินนมผง (ร่าเริง อารมณ์แจ่มใส) การที่ลูกดูดนมแม่ ยังช่วยให้แม่ลดน้ำหนักตัวหลังคลอดได้ ยังไม่พอ ยังช่วยป้องกันปัญหาตกเลือดเพราะมดลูกบีบตัวอีกด้วย และสำคัญที่สุด สร้างความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตัวเองของความเป็น “แม่”
ทั้งนี้บางคนอาจเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับการให้นมแม่มาว่า หากน้ำนมน้อย หรือ หัวนมบอด จะไม่สามารถให้นมลูกได้ หรือไม่ก็การให้นมแม่เป็นเรื่องยาก ความจริงแล้วผู้ที่เป็นแม่ทุกคนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หากรู้วิธีที่ถูกต้อง
แชร์สูตรน้ำหัวปลี บำรุงเลือด เพิ่มน้ำนม พุ่งปี๊ดดดดดดดด!
กฎกุญแจสำคัญในการให้ นมแม่ มี 3 ประการ คือ
*อย่าให้นมผง
*อย่าด่วนหมดกำลังใจ
*ต้องกระตุ้นเต้านมบ่อยๆ
สาเหตุของน้ำนมน้อย
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้น้ำนมคุณแม่มีน้อย มีหลายประการ เช่น
- เริ่มให้ลูกดูดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
- ให้ลูกดูดผิดวิธี ลูกอมงับได้ไม่ลึกพอ
- ลูกได้ดูดนมแม่ไม่บ่อยพอ (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับการเสริมนมผสม การให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริม (ก่อนวัยอันสมควรคือ 6 เดือน) ทำให้ลูกอิ่มไม่ยอมดูดนมแม่
- คุณแม่ที่กลับไปทำงานแล้วปั๊มนมออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
- ความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
- กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
สาเหตุที่มักทำให้คุณแม่เข้าใจผิด…คิดว่าน้ำนมน้อย
- การที่เต้านมไม่คัดจึงเข้าใจผิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลง แต่ที่จริงมาจากร่างกายสามารถปรับการผลิตได้พอดีกับความต้องการของลูก
- ลูกดูดนมแล้วหลับก่อนจะอิ่ม เมื่อเอาลูกออกจากเต้าไม่นาน ก็ร้องหิวใหม่ (อ่านต่อในหัวข้อ“ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไรเลย”)
- ให้ลูกดูดนมสลับเต้าไปมาในมื้อเดียวกัน ลูกได้แต่น้ำนมส่วนหน้า ไม่ได้น้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่า จึงหิวเร็ว
- น้ำนมพุ่งจนลูกสำลัก และไม่ยอมดูดนมแม่
- ลูกเข้าสู่ระยะการเติบโตแบบเร็วๆ (growth spurt)
อ่านต่อ >> “ทำอย่างไรให้มีน้ำนมมากขึ้น” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Amarin Baby & Kids