AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

8 วิธีดูแลรักษาแผลนูนแดง หลังผ่าคลอด ให้สวยเรียบ

 

รักษาแผลนูนแดง เพราะคุณแม่หลังคอดก็อยากกลับมาสวยเหมือนก่อนท้อง แต่สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดก็อาจมีรอยแผล หลงเหลืออยู่แลดูหน้าท้องไม่สวยเหมือนเดิม ทั้งริ้วรอยและรอยแผล ที่ปรากฏอยู่ก็คงต้องลำบากใจในการที่จะปกปิดรอยแผลเป็นนั้นให้พ้นจากสายตาของคนรอบข้าง อาจทำให้ขาดความมั่นใจในการแต่งตัว ไม่สามารถแต่งตามแฟชั่นสมัยนิยมได้อย่างคนอื่น ๆ เนื่องจากแผลเป็นที่น่าเกลียด และแผลเป็นยังก่อให้เกิดอาการคัน ซึ่งก่อความรำคาญและอาจขยายวงกว้างขึ้นได้อีกด้วย

ดูแลแผลเป็น หลังผ่าคลอด ให้เนียนสวย ไม่นูนแดง

√ การเกิดรอยแผลเป็นนั้นมีหลายปัจจัย

♣ รอยแผลเป็นมีได้หลากหลายลักษณะ เรามาดูกันว่ามีอย่างไรบ้าง

1.แผลเป็นที่มีสีผิดปกติ คือ มีสีที่เข้มกว่าหรืออ่อนกว่าสีผิวปกติที่อยู่รอบ ๆ แผลมองเห็นได้ชัดเจน

2.แผลเป็นที่อาจมีการดึงรั้งของผิวหนัง ทำให้ลักษณะร่างกายบิดเบี้ยวไปตามแรงดึงรั้งของแผลจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น แผลเป็นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือที่ใบหน้าซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ

3.แผลเป็นที่มีรูปร่างผิดไปจากผิวหนังเดิม เช่น “แผลเป็นนูน” หรือแผลเป็นที่มี่รอยบุ๋มลงไปซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

3.1 แผลนูนชนิดธรรมดา จะนูนหลังการผ่าตัดหรือการเย็บแผลใหม่ ๆ แผลจะมีลักษณะนูนอย่างเดียว ไม่ขยายขอบออกจากแผลเก่า ซึ่งแผลอาจมีขนาดเล็กลงได้เองโดยไม่ต้องทำอะไร หรือคุณอาจจะนวดเบาๆ ทุกวัน แผลนูนชนิดนี้จะยุบลงได้

3.2 แผลนูนชนิดคีลอยด์ เป็นแผลเป็นที่มีลักษณะนูนแข็งเห็นชัดจากผิวหนังปกติ และลามออกไปยังผิวหนังบริเวณข้างเคียงด้วย มักจะมีอาการคันเล็กน้อย พบได้จากแผลที่ถูกมีดบาดหรือแผลหลังการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง คลอดลูก หลังการปลูกฝี หรือแผลถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นต้น แผลแบบนี้นะคะ ดูไปแล้วก็เหมือนตัวปลิงหรือตะขาบมาเกาะอยู่ มันน่า…แค่ไหน คุณว่าไงคะ เห็นด้วยกับหมอหรือเปล่า

สำหรับคุณแม่ที่กังวลในแผลเป็นที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดคลอด จะทำอย่างไรดีให้แผลเป็นนั้นยุบหายลงไปได้บ้าง มีวิธีการรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว เพื่อให้ผิวหน้าท้อง จะได้กลับมาแลดูเนียนสวย ไม่มีรอยแผลเป็นนูนแดง ไปดูกันค่ะ

อ่านต่อ >> วิธีดูแลแผลเป็น หลังผ่าคลอด ให้เนียนสวย ไม่นูนแดง” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

♥ การดูแลรักษาแผลผ่าคลอด ที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของศัลยแพทย์ 

