AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตัวย่ออัลตร้าซาวด์ มีความหมายและบอกอะไรเกี่ยวกับทารกในครรภ์ได้บ้าง?

ความหมายอักษร ตัวย่ออัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องต้องรู้

ตัวย่ออัลตร้าซาวด์ …การอัลตร้าซาวด์ เป็นตรวจดูการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ และการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิด โดยก่อให้ไม่เกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยทางสูติศาสตร์ที่ปลอดภัยมากที่สุดอย่างหนึ่ง

ซึ่งเมื่อคุณหมอตรวจเสร็จก็จะปริ้นใบรายงานการอัลตร้าซาวด์อกมาให้คุณแม่ดู และเมื่อคุณแม่หลายคนเอาใบรายงานการอัลตร้าซาวด์กลับไปดูเองที่บ้าน หลายคนก็มักสงสัยในตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษต่างๆ ว่าหมายถึงอะไรบ้าง Amarin Baby & Kids จึงจะพาคุณแม่และคุณพ่อมารู้จักวิธีอ่าน ความหมายอักษรย่ออัลตร้าซาวด์ ว่าอักษรย่อเหล่านั้นบอกอะไรได้บ้างเกี่ยวกับลูกน้อยในครรภ์

ความหมายอักษร ตัวย่ออัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องต้องรู้

อัลตร้าซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5 – 7 megahertz ที่ปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (Transducer) ที่สัมผัสกับผนังหน้าท้องของแม่ คลื่นเสียงจะไปตกกระทบที่เนื้อเยื่อแล้วสะท้อนกลับมา เครื่องก็จะอ่านผลเป็นความเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ ภาพที่แสดงให้เห็นทางจอภาพจะแสดงในรูปแบบของจุด (Pixel) เช่น ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นมาก เช่น กระดูก ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีขาว ถ้าเป็นเนื้อเยื่อก็จะเป็นส่วนที่มืดมากขึ้น ถ้าเป็นของเหลวก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น ทั้งนี้การตรวจอัลตร้าซาวด์ในขณะตั้งครรภ์คลื่นเสียงจะผ่านผนังหน้าท้องของแม่ ไปยังทารกในครรภ์ แล้วสะท้อนกลับมาสร้างเป็นภาพให้เห็นทางจอภาพ ซึ่งจะไม่เหมือนกับการ x-ray ตรงที่ใช้คลื่นเสียงแทนรังสี โดยจะปลอดภัยสำหรับแม่และเด็กกว่านั่นเอง

การตรวจทารกในครรภ์ด้วยการอัลตร้าซาวด์ ช่วยให้คุณหมอได้เห็นถึงขนาดและอายุครรภ์ รวมถึงเพศ ปริมาณน้ำคร่ำ ตำแหน่งของรก รวมถึงความผิดปกติของอวัยวะสำคัญใหญ่ ๆ ของทารกในครรภ์ด้วย โดยนิยมทำอัลตร้าซาวด์หลังอายุครรภ์ 8 สัปดาห์ เพราะรูปร่างภายนอกของตัวอ่อนโค้งงอ มีการเปลี่ยนแปลงไปจนมีลักษณะคล้ายมนุษย์แล้วนั่นเอง ส่วนการทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูเพศทารก สามารถทำได้ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

ในปัจจุบันเทคโนโลยีการอัลตร้าซาวด์มีหลายแบบ ทั้งแบบสองมิติ สามมิติ และสี่มิติ  ซึ่งจะให้ความคมชัดแตกต่างกันตามลำดับ ทั้งนี้ การวินิจฉัยความผิดปกติหลักของโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ จะใช้อัลตร้าซาวด์แบบสองมิติเป็นหลัก ส่วนแบบสามมิติและสี่มิตินั้น จะใช้ในการสังเกตรูปร่างทารกในครรภ์เพราะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนการจะเลือกอัลตร้าซาวด์แบบกี่มิตินั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รวมถึงวิจารณญาณจากแพทย์

