ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ แม่ท้องต้องเจอกับอาการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งไม่อาจทราบได้เลยว่าอาการแบบไหนปลอดภัยและ สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ แบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์
7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องรีบหาหมอ
เพราะลูกในท้องยังคงอ่อนแอเกินกว่าจะปกป้องตัวเองและป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ด้วยตัวเอง จึงเป็นหน้าที่ของแม่ท้องทุกคนที่จะใช้ภูมิคุ้มกันของแม่มาช่วยป้องกันอันตรายให้ลูกในท้อง รวมถึงใช้ร่างกายตัวเองในการเลี้ยงให้ลูกในท้องเจริญเติบโตภายในท้องเป็นเวลา 9 เดือนเต็ม จนกว่าลูกในท้องจะแข็งแรงพอที่จะลืมตาออกมาสู่โลกภายนอก แต่ในช่วงที่ลูกยังอยู่ในท้อง เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่าลูกเป็นอย่างไรบ้าง กำลังเกิดอะไรขึ้นภายในท้องบ้าง ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องกำลังตกอยู่ในอันตราย สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ แบบไหนบ้างที่ต้องรีบไปหาหมอ ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงขอรวบรวม สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้แม่ท้องได้เตรียมตัว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา จะได้รู้ได้ว่าอาการแบบนี้คือผิดปกติ และ อันตราย!
1. มีเลือดออกทางช่องคลอด
หากมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ สามารถนำไปสู่การแท้งได้ โดยสาเหตุที่มีเลือดออกทางช่องคลอด ที่เป็นสัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
-
มีเลือดออกในช่วงไตรมาสแรก
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ผสมแล้ว แทนที่จะเดินทางไปฝังตัวในมดลูก แต่กลับเดินทางไปฝังตัวในท่อนำไข่ ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงเกิดการแตก และมีการตกเลือดในช่องท้อง คุณแม่จะปวดท้องมาก เป็นลมและอาจถึงแก่ชีวิตได้
(อ่านต่อ ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม ?)
-
- การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก เป็นภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะการตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ โดยทารกและรกจะไม่เจริญขึ้นมาตามปกติ แต่ทารกจะกลายเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงในมดลูกแทน โดยทั่วไป รกจะช่วยลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ รวมทั้งกำจัดของเสียออกไป หากเซลล์ที่สร้างรกทำงานผิดปกติแล้ว จะทำให้เกิดถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพวงองุ่นสีขาวหรือไข่ปลา เซลล์ดังกล่าวจะเจริญภายในมดลูกอย่างรวดเร็วแทนการเจริญเป็นทารกโดยมีชื่อเรียกว่าครรภ์ไข่ปลาอุก เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าเป็นครรภ์ไข่ปลาอุก พร้อมทั้งมีเลือดออก จะทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมา
(อ่านต่อ ครรภ์ไข่ปลาอุก สาเหตุเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?)
-
มีเลือดออกในช่วงไตรมาสที่สองหรือสาม
- รกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือปกคลุมทั้งหมด ในการตั้งครรภ์ปกติรกจะอยู่ด้านบนของมดลูกและห่างจากปากมดลูก เพื่อความปลอดภัยในช่วงที่คลอด แต่หากเกิดภาวะรกเกาะต่ำ เมื่อถึงเวลาคลอด เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและมดลูกจะฉีดขาด มีเลือดออกมากทั้งก่อนหรือในขณะคลอด ทำเกิดความเสี่ยงต่อทั้งแม่ท้องและทารกในครรภ์ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
- (อ่านต่อ รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์)
-
- รกลอกตัวก่อนกำหนด คือ ภาวะที่รกซึ่งเกาะอยู่บริเวณส่วนบนของโพรงมดลูกในตำแหน่งปกติ แต่เกิดมีโรคหรือมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ความดันโลหิต ครรภ์เป็นพิษสูง ครรภ์ถูกกระทบกระเทือน หรือสาเหตุอื่น ๆ จนทำให้รกเกิดการลอกตัวจากผนังมดลูกก่อนถึงกำหนดวันคลอด ทำให้มีเลือดออกระหว่างผนังมดลูกกับตัวรก เมื่อมีเลือดออกมากก็จะทำให้รกลอกตัวจากผนังมดลูกมากขึ้น
(อ่านต่อ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตราย ตายได้ทั้งแม่และลูก)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 7 สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์
7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์
2. ท้องแข็ง
อาการท้องแข็ง เป็นอาการที่ปกติสำหรับแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย เป็นอาการที่แสดงให้แม่ท้องรู้ว่าใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการคลอด แต่สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสแรก และมีอาการท้องแข็ง แสดงว่าผิดปกติแล้วค่ะ โดยทั่วไป อาการท้องแข็งที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์นั้น มักจะเกิดจากการที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ในบางคน ที่เกิดอาการท้องแข็งในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก นั่นอาจหมายถึง ความเสี่ยงที่จะแท้ง ลูกในท้องเจ็บป่วย และอาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
อ่านต่อ ท้องแข็งใกล้คลอด เป็นแบบไหน? ท้องแข็งแบบไหนอันตราย
3. ปวดหลังอย่างรุนแรง
ในขณะตั้งครรภ์ จุดศูนย์ถ่วงของหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะเปลี่ยนไป เนื่องจากด้านหน้าท้องต้องรองรับน้ำหนักของลูกน้อย จึงทำให้แม่ท้องมีอาการปวดหลังได้ ถือเป็นเรื่องปกติที่แม่ท้องทุกคนจะต้องเป็น แต่หากอาการปวดหลังนี้ เป็นอาการปวดที่รุนแรง เมื่อนั่งพักหรือเปลี่ยนท่าทางก็ยังไม่หาย ไม่สามารถควบคุมอาการปวดหลังได้ หรือหากปวดเป็นเวลานาน ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องปกติแล้วค่ะ อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับไตหรือกระเพาะปัสสาวะของแม่ท้อง ที่อาจเกิดการติดเชื้อขึ้น และการติดเชื้อในไตหรือกระเพาะปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ถือเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตราย
อ่านต่อ ปวดหลัง อาการยอดฮิตที่แม่ท้องต้องรับมือ
4. มีตกขาวผิดปกติ
ตกขาวในแม่ท้องที่ปกตินั้นไม่ควรจะมีกลิ่นหรือสีอื่น ๆ นอกจากสีขาวขุ่น ดังนั้น หากตกขาวในแม่ท้อง มีสีหรือกลิ่นเปลี่ยนไป โดยเฉพาะสีแดงคล้ายเลือด นั่นอาจหมายความว่าลูกในท้องกำลังตกอยู่ในอันตรายได้ และถ้าหากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมด้วย อาจหมายถึงปากมดลูกเปิดก่อนกำหนด จึงควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ
อ่านต่อ คนท้องมีตกขาวไหม ตกขาวแบบไหนเรียกว่าผิดปกติ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 7 สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์
7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์
5. ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คือ การที่ทารกในครรภ์ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ที่ควรจะเป็น จึงมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามอายุครรภนั้น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่เจริญเติบโตปกติ ทารกกลุ่มนี้จะจัดว่าเป็นทารกที่มีขนาด/น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์จริง แต่ทารกที่น้ำหนักน้อยหรือตัวเล็ก ไม่ได้หมายความว่าจะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ทั้งหมด ทารกที่พ่อและแม่ตัวเล็ก ทารกก็จะมีขนาดเล็กด้วย แม้ว่าจะเจริญเติบโตปกติ ทั้งนี้ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบ่งเป็น 2 ประ เภท คือ
- ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน ทารกกลุ่มนี้จะมีขนาดเล็กเหมือนเด็กตัวเล็ก ทั้งขนาดศีรษะ เส้นรอบท้อง และความสูง สัดส่วนจึงไม่แตกต่างจากเด็กปกติที่ตัวเล็ก สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติที่ตัวทารกเอง เช่น มีโครโมโซมผิดปกติ, การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ทำให้เซลล์ร่างกายไม่เจริญเติบโต เป็นต้น
- ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน ทารกในกลุ่มนี้มักจะพบได้บ่อยกว่ากลุ่มแรก โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสหลัง ๆ ของการตั้งครรภ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของแม่ท้อง เช่น แม่ท้องมีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกได้อย่างไม่เพียงพอ การเจริญเติบโตของทารกจึงไม่เป็นไปตามภาวะปกติอย่างที่ควรจะเป็น เป็นต้น
อ่านต่อ ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ กับวิธีการตรวจดูขนาดของลูกในท้องว่าตัวเล็กหรือใหญ่!
6. ลูกไม่ดิ้น
ในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจะเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นกันแล้ว และในสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจะต้องเริ่มนับลูกดิ้นกันแล้ว เพื่อให้ทราบถึงสุขภาพของลูกในท้อง ดังนั้นหากลูกในท้องดิ้นน้อยลง ไม่ดิ้น หรือมีลักษณะการดิ้นที่ผิดปกติ แม่ท้องควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
อ่านต่อ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้น สัญญาณสำคัญที่แม่ท้องต้องรู้
7. ไม่ได้ยินเสียงหัวใจ
แม่ท้องจะได้ยินเสียงหัวใจของลูกเต้น (โดยเครื่องมือในการฟังเสียงหัวใจ) ในสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้ว หัวใจลูกจะเริ่มเต้นตั้งแต่อายุในครรภ์ได้ 5 สัปดาห์แล้วค่ะ และแน่นอนค่ะว่าเราไม่สามารถจะฟังเสียงหัวใจของลูกได้ด้วยตนเอง จะต้องใช้เครื่องมือในการฟังเสียงหัวใจลูกเท่านั้น ดังนั้น จึงควรไปพบหมอตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้คุณหมอตรวจสุขภาพของลูกในท้องอยู่เป็นประจำ
อ่านต่อ ใช้เครื่องฟังเสียงหัวใจ แต่ไม่ได้ยินเสียงลูกในท้อง ต้องกังวลไหม?
ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงคลอด แม่ท้องจะต้องเจอเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางเหตุการณ์ก็อาจจะเป็นอันตราย และบางเหตุการณ์ก็อาจจะเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่แม่ท้องทุกคนต้องเจอ ดังนั้นการมีสติเพื่อตั้งรับกับเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง
อ่านบทความที่น่าสนใจ คลิก
“มูก” แบบไหนใกล้คลอด มี มูกเลือดก่อนคลอด ทำอย่างไร
อันตรายจากสาร BPA ในขวดน้ำดื่ม ที่แม่ท้องต้องระวัง
ลูกแพ้อาหาร เพราะแม่กิน อาหารกลุ่มเสี่ยง มากเกินไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : momjunction.com, haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่