1. ใช้ยาทาแก้แผลเป็น เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาที่เป็นซิลิโคนเจล ยาที่มีวิตามิน E หรือวิตามิน A เป็นส่วนประกอบ ซึ่งโดยทั่วไปอาจช่วยลดอาการคันหรือทำให้แผลเป็นสีจางลงหรือบางลงได้เล็กน้อย ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพอสมควร

2. การใช้แผ่นซิลิโคนเจลปิดบริเวณแผลเป็น ซึ่งจะช่วยได้ในแผลเป็นที่เป็นใหม่ ๆ ช่วยลดการขยายตัวของแผล หากคุณคิดว่ารอยแผลที่เกิดกับคุณจะทำให้เป็นแผลเป็น รีบไปหาหมอเลยนะคะ

3. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าใต้แผลเป็น เพื่อให้แผลเป็นยุบตัวลง โดยจะต้องฉีดหลายครั้ง ครั้งละประมาณ 0.5 – 1 cc ห่างกันประมาณเดือนละ 1 ครั้ง จนกว่าแผลจะแบนราบ ซึ่งใช้เวลาไม่เท่ากันกันในแต่ละแผลเป็น ถ้าแผลเป็นมีขนาดใหญ่ก็ต้องใช้เวลานะคะ เพื่อกำจัดริ้วรอยแผลเป็นต้องอดทนค่ะ

4. การผ่าตัดเอาแผลเป็นเก่าออกแล้วจึงเย็บแผลใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้ได้กับแผลเป็นบางชนิดเท่านั้น การผ่าตัดควรทำเมื่อแผลเป็นนั้นสมบูรณ์เต็มที่แล้วไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ถ้าแผลเป็นมีบริเวณกว้างก็อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดย้ายผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งของคุณมาปิดซึ่งการผ่าตัดแก้ไขจะต้องทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูแลไม่ให้เกิดแผลเป็นซ้ำขึ้นมาอีก

5. กรณีที่มีแผลเป็นแบบรอยบุ๋มแพทย์อาจพิจารณา ฉีดสารสังเคราะห์ เช่น คอลลาเจน สาร HA (Hyaluronic acid) อาติคอล เข้าไปในรอยบุ๋ม เพื่อให้ผิวหนังเต็มขึ้นแต่ก็ได้ผลประมาณ 6 – 8 เดือน แล้วต้องฉีดยาเติมใหม่ เนื่องจากสารสังเคราะห์ที่มีการยุบตัวลง แต่ไม่เป็นอันตรายค่ะ

6. กรณีของแผลเป็นที่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสีผิว เช่น สีเข้มหรืออ่อนกว่าสีผิวข้างเคียง แพทย์อาจต้องใช้ วิธีการสักสี เข้าไปในแผลเป็น เพื่อให้มีสีใกล้เคียงกับผิวหนังปกติได้ เช่น ถ้าคุณมีผิวสีแทนก็จะใช้สีแทนค่ะ

7. กรณีที่มีการผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น แพทย์จะแนะนำให้นวดแผลร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นใหม่ นอกจากนี้ควรระมัดระวังไม้ให้แผลติดเชื้อ เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลเป็นขึ้นมาใหม่ได้อีกต้องระวังเรื่องความสะอาดด้วยนะคะ เวลานวดแผลต้องล้างมือให้สะอาด

8.นอกจากนี้แล้ว ยังอาจมีวิธีอื่น ๆ ในการรักษาแผลเป็น เช่น การใช้เลเซอร์ การกรอผิวเพื่อปรับสภาพผิว ในกรณีที่มีแผลเป็นตื้น ๆ หรือจะใช้วิธีการฉายรังสีเลเซอร์ป้องกันไม่ให้แผลเป็นนูนมากขึ้นซึ่งไม่ว่าจะใช้วิธีใดในการรักษา ก็จะไม่ทำให้แผลเป็นนั้นหายไปได้ทั้งหมด แต่ก็จะดีขึ้นในระดับหนึ่ง จนไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นต้องทำใจนะคะ และควรระมัดระวังตัวให้มากขึ้น อย่าให้มีแผลเกิดขึ้นกับคุณเป็นดีที่สุดค่ะ

