อาการสำลักเข้าปอด ทารกสำลักนม อันตรายถึงชีวิต - Amarin Baby & Kids
อาการสำลักเข้าปอด

อาการสำลักเข้าปอด ทารกสำลักนม อันตรายถึงชีวิต

account_circle
event
อาการสำลักเข้าปอด
อาการสำลักเข้าปอด

อาการสำลักเข้าปอด อันตรายหากทารกสำลักนม แม่จะรู้ได้อย่างไร และมีวิธีไหนป้องกันได้บ้าง

ป้อนนมลูกต้องระวัง! อาการสำลักเข้าปอด

แม่ป้อนนมลูกทั้งหลาย ควรระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะอาการสำลักนมของทารกเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ แต่ถ้าลูกสำลักจนเข้าปอดจะเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อตัวทารก โดยคุณแม่ท่านหนึ่งได้โพสต์ฝากเรื่องทารกสำลักนมไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์คุณแม่มือใหม่นะคะ ตอนแรกเกิดน้องน้ำหนัก 2.6 กิโลกรัม วันนี้น้องมีอายุ 26 วัน มีอาการเสียงครืดคราด แม่คิดว่าคงมีน้ำมูกอยู่ในจมูกน้องเลยพาไปหาหมอ เมื่อชั่งแล้วลูกน้ำหนัก 3.4 กิโลกรัมค่ะ แม่ตกใจมาก หมอบอกว่าแม่ให้นมเยอะเกินไป จนน้ำนมเข้าไปอยู่ในปอดลูกเยอะต้องดูดออก ตอนดูดแม่ใจจะขาดเลยค่ะ น้องร้องดังมาก เลยอยากเตือนแม่ท่านอื่นค่ะว่า ที่ลูกร้องอาจจะไม่ใช่หิวเสมอไปค่ะ **เพิ่มเติมนะคะ น้องสำลักและอ้วกด้วยค่ะ นมเลยเข้าปอด

คุณแม่เล่าเพิ่มเติมว่า ลูกคนนี้เป็นลูกคนแรก แม่จึงยังไม่มีประสบการณ์ ซึ่งปกติแล้ว ทารกจะต้องกินนมทุก 3 ชั่วโมง โดยคุณแม่จะจับเข้าเต้าข้างละ 15 นาที เมื่อน้องกินนมแม่ครบแล้ว จะให้คุณพ่อสลับอุ้มน้องกับคุณยาย

“เมื่อน้องร้องเค้าก็คิดว่าน้องจะกินอีก พอกินแล้วล้น น้องจึงอาเจียนออกมาเยอะมาก เค้าก็ยังคิดว่าน้องอาเจียนมาหมดแล้วน้องต้องหิวอีก ให้แม่ยัดนมให้น้องอีกค่ะ และน้องสำลักบ่อยด้วยค่ะ”

จากนั้น 3-4 วัน แม่สังเกตว่า ลูกน้อยมีเสียงครืดคราด หายใจเสียงดังลูกกินเยอะ อย่าดีใจ ป้อนไม่ยั้ง เสี่ยงปอดติดเชื้อ กระเพาะพัง จึงตัดสินใจพาไปพบคุณหมอ ตอนนั้นแม่ทั้งเครียดทั้งสงสารลูกมาก ๆ พอคุณหมอดูดนมออกจึงให้ยา แล้วให้กลับบ้าน คุณหมอแจ้งว่า หลังจากนี้ให้แม่จำกัดการให้ลูกกินนมค่ะ แบ่งกินเป็นมื้อ ๆ

“ลูกร้องยังพึ่งยัดนมให้ลูกค่ะ น้องไม่ได้หิวเสมอไป พาอุ้มเดิน เปลี่ยนผ้าอ้อม ไม่ก็น้องอาจจะร้อนหรือหนาวก็ได้ค่ะ” คุณแม่ทิ้งท้าย