ชนิดของ Ultrasound

ชนิดของ ultrasound มีด้วยกัน 7 ชนิด แต่หลักการทำงานเหมือนกัน

ประโยชน์ของการอัลตร้าซาวด์

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนไม่จำเป็นต้องใช้อัลตร้าซาวด์ ในการตรวจเสมอไป แพทย์จะใช้ตรวจในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เพื่อค้นหาปัญหาและติดตามการเจริญเติบโตของทารกเท่านั้นเอง

♥ บทความแนะนำน่าอ่านอัลตร้าซาวด์ มีประโยชน์มากกว่าที่คิด!

อ่านต่อ >> ความหมายตัวย่ออักษร ต่างๆ บนผลอัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีการตรวจ อัลตร้าซาวด์

สำหรับการทำอัลตร้าซาวด์ กับแม่ท้อง เป็นการอัลตร้าซาวด์แบบ Lower Abdomen โดยคุณแม่ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ยกเว้นแต่เมื่อคุณหมอสั่ง ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่ ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นมดลูกและอวัยวะบริเวณท้องน้อยชัดเจน โดยคุณหมอจะเปิดหน้าท้องแล้วใช้ครีมทาหน้าท้อง (เพื่อให้มีความลื่น) และใช้หัวนำเสียงวางบนครีม เพื่อเลื่อนตรวจดูทารกในครรภ์ในตำแหน่งต่างๆ

วิธีอ่านผลอัลตร้าซาวด์

  1. CRL = การวัดความยาวของทารก
  2. BPD = การวัดความกว้างของศีรษะทารก
  3. HC = การวัดเส้นรอบวงศีรษะ
  4. AC = การวัดเส้นรอบท้อง
  5. FL = การวัดความยาวกระดูกต้นขา
  6. AFI = การวัดน้ำคร่ำ
  7. EFW = การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ Single คือครรภ์เดี่ยว multiple คือครรภ์แฝด
  8. LMP = วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย
  9. EDD หรือ EDC = วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คำนวณจาก LMP
  10. GA = อายุครรภ์

คำศัพท์ที่พบบ่อยในใบตรวจ

Gestational sac คือ ถุงการตั้งครรภ์

Fetal cardiac pulsation คือ อัตราการเต้นของหัวใจทารก

Placental site คือ ตำแหน่งรก

Placental grading คือ ลักษณะเนื้อรก

Quickening คือ ประวัติเด็กดิ้นครั้งแรก

Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์

การวัดสัดส่วนทารกในครรภ์สำหรับสูติแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (Fetal Biometry for Obstetrician and General Practitioners)
ที่มา : ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา / ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ

 

1. CRL การวัดความยาวของทารก (Crown-Rump Length)

ความยาวของทารกคือ ระยะที่ยาวที่สุดของตัวอ่อนหรือทารก โดยวัดความยาวจากยอดศีรษะ (crown) ถึงส่วนล่างสุดของสะโพก (rump) โดยไม่วัดรวมส่วนแขนขา (limbs) และถุงไข่แดง (yolk sac) การวัดความยาวของทารกมีประโยชน์ในการทำนายอายุครรภ์ได้ดีในไตรมาสแรก ซึ่งถือว่าเป็นตัววัดที่แปรปรวนน้อยและมีความถูกต้องแม่นยำในการทำนายอายุครรภ์มากที่สุด

ความถูกต้องแม่นยำ

การวัดความยาวของทารกมีประโยชน์ในการทำนายอายุครรภ์ได้ดีโดยเฉพาะอายุครรภ์ 6 – 14 สัปดาห์ และมีความแม่นยำมากที่สุดในช่วงอายุครรภ์ 6.5 – 10 สัปดาห์ ความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์จากการวัดเพียงหนึ่งครั้งเท่ากับ 4.7 วัน และหากวัดสามครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยจะพบความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์เพียง 2.7 วัน