ทั้งนี้ในการรักษาแผลเป็นไม่ว่าวิธีใด ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการระคายเคืองกับแผล เช่น ไม่ควรเกาหรือขัดด้วยสารเคมี เนื่องจากอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรจะเป็น หากคันจนทนไม่ไหวก็ควรใช้วิธีลูบเบา ๆ ที่แผลไม่ควรเกาแรง ๆ เพราะอาจจะทำให้แผลปูดได้นะคะ

ซึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะรักษารอยแผลเป็นให้หายได้โดย 100% แต่หากคุณแม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีและถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วล่ะก็ จากรอยแผลเป็นที่ปูดนูนหรือมีสีเข้มก็สามารถที่จะราบเรียบและสีจาลงได้ ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่แพทย์จะเลือกใช้รักษาเพื่อให้เหมาะสมกับรอยแผลเป็นของคุณ และแน่นอน เพียงเวลาไม่นานเกินรอ คุณแม่ก็สามารถโชว์ผิวสวยได้แล้วล่ะค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

จริงหรือที่ว่า……กินไข่แล้วแผลเน่า มีแผลห้ามกินไข่

คุณแม่หลังคลอด ทั้งคลอดเอง (ที่ต้องมีแผลฝีเย็บ) และผ่าคลอด (แผลผ่าคลอด) อาจเคยได้ยินคำแนะนำในเรื่อง การดูแลบาดแผล มักจะได้ยินเสมอๆ ว่า “หมอกินไข่ได้ไหม คนเขาบอกว่าแสลง กินแล้วแผลจะเน่า กลายเป็นแผลปูด” , “กินปลาดุกไม่ได้หรอก เงี่ยงปลาดุกจะไปทำให้แผลพุพองและหายช้า” ฯลฯ และอีกหลายๆ คน ก็มีอีกหลายๆ ความเชื่อ
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการดูแลเรื่องแผล ไม่ว่าแผลถลอก แผลเล็กๆ ที่โดนมีดบาด แผลที่ถูกมีดเฉือน แผลตะปูตำ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแผลผ่าตัด สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจมีอยู่ 2 ประการ คือ

1.การดูแลรักษาความสะอาดของแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

2.การบำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่จะทำให้แผลหายเร็วนี้ก็ได้แก่ อาหารพวกโปรตีน ซึ่งมีในอาหารจำพวก ไข่ เนื้อทุกชนิด (ไก่ หมู ปลา ฯลฯ) และมีในพืชประเภทถั่วไม่ว่าจะเป็นถั่วงอก ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ฯลฯ อาหารพวกนี้จะไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ทำให้บาดแผลสนิทและหายในที่สุด

ไข่ จึงไม่ใช่ของแสลง และไม่ได้ทำให้แผลเน่าที่เน่าก็เพราะแผลสกปรก มีเชื้อโรคเข้าไปทำให้อักเสบเป็นหนอง ส่วนแผลเป็นที่ปูดโตไม่ได้เกี่ยวกับการกินไข่แต่อย่างไรก็เป็นธรรมชาติของเนื้อหนังของคนๆ นั้น

ดังนั้น ถ้าหากท่านมีแผล ไม่ว่าจะเป็นแผลเล็ก แผลกลาง แผลใหญ่ขนาดไหนก็ตาม ควรจะได้ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดใน 2 ประการที่กล่าวมาแล้ว จะทำให้แผลของท่านหายได้ และมาช่วยขจัดความเชื่อทั้งหลายที่เป็นผลเสียซึ่งกระทบต่อผลประโยชน์ของส่วนรวมกันดีไหมคะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก th.yanhee.net , www.manager.co.th , www.doctor.or.th