ปัจจุบันอาการของน้องดีขึ้นมาก ร่างกายแข็งแรงขึ้นแล้ว คุณแม่ก็คอยบีบนมใส่ขวดให้น้องกินครั้งละ 2 ออนซ์ แล้วก็คอยสังเกตอาการน้องอยู่เสมอ เวลาลูกร้องก็พาอุ้มและคอยดูว่าลูกร้องเพราะอะไร

ถึงแม้ว่าน้ำนมแม่จะมากด้วยคุณประโยชน์และเปี่ยมไปด้วยสารอาหาร แต่ก็ต้องให้ลูกกินในปริมาณที่เหมาะสม ขนาดกำลังพอดีกับกระเพาะน้อย ๆ ของเจ้าตัวน้อย

อาการสำลักเข้าปอด
อาการสำลักเข้าปอด

ขนาดกระเพาะทารกแค่นี้ กินอย่างไรให้พอดี

ทารกแรกเกิดมักจะหิวนมและตื่นมาร้องอุแว๊ อุแว๊ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพราะกระเพาะทารกมีขนาดเล็ก ทำให้ลูกตื่นมากินนมบ่อย ๆ หากต้องการรู้ว่าลูกกินนมแม่เพียงพอแล้วหรือยัง คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ชื่อดัง แนะนำให้สังเกตจำนวนครั้งปัสสาวะ ควรอยู่ราว ๆ 6 ครั้งต่อวัน ส่วนอุจจาระ 2 ครั้งต่อวัน

วันแรกหลังคลอด กระเพาะของลูกจะมีขนาดความจุนมได้เพียง 5-7 มล. หรือ 1/6 ถึง 1/4 ออนซ์ ส่วนวันที่ 3 จะรับได้ 22-27 มล. หรือ 3/7 ถึง 1 ออนซ์ ถ้า 7 วัน จะรับนมได้ราว ๆ 1.5 – 2 ออนซ์ แต่ถ้าครบ 30 วัน กระเพาะของเจ้าตัวน้อยจะขนาดพอ ๆ กับไข่ไก่ ต้องการน้ำนมแม่ 2.5 – 5 ออนซ์

ทําไมลูกถึงแหวะบ่อย อาการแหวะนม สำรอกนม

พญ.อรรัตน์ น้อยเพิ่ม กุมารแพทย์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ อธิบายถึงกรณีทารกแรกเกิดแหวะนมไว้ว่า 4 เดือนแรก ทารกจะแหวะนมได้ เพราะกินนมในปริมาณมากแต่ความจุของกระเพาะยังน้อย กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่สิ่งสำคัญคือ ท่าให้นมทารก ถ้าทารกอยู่ในท่านอนหงาย ก็จะยิ่งทำให้เกิดการแหวะนมได้ อาจมีอาเจียนร่วมด้วย แต่มักจะหายได้เองตอนอายุ 12 – 18 เดือน

ส่วนสิ่งที่ต้องระวัง เมื่อทารกแหวะนมคือ โรคกรดไหลย้อนในทารก เพราะของเหลวในกระเพาะอาหารจะขึ้นมาในหลอดอาหารก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่าง ๆ เช่น ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ทำให้ทารกไม่สบายได้

อาการสำลักเข้าปอด
อาการสำลักเข้าปอด

อาการแหวะนมของทารก

  • ทารกร้องไห้ งอแง
  • ไม่ยอมกินนม
  • หยุดดูดนมทั้งที่หิว
  • แหวะหรืออาเจียนมีน้ำดีหรือเลือดปน
  • ภาวะแทรกซ้อนในทางเดินหายใจ เช่น ไอ สำลัก หายใจหอบ
  • เด็กบางคนอาจไอรุนแรงจนหน้าเปลี่ยนสี