ความถูกต้องในการทำนายอายุครรภ์จะลดลงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเนื่องจากทารกมักจะงอตัวหรือเหยียดตัวได้บ่อยขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป และหลังอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ไปแล้วทารกจะมีขนาดยาวเกินไปจนไม่สามารถวัดได้ตลอดแนวจากภาพเดียว

2. BPD การวัดความกว้างของศีรษะทารก (Biparietal Diameter)

เป็นการวัดสัดส่วนของทารกที่ใช้บ่อยที่สุดตัวหนึ่งในการทำนายอายุครรภ์ สามารถวัดได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สองเป็นต้นไป นำมาใช้เพื่อประเมินอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุครรภ์ 14 ถึง 28 สัปดาห์

ความถูกต้องแม่นยำ

ความถูกต้องของการวัดความกว้างของศีรษะทารกในการทำนายอายุครรภ์ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และรูปร่างของศีรษะที่ผิดไปจากปกติ หากวัดก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์เท่ากับ 7 วัน หากวัดช่วงอายุครรภ์หลัง 20 สัปดาห์ความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์เท่ากับ 7 – 11 วัน หรือ 1 – 2 สัปดาห์ และหากวัดในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ความคลาดเคลื่อนมีได้สูงถึง 2 – 4 สัปดาห์

3. HC การวัดเส้นรอบวงศีรษะ (Head Circumference)

นำมาใช้ประเมินอายุครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ มีความสำคัญในกรณีที่รูปร่างของศีรษะผิดไปจากปกติจนทำให้การประเมินอายุครรภ์จากความกว้างของศีรษะทารกคลาดเคลื่อนไป เนื่องจากเป็นตัววัดที่ไม่ขึ้นกับรูปร่างของศีรษะมากเท่าความกว้างของศีรษะทารก

ความถูกต้องแม่นยำ

ค่าเส้นรอบวงศีรษะเป็นตัววัดที่น่าเชื่อถือตัวหนึ่งในการทำนายอายุครรภ์ ในทางทฤษฎีใช้ทำนายอายุครรภ์ได้ดีกว่าค่าความกว้างของศีรษะทารก เนื่องจากไม่ขึ้นกับรูปร่างของศีรษะทารก แต่ในทางปฏิบัติแล้วการวัดความกว้างของศีรษะทารกทำได้ง่ายกว่า บ่อยครั้งในการวัดเส้นรอบวงศีรษะพบเงาดำ (acoustic shadow) บดบังทำให้ภาพไม่ชัดเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัด ทำให้ความถูกต้องแม่นยำน้อยกว่าค่าความกว้างของศีรษะทารก

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยช่วงอายุแรกเกิด - 5 ปี

อ่านต่อ >> ความหมายตัวย่ออักษร ต่างๆ บนผลอัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4. AC การวัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference)

สามารถนำมาใช้เพื่อประเมินอายุครรภ์ได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะโภชนาการของทารกได้จึงทำให้การทำนายอายุครรภ์คลาดเคลื่อนได้มากกว่าตัววัดอื่นๆ ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงนิยมนำมาใช้เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์มากกว่าใช้เพื่อทำนายอายุครรภ์

ความถูกต้องแม่นยำ

การวัดเส้นรอบท้องเป็นการวัดที่มีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด เนื่องจากเทคนิคการวัดให้ได้ภาพที่ดีทำได้ยาก บางครั้งรูปร่างของท้องไม่กลม หรือบิดเบี้ยวไปจากการมีแขนขาทารกกดหน้าท้อง การใช้หัวตรวจกดหน้าท้องมารดาแรงเกินไป หรือวางหัวตรวจเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น นอกจากนี้หากทารกอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น ทารกนอนคว่ำ ตำแหน่งของกระดูกไขสันหลังอยู่ที่ 12 นาฬิกา จะทำให้เกิดเงาดำ (acoustic shadow) บดบังอวัยวะภายในทำให้มองไม่เห็นลักษณะสำคัญต่างๆ ดังกล่าว

ทั้งนี้การวัดเส้นรอบท้อง อาจนำมาใช้ในการประเมินอายุครรภ์ได้ไม่ดีนัก แต่สามารถนำมาใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตและน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้ดีเนื่องจากขนาดเส้นรอบท้องมีความสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดตัวของทารก

5. FL การวัดความยาวกระดูกต้นขา (Femur Length)

กระดูกท่อนยาวทุกท่อนสามารถนำมาใช้เพื่อทำนายอายุครรภ์ได้ แต่กระดูกต้นขาเป็นกระดูกที่นิยมวัดเพื่อใช้ประเมินอายุครรภ์มากที่สุด

ความถูกต้องแม่นยำ

ความคลาดเคลื่อนในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์เท่ากับ 1 – 2 สัปดาห์ และความคลาดเคลื่อนในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์เท่ากับ 2 – 3 สัปดาห์ แต่ในบางการศึกษาพบความคลาดเคลื่อน 2 – 3 สัปดาห์ตลอดทุกอายุครรภ์

ความคลาดเคลื่อนจากการวัดความยาวของกระดูกต้นขาอาจเกิดจากหัวตรวจที่วัดไม่ตั้งฉากกับแนวยาวของกระดูกต้นขา ทำให้ค่าที่ได้สั้นกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้เชื้อชาติยังมีผลต่อค่าความยาวของกระดูกต้นขา ในคนไทยพบว่า FL สั้นกว่าชาวตะวันตกในทุกอายุครรภ์(14)

6. AFI การวัดน้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Index)

คือการประเมินน้ำคร่ำในเชิงปริมาณ แตกต่างจากการประเมินด้วยความรู้สึก (subjective) หรือการใช้ประสบการณ์ของผู้ตรวจประเมินว่ามีน้ำคร่ำมาก น้อยหรือปกติ ซึ่งใช้เวลาน้อยแต่ต้องอาศัยทักษะและมีความแปรปรวนระหว่างบุคคลมาก และเมื่อรู้สึกว่าน้ำคร่ำผิดปกติต้องตรวจยืนยันด้วยการวัดน้ำคร่ำในเชิงปริมาณต่อไป

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีสังเกต! น้ำคร่ำแตก หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่?

7. EFW การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimated Fetal Weight)

การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ใช้การวัดสัดส่วนต่างๆ ของทารกมาคำนวณ โดยมีสูตรที่ใช้ตัววัดหลายตัวร่วมกันดังต่อไปนี้

AC

AC, BPD

AC, HC

AC, FL

AC, BPD, FL

AC, HC, BPD, FL

โดยสามารถนำมาคำนวณโดยใช้สูตรที่มีในเครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์ทั่วไป หรือใช้ตารางค่ามาตรฐานในการเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่าทุกสูตรจะใช้ค่าเส้นรอบท้องเป็นพื้นฐานในการคำนวณร่วมกับตัววัดมาตรฐานอื่นๆ ความแม่นยำในการคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์จึงขึ้นอยู่กับการวัดสัดส่วนทารกที่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดเส้นรอบท้อง, การวัดความกว้างของศีรษะ และการวัดเส้นรอบศีรษะ จะมีผลอย่างมากในการคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์

การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์มักจะทำนายน้ำหนักได้มากกว่าความเป็นจริงในกรณีทารกตัวโตกว่าอายุครรภ์ แต่ในกรณีทารกตัวเล็กหรือมีภาวะน้ำคร่ำเดินก่อนกำหนดมักจะทำนายน้ำหนักได้น้อยกว่าความเป็นจริง ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความแม่นยำในการทำนายน้ำหนักทารกในครรภ์มีดังต่อไปนี้คือ

ขีดจำกัดในการประเมินความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทารก (fetal density) อันเนื่องมาจากความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทารกนี้จะมีค่าระหว่าง 0.8333 – 1.012 g/ml ทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำนายน้ำหนักทารกในครรภ์เนื่องจากความแตกต่างในความหนาแน่นดังกล่าวนี้ได้ถึง 8% – 21%

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง

อ่านต่อ >> ความหมายตัวย่ออักษร ต่างๆ บนผลอัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 4

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

8. LMP วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย (Last Menstrual Period)

ประจำเดือนครั้งสุดท้าย หมายถึง อายุของลูกน้อยในครรภ์ ในสาขาวิชาคัพภวิทยาหรือวิชาที่ว่าด้วยการพัฒนาของตัวอ่อน จะเริ่มนับอายุของตัวอ่อนจากการปฏิสนธิ แต่ในสาขาวิชาสูติศาสตร์จะใช้วิธีการนับจากเวลา 14 วันก่อนการปฏิสนธิ หรือเวลาที่ปกติแล้วจะต้องมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีที่สองในการนับอายุครรภ์เพราะว่ามักจะไม่รู้ เวลาของการปฏิสนธิที่แน่นอน

9. EDD หรือ EDC วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ (Expected date of delivery)

เมื่อไปตรวจครรภ์ คุณหมอจะแจ้งให้คุณแม่ท้องทราบว่าตอนนี้อายุครรภ์ของตัวเองนั้นกี่สัปดาห์แล้ว โดยจะมีการนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์และเศษของสัปดาห์เป็นวัน เช่น 4 สัปดาห์ 2 วัน ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ท้องนั่นเอง

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ตั้งครรภ์เกินกำหนด อย่าชะล่าใจ นั่นหมายถึง ครรภ์เสี่ยงสูง

หลังจากที่คุณหมอทราบข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่แล้ว คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ด้วยการคำนวณวันกำหนดคลอด หรือที่เรียกว่า Expected date of delivery = EDD หรือ Expected date of conifinement = EDC การคาดคะเนวันกำหนดคลอด คือ เอาวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวก 7 วัน ลบด้วย 3 เดือน ก็จะเป็นวันกำหนดคลอด เช่น ถ้าประจำเดือนครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 กำหนดคลอด จะเป็น 17 เมษายน 2559 ซึ่งคุณหมอจะมีการนับอายุครรภ์ให้คุณแม่ท้องได้ใน 2 ลักษณะ คือ

ซึ่งสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคุณหมอ และก็ตัวของคุณแม่ท้องเอง นั่นก็คือ การจดทุกรายละเอียดของการมีรอบเดือนในแต่ละครั้ง คือเริ่มมีวันไหนของเดือน มีรอบเดือนแต่ละครั้งกี่วัน และรอบเดือนมาวันสุดท้ายคือวันไหน เพราะข้อมูลที่ได้เหล่านี้จำเป็นต่อการที่คุณหมอจะใช้ในการนับอายุครรภ์นั่นเอง

10. GA การคำนวณอายุครรภ์

GA ย่อมาจาก Gestational age หมายถึงอายุครรภ์ ซึ่งในการคำนวณอายุครรภ์จากการวัดสัดส่วนทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีความแม่นยำมากในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และจะมีความคลาดเคลื่อนสูงมากขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากไม่แน่ใจในอายุครรภ์ควรตรวจวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดความยาวของทารกในไตรมาสแรกซึ่งมีความแม่นยำในการคำนวณอายุครรภ์มากที่สุด

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีนับอายุครรภ์ ที่ถูกต้องแม่นยำ ที่แม่ท้องควรรู้!

