AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตก อาการเป็นแบบไหน? และควรทำอย่างไร!!

น้ำเดิน

พอได้ยินคำว่า น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตก ฟังดูน่ากลัวไม่น้อยสำหรับคุณแม่ท้องมือใหม่ เพราะนึกภาพไว้ว่าคงจะแตกเหมือนลูกโป่งที่บรรจุน้ำไว้เต็มแล้วแตกดังโพละ แต่ความจริงนั้น น้ำคร่ำแตก อย่างไร แบบไหน เราจะไขข้อสงสัยให้ค่ะ

น้ำเดิน น้ำคร่ำแตก อาการเป็นแบบไหน? และควรทำอย่างไร!!

คุณแม่ท้องเคยเห็นฉาก น้ำคร่ำแตก ในหนังกันไหมคะ ในหนังในละครมักจะทำให้ฉากนี้ดูตื่นเต้น และวุ่นวายไปหมด มีน้ำไหลนองเจิ่งพื้นดูน่ากลัว พร้อมเพลงประกอบแบบหนังสยองขวัญ แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้ามเลย เรามาดูกันว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์น้ำคร่ำแตก จะเป็นอย่างไร และควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

มีอะไรในน้ำคร่ำ

น้ำคร่ำ คือน้ำที่อยู่ล้อมรอบตัวลูกน้อยในครรภ์ เป็นน้ำที่บรรจุอยู่ในถุงน้ำคร่ำ โดยองค์ประกอบที่สำคัญของน้ำคร่ำก็คือ น้ำ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 98% และส่วนที่เป็นของแข็งประกอบด้วยสารต่างๆ ประมาณ 2% ซึ่งรวมทั้งขี้ไคลและปัสสาวะของลูกน้อยในครรภ์ และในระหว่างการตั้งครรภ์น้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวลูกนี้จะสร้างเพิ่มขึ้นมาทีละน้อย โดยมีปริมาณดังนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม น้ำคร่ำแตกบอกอะไร คลิกต่อหน้า 2

 

หน้าที่ของน้ำคร่ำ

น้ำคร่ำมีประโยชน์หลายด้าน คือ เป็นแหล่งอาหาร เป็นตัวปรับอุณหภูมิในมดลูกให้เหมาะสม ทั้งช่วยเป็นตัวกันการกระทบกระเทือนของลูกในท้อง เป็นแหล่งระบายของเสียของลูก น้ำคร่ำจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์ดำรงชีวิตอยู่ในท้องคุณแม่ได้อย่างปลอดภัย

น้ำเดิน บ่งบอกอะไร

การที่มีน้ำคร่ำไหลออกมา เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยของเราพร้อมออกมาทักทายโลกแล้วค่ะ ไม่ว่าขณะนั้นจะถึงกำหนดคลอดหรือไม่ก็ตาม แต่เจ้าหนูพร้อมแล้ว

ยังไม่ถึงวันคลอด น้ำคร่ำก็แตกเสียแล้ว

ทำไมน้ำคร่ำจึงไหลออกมาก่อนกำหนดนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภาวะต่างๆ เช่น ติดเชื้อ เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด ตั้งครรภ์แฝด ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ คุณแม่สูบบุหรี่ รวมถึงเกิดจากสมองของทารกส่งสัญญาณว่าถึงเวลาแล้ว

 สิ่งที่ควรรู้เมื่อน้ำเดิน น้ำคร่ำแตก

1. อย่าตื่นตระหนกค่ะ

2. ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าน้ำที่ไหลออกมานั้นเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะ โดยดูที่สีและกลิ่น

3. หากน้ำเป็นน้ำคร่ำ น้ำที่ไหลออกมาจะไม่มีสีและไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นหวานนิดๆ

4. หากเป็นปัสสาวะ จะเป็นน้ำมีสีเหลืองและมีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย

5. น้ำคร่ำจะ “ไม่” ไหลมาเหมือนน้ำในเขื่อนทะลัก เพราะน้ำคร่ำจะค่อยๆ ไหลออกมาช้าๆ เรื่อยๆ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ควรทำอย่างไร เมื่อน้ำคร่ำแตก คลิกต่อหน้า 3

6. เวลาที่ น้ำเดิน น้ำคร่ำแตก น้ำคร่ำจะค่อยๆ ไหลออกมาช้าๆ ดังนั้นคุณแม่จึงมีเวลาในการเตรียมตัวไปโรงพยาบาล เพราะอาการเจ็บท้องคลอดมักจะยังไม่เกิดขึ้นทันที แต่จะเกิดขึ้นหลังจากน้ำคร่ำแตกประมาณ 12-24 ชั่วโมง แต่หากเลยกว่านี้อาจจะเกิดการติดเชื้อได้ แพทย์จึงมักกระตุ้นให้คลอดภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ

เมื่อน้ำเดิน น้ำคร่ำแตก ต้องเตรียมตัวไปโรงพยาบาล

7. ใส่ผ้าอนามัย ป้องกันน้ำคร่ำเลอะเทอะได้ระหว่างเตรียมตัวไปโรงพยาบาล หากกลัวว่าน้ำคร่ำจะไหลเลอะเทอะ ให้คุณแม่ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยการเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง และใส่ผ้าอนามัย (ห้ามใช้แบบสอด) ก็จะช่วยป้องกันการเลอะเทอะได้

8. หมั่นสังเกตสีของน้ำคร่ำ คุณแม่ควรหมั่นสังเกตสีของน้ำคร่ำที่ออกมาด้วย เพื่อจะได้พบความผิดปกติต่างๆ โดยหากสังเกตว่าน้ำคร่ำมีสีที่ผิดปกติ เช่น มีสีเขียวหรือสีน้ำตาล เรียกว่า น้ำคร่ำขี้เทา แสดงว่าลูกในท้องได้มีการขับถ่ายกากอาหารออกมา ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงว่าลูกน้อยอาจสำลักน้ำคร่ำจนเป็นอันตรายได้

9. เช็กว่ามีสายสะดือออกมาหรือไม่อีกข้อสังเกตหนึ่งที่คุณแม่ควรสังเกตหลังน้ำคร่ำแตก คือมีสายสะดือออกมาจากช่องคลอดหรือไม่ หากเห็นว่ามีควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ

น้ำเดิน น้ำคร่ำแตก เพราะถึงกำหนดคลอด

คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะรู้วันกำหนดคลอดจากแพทย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้คลอดวันนั้นเป๊ะๆ บางคนอาจคลอดก่อน หรือหลายคนคลอดหลังจากกำหนดไปหลายวัน มีคุณแม่ท้องกว่าครึ่งหนึ่งที่คลอดหลังจาก 40 สัปดาห์ แต่คุณหมอมักไม่ปล่อยให้เลยไปเกิน 42 สัปดาห์ ดังนั้นเมื่อกลไกธรรมชาติได้เริ่มทำงาน มีน้ำคร่ำไหลออกมา แสดงว่าเจ้าหนูน้อยอยากจะออกมาให้คุณแม่กอดแล้วล่ะค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

17 ผลไม้คลายร้อน ลูกน้อยกินได้ แม่ท้องกินดี

คุณแม่ท้องห้ามกินอะไรบ้าง?

ทำนายเพศลูก ตำราจีน แม่นหรือไม่? แม่ท้องต้องลอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids