AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เจาะน้ำคร่ำ คัดกรองแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง!

เจาะน้ำคร่ำ คัดกรองแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง

การเจาะน้ำคร่ำ เป็นการเจาะเพื่อตรวจความผิดปกติของโครโมโซม แต่ก็สามารถ เจาะน้ำคร่ำ ได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น เมื่อมีน้ำเดินก่อนกำหนดแพทย์จะเจาะน้ำคร่ำ เพื่อวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือตรวจว่าปอดเด็กแข็งแรงเพียงพอหรือยัง

น้ำคร่ำคืออะไร

น้ำคร่ำก็คือของเหลว ใส สีเหลืองอ่อนที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ ส่วนประกอบของน้ำคร่ำประกอบไปด้วยน้ำ 98% และสารต่างๆอีก 2% ซึ่งจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดออกมาปนอยู่ด้วย เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด (40 สัปดาห์) จะมีปริมาณของน้ำคร่ำประมาณ 1,000 ml. ที่ล้อมรอบทารกอยู่ น้ำคร่ำจะไหลเวียนโดยการเคลื่อนไหวตัวของทารกทุกๆ 3 ชั่วโมง

ประโยชน์ของน้ำคร่ำ

ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ เจาะน้ำคร่ำ

การเจาะน้ำคร่ำเป็นการตรวจคัดกรองที่จะทำเฉพาะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์  ดังต่อไปนี้

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ มีอายุครบ 35 ปี หรือมากกว่าที่วันครบกำหนดคลอด
  2. เคยคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
  3. มีประวัติการแท้งซ้ำซาก
  4. ตรวจพบสารชีวเคมีในเลือดผิดปกติ
  5. ตรวจพบความพิการของทารกในครรภ์
  6. ตรวจพบเป็นคู่สมรสที่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคเลือดจากธาลัสซีเมีย
  7. เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซม เช่นโรค Down syndrome, cystic fibrosis
  8. เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในน้ำคร่ำ
  9. เพื่อประเมินความแรงของปอดของทารก
  10. ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง)

การตรวจน้ำคร่ำในการตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอดสามารถใช้วินิจฉัยปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาของกลุ่มเลือด หรือ การติดเชื้อ  และยังช่วยบอกถึงความพร้อมของทารกว่าเติบโตเต็มที่ ปอดสมบูรณ์พอที่จะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หากเกิดการคลอดก่อนกำหนด

อ่านวิธีการตรวจและผลข้างเคียงของการเจาะน้ำคร่ำ

พร้อมชมคลิปของจริง >> วิธีการตรวจเจาะน้ำคร่ำ แบบให้เห็นกันชัดๆ คลิกเลยค่ะ

วิธีการตรวจเจาะน้ำคร่ำ

  1. เจ้าหน้าที่พยาบาลให้คำปรึกษาและแนะนำขั้นตอนการตรวจให้เข้าใจก่อนตรวจ
  2. นอนบนเตียงตามสบาย เปิดเสื้อผ้าบริเวณท้องน้อยออก ไม่เกร็ง
  3. แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอน จำนวนของทารก การเต้นของหัวใจ ท่าและตำแหน่งของทารก ตำแหน่งของรก ว่าอยู่ที่ตรงไหนเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มแทงไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก
  4. ก่อนเจาะแพทย์จะเตรียมผิวหนังหน้าท้องบริเวณที่จะเจาะโดยทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อ บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดใต้ผิวหนัง
  5. แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ยาวๆ เจาะผ่านผนังหน้าท้อง ผ่านลงไปที่มดลูก เข้าไปในถุงน้ำคร่ำแล้วดูดเอาน้ำคร่ำปริมาณ 15 -30 ml. (1ml. / อายุครรภ์ 1 สัปดาห์) ออกมานำไปปั่นหาเซลล์ของทารก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมต่อไป

การเจาะน้ำคร่ำใช้เวลาเพียง 2 –3 นาที คุณแม่สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนพักที่โรงพยาบาล ภายใน 12 ชั่วโมงร่างกายจะสร้างน้ำคร่ำมาทดแทนได้เหมือนเดิม

การเจาะน้ำคร่ำอาจมีความรู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มแทงสัก 2 -3 วินาที แต่เมื่อเข็มแทงผ่านลงไปแล้วความรู้สึกนั้นก็จะหายไป ความกลัวเข็มและเกร็งหน้าท้องขณะทำจะทำให้เจ็บมากขึ้น คุณแม่บางท่านจะมีความรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณท้องน้อยขณะที่มีการดูดน้ำคร่ำออกไป หลังจากเจาะน้ำคร่ำเสร็จแล้วบางรายอาจรู้สึกเกร็งเล็กน้อย การนอนพักสักระยะจะทำให้ดีขึ้น ผลการตรวจจะทราบภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเซลล์ และขั้นตอนในห้องปฏิบัติการ

ผลข้างเคียงและความเสี่ยงของการเจาะน้ำคร่ำ

การปฏิบัติตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์หลังการเจาะน้ำคร่ำ

การแจ้งผลการตรวจ

ผลการตรวจจะเสร็จสิ้นภายใน 4 สัปดาห์  สูติแพทย์ จะนัดทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และคู่สมรสมาร่วมรับฟังผลการตรวจน้ำคร่ำ หากพบว่า ผลผิดปกติ คู่สมรสต้องตัดสินใจร่วมกันว่า จะยุติการตั้งครรภ์ครั้งนี้หรือไม่  หรือต้องการตั้งครรภ์ต่อ โดยสูติแพทย์ จะไม่ชี้นำให้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคู่สมรสเท่านั้น

เจาะน้ำคร่ำดีไหม ไม่มีใครตอบแทนคุณได้  ดังนั้นก่อนตัดสินใจ  ลองทบทวนเหตุและผลของเรื่องนี้เฉพาะกรณีของคุณ และผลของการตัดสินใจนั้นไม่มีใครรู้ว่าจะใช่สิ่งที่ดีที่สุดหรือไม่  แต่ขอให้มั่นใจว่าหากคุณตัดสินใจบนพื้นฐานของสติและปัญญา  นั่นคือ “การลงทุนในเหตุ ปล่อยวางในผล”  ตัดสินใจอย่างไร  ก็ปล่อยวางเสีย อย่าให้เรื่องนี้กลายเป็นความเครียดนานจนทำลายเวลาสำคัญของคุณและลูก

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง? ตั้งแต่ตั้งครรภ์ถึงการคลอดลูก

ดาวน์ซินโดรม รู้ล่วงหน้า..หยุดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์

น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม


ขอบคุณข้อมูลจาก :   www.siamhealth.net

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : DragonTonsai