การเลือกใช้ตัววัดแต่ละตัวในการคำนวณอายุครรภ์มีความสำคัญ เนื่องจากตัววัดแต่ละตัวมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณอายุครรภ์แต่ละช่วงแตกต่างกันไป

การคำนวณอายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ขึ้นไปควรประเมินจากตัววัดหลายตัวจะมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการประเมินจากตัววัดตัวเดียว แต่ตัววัดแต่ละตัวที่นำมาใช้ร่วมกันนั้นต้องมีความถูกต้องในด้านเทคนิคของการวัดและไม่ถูกกระทบจากความผิดปกติของทารก เช่นการนำค่าเส้นรอบท้องมาใช้ทำนายอายุครรภ์ในกรณีทารกตัวโตผิดปกติหรือมีภาวะโตช้าในครรภ์, การนำค่าความยาวกระดูกต้นขามาใช้คำนวณอายุครรภ์ในกรณีทารกเป็นโรค skeletal dysplasia หรือการนำค่าความกว้างศีรษะทารกและค่าเส้นรอบศีรษะทารกมาใช้คำนวณอายุครรภ์ในกรณีทารกมีภาวะ hydrocephalus จะทำให้การคำนวณอายุครรภ์ผิดพลาดได้

การคำนวณอายุครรภ์จากการวัดสัดส่วนทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น หากทราบอายุครรภ์จากการปฏิสนธิแน่นอนควรนับอายุครรภ์ตามนั้นไม่ควรเปลี่ยนแปลงอายุครรภ์ไปตามการวัดสัดส่วนทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และหากเคยได้รับการคำนวณอายุครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์มาเป็นอย่างดีแล้ว ควรนับอายุครรภ์ตามนั้นไม่ควรเปลี่ยนแปลงอายุครรภ์ไปตามการวัดทางคลื่นเสียงความถี่สูงในครั้งต่อๆ มา เนื่องจากความคลาดเคลื่อนจากเทคนิคการวัดมีมากขึ้นและได้รับผลกระทบจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

ซึ่งทั้งหมดนี้ จากผลการอัลตร้าซาวด์ ในแต่ละครั้งโดยรวมแล้ว คุณหมอผู้ที่ทำการอัลตร้าซาวด์จะต้องอธิบายเพิ่มเติมด้วยอยู่แล้วในขณะตรวจค่ะ หากคุณแม่ท้องสงสัยอะไรก็สามารถสอบถามคุณหมอได้เลย ณ ขณะนั้น แต่หากกลับมาบ้านนั่งดูผลแล้วยังสงสัยหรือจำไม่ได้ว่าภาพนี้คุณหมอตรวจอะไรลูกในท้องของเราไปบ้าง ก็สามารถเช็กความหมาย คำอธิบาย ตามข้อมูลข้างต้นได้เลยนะคะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.medicine.cmu.ac.th

เอกสารอ้างอิง

Robinson HP, Fleming JE. A critical evaluation of sonar “crown-rump length” measurements. Br J Obstet Gynaecol 1975; 82: 702-10.

Hadlock FP, Harrist RB, Martinez-Poyer J. How accurate is second trimester fetal dating? J Ultrasound Med 1991; 10: 557-61.

Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal biparietal diameter: rational choice of plane of section for sonographic measurement. AJR Am J Roentgenol 1982; 138: 871-4.

Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal biparietal diameter: a critical re-evaluation of the relation to menstrual age by means of real-time ultrasound. J Ultrasound Med 1982; 1: 97-104.

Benson CB, Doubilet PM. Sonographic prediction of gestational age: accuracy of second- and third-trimester fetal measurements. AJR Am J Roentgenol 1991; 157: 1275-7.

Hadlock FP, Deter RL, Carpenter RJ, Park SK. Estimating fetal age: effect of head shape on BPD. AJR Am J Roentgenol 1981; 137: 83-5.

Jeanty P, Cousaert E, Hobbins JC, Tack B, Bracken M, Cantraine F. A longitudinal study of fetal head biometry. Am J Perinatol 1984; 1: 118-28.

Doubilet PM, Greenes RA. Improved prediction of gestational age from fetal head measurements. AJR Am J Roentgenol 1984; 142: 797-800.