ถ้าทารกมีอาการแหวะนมมาก ๆ จะเกิดภาวะกรดไหลย้อน น้ำหนักตัวก็จะไม่ขึ้นอีกด้วย

อันตรายจากการสำลักนม

อาการสำลักนมของทารกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่สำหรับทารกบางคนนั้น อาการสำลักนมอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ เช่นเดียวกับข่าวคราว ทารกสำลักนมเสียชีวิตที่พบเห็นกันได้บ่อย ๆ เช่น กรณีของทารกวัย 1 เดือนที่สำลักนมจนเสียชีวิต นพ.สมคิด วงศ์ศิริอำนวย แพทย์ที่ทำการชันสูตรศพทารก โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ อธิบายว่า การเสียชีวิตของทารกรายนี้สันนิษฐานว่า เกิดจากการสำลักนม เพราะหลังจากที่แม่ให้นมลูก แม่ให้เด็กนอนทันทีโดยไม่ได้อุ้มเรอ ก่อนหน้านี้ เด็กก็มีอาการนอนกรนและนอนอ้าปาก ส่วนแม่ให้เด็กนอนหงาย ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงที่ไม่ถูกต้อง อยากฝากแม่ ๆ ด้วยว่า หลังการให้นมลูก จะต้องจับเรอเพื่อป้องกันการสำลักนม หากเด็กมีอาการนอนกรนต้องให้เด็กนอนตะแคง ถ้าเด็กอ้าปากในขณะนอน ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วน

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักเวลาแหวะนม

มูลนิธิศูนย์นมแม่ อธิบายว่า หลังให้นมลูกควรจับลูกเรอด้วยการจับให้เรอในท่าตั้งขึ้น จับตั้งในท่านั่งหรืออุ้มพาดบ่า ลมซึ่งอยู่สูงกว่านมในท้องก็จะออกมา ถ้าไม่ไล่ลมหรือไล่ลมได้ไม่หมด ตอนนอนลูกก็จะเรอและแหวะนม ถ้าเด็กดูดนมเร็วหรือดูดนมนานก็จะได้ลมเข้าไปเยอะ ต้องหมั่นไล่ลมออกเป็นพัก ๆ ครึ่งทางระหว่างให้ลูกกินนม หรือไล่ลมช่วงเปลี่ยนข้าง นอกจากนี้ เวลานอนอาจให้ศีรษะอยู่สูง จับตะแคงขวาสักครึ่งชั่วโมงนมก็จะไหลย้อนยาก ส่วนวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ลูกสำลัก

  1. อย่าจับลูกตั้งขึ้น
  2. จับลูกวางนอนตะแคง ศีรษะอยู่ในระดับเดียวกับลำตัวหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
  3. วิธีนี้จะทำให้น้ำนมไหลออกมาข้างนอก ไม่สำลักเข้าหลอดลมและปอด
  4. ถ้าน้ำนมค้างในรูจมูกให้เช็ดออกเพื่อป้องกันการสำลักนม

เพื่อป้องกันทารกสำลักนมเข้าปอด หรือเข้าหลอดลม คุณแม่ควรจัดท่าให้ลูกกินนมอย่างถูกต้อง แล้วจับเรอทุกครั้งหลังให้นมลูก แต่ถ้าลูกมีอาการผิดปกติ หายใจเสียงดัง ไอรุนแรง อาเจียนมีสีแปลก ๆ กลิ่นเหม็นมาก ให้รีบพาลูกมาพบแพทย์

อ้างอิงข้อมูล : thaibf.com, vichaiyut และ facebook.com/SuthiRaXeuxPhirocnKic

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

วิจัยใหม่จากต่างประเทศพบ!! ไมโครพลาสติก รั่วจากขวดนม เพราะต้มก่อนใช้

เทคนิค 5 ดูดให้ทารก ดูดนม จากเต้าได้ดี ลูกแข็งแรง แม่น้ำนมเยอะ

อย่าให้ลูกดูดขวด! ถ้ายังไม่รู้ ภาวะสับสนหัวนม

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up