Chitty LS, Altman DG, Henderson A, Campbell S. Charts of fetal size: 2. Head measurements. Br J Obstet Gynaecol 1994; 101: 35-43.

Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal head circumference: relation to menstrual age. AJR Am J Roentgenol 1982; 138: 649-53.

Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal abdominal circumference as a predictor of menstrual age. AJR Am J Roentgenol 1982; 139: 367-70.

Hadlock FP, Harrist RB, Deter RL, Park SK. Fetal femur length as a predictor of menstrual age: sonographically measured. AJR Am J Roentgenol 1982; 138: 875-8.

Jeanty P, Rodesch F, Delbeke D, Dumont JE. Estimation of gestational age from measurements of fetal long bones. J Ultrasound Med 1984; 3: 75-9.

Tongsong T, Wanapirak C, Takapijitr A. Ultrasound fetal femur length in normal pregnant Thai women. Thai J Obstet Gynaecol 1991; 3: 79-83.

Manning FA. Dynamic ultrasound-based fetal assessment: the fetal biophysical profile score. Clin Obstet Gynecol 1995; 38: 26-44.

Hill LM, Breckle R, Thomas ML, Fries JK. Polyhydramnios: ultrasonically detected prevalence and neonatal outcome. Obstet Gynecol 1987; 69: 21-5.

Magann EF, Sanderson M, Martin JN, Chauhan S. The amniotic fluid index, single deepest pocket, and two-diameter pocket in normal human pregnancy. Am J Obstet Gynecol 2000; 182: 1581-8.

Phelan JP, Park YW, Ahn MO, Rutherford SE. Polyhydramnios and perinatal outcome. J Perinatol 1990; 10: 347-50.

Magann EF, Doherty DA, Chauhan SP, Busch FW, Mecacci F, Morrison JC. How well do the amniotic fluid index and single deepest pocket indices (below the 3rd and 5th and above the 95th and 97th percentiles) predict oligohydramnios and hydramnios? Am J Obstet Gynecol 2004; 190: 164-9.

Chau AC, Kjos SL, Kovacs BW. Ultrasonographic measurement of amniotic fluid volume in normal diamniotic twin pregnancies. Am J Obstet Gynecol 1996; 174: 1003-7.

Porter TF, Dildy GA, Blanchard JR, Kochenour NK, Clark SL. Normal values for amniotic fluid index during uncomplicated twin pregnancy. Obstet Gynecol 1996; 87: 699-702.

Hill LM, Krohn M, Lazebnik N, Tush B, Boyles D, Ursiny JJ. The amniotic fluid index in normal twin pregnancies. Am J Obstet Gynecol 2000; 182: 950-4.

Jeanty P. Fetal biometry. 6th ed. Fleischer A, Manning FA, Jeanty P, Romero R, editors. Stamford: McGraw-Hill; 2001.

Ben-Haroush A, Yogev Y, Bar J, Mashiach R, Kaplan B, Hod M, et al. Accuracy of sonographically estimated fetal weight in 840 women with different pregnancy complications prior to induction of labor. Ultrasound Obstet Gynecol 2004; 23: 172-6.

Thompson TR, Manning FA. Estimation of volume and weight of the perinate: relationship to morphometric measurement by ultrasonography. J Ultrasound Med 1983; 2: 113-6.

Manning FA. Intrauterine Growth Retardation-Etiology, Petrophysiology, Diagnosis, and Treatment. Stamford, Conn: Appleton and Lang; 1995.

Tongsong T, Piyamongkol W, Sreshthaputra O. Accuracy of ultrasonic fetal weight estimation: a comparison of three equations employed for estimating fetal weight. J Med Assoc Thai 1994; 77: 373-7.

Hadlock FP, Harrist RB, Sharman RS, Deter RL, Park SK. Estimation of fetal weight with the use of head, body, and femur measurements–a prospective study. Am J Obstet Gynecol 1985; 151: 333-7.