อาการท้องแข็ง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าใกล้ถึงเวลาคลอดแล้ว แต่หาก อาการท้องแข็ง เกิดในช่วงเวลาที่ยังไม่ควรจะคลอดล่ะ จะมีวิธีบรรเทาอาการอย่างไร
6 วิธีลด อาการท้องแข็ง ไม่อยากคลอดก่อนกำหนด อย่าทำสิ่งนี้
อาการท้องแข็ง คือ อาการที่คุณแม่อาจรู้สึกแน่นท้อง หน้าท้องแข็ง ร่วมกับมีอาการปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนหรือปวดหน่วงคล้ายปวดอุจจาระ แต่หากอาการท้องแข็ง เกิดในช่วงเวลาที่ยังไม่ควรจะคลอด อาการท้องแข็ง อาจเกิดจากความผิดปกติอื่น ๆ เช่น แม่ท้องมีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว แม่ท้องทานอาหารอิ่มมากเกินไปจนเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัวเนื่องจากมดลูกไม่แข็งแรง ซึ่งอาการท้องแข็งก่อนกำหนดนั้น อาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ โดยมีวิธีสังเกตุอาการท้องแข็งที่อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนด ได้ดังนี้
- แน่นท้องและรู้สึกว่าหน้าท้องแข็งเมื่อสัมผัส
- รู้สึกปวดหรือไม่สบายท้อง
- รู้สึกปวดบริเวณกระดูกเชิงกรานคล้ายถูกกดทับ
- มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือพบมูกเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด
- ถุงน้ำคร่ำแตก ซึ่งจะพบของเหลวใสไหลออกมาจากช่องคลอด
เมื่อมีอาการดังกล่าว คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และสำหรับแม่ท้องที่เริ่มมีอาการท้องแข็งในช่วงเวลาที่ยังไม่ควรจะคลอดนั้น เรามีวิธีลดหรือบรรเทาอาการไม่ให้ท้องแข็ง ดังนี้ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 6 ย.ช่วยลดอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์
6 ย.ช่วยลด อาการท้องแข็ง ขณะตั้งครรภ์
-
อย่าให้มดลูกสะดุ้ง!!
การลุกขึ้นลุกลงบ่อย ๆ โดยเฉพาะการลุกขึ้นลุกลงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ท้องแข็งได้ ดังนั้น แม่ท้องควรจะระมัดระวังในการล้มตัวลงนอนบนเตียงและการลุกขึ้นจากเตียง เมื่อล้มตัวลง ควรจะนั่งลงก่อน แล้วค่อย ๆ ตะแคงตัวลงอย่างช้า ๆ ส่วนเวลาจะลุก ให้พลิกตัวไปนอนตะแคงที่ด้านข้างเตียง แล้วค่อย ๆ ดันตัวขึ้นอย่างช้า ๆ วิธีนี้จะไม่ทำให้เกิดการเกร็งที่มดลูก
2. อย่าจับท้องบ่อย!!
แม่ ๆ ที่ชอบลูบท้องบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเพราะต้องการจะสัมผัสลูกในท้อง หรือ ต้องการกระตุ้นพัฒนาการลูกในท้อง แต่รู้หรือไม่ว่าการลูบท้องจับท้องบ่อย ๆ ก็ทำให้ท้องแข็งได้เหมือนกันนะ เพราะมดลูกเป็นอวัยวะที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อมากมายและไวต่อการกระตุ้นมาก โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้น อย่าจับท้องบ่อย ๆ ถ้าไม่จำเป็น!
3. อย่าบิดขี้เกียจ!!
แหม คนท้องบิดขี้เกียจก็ไม่ได้!! ใช่ค่ะ ไม่ได้จริง ๆ ค่ะ เพราะช่องท้องของแม่ท้องตอนบิดขี้เกียจนั้น จะมีปริมาตรเล็กลง ความดันในมดลูกก็จะสูงขึ้น ท้องก็เลยแข็ง ถ้ายังนึกไม่ออก ลองนึกถึงตอนเรากำลังบิดผ้าขณะเปียกอยู่นะคะ หากเราบิดแรง ๆ น้ำก็จะทะลักออกมา ท้องก็เช่นกันค่ะ
4. อย่าเพิ่งจู๋จี๋กันตอนนี้!!
ไม่ได้หมายความว่าคนท้องทุกคนจะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กันได้เลยนะคะ แต่สำหรับแม่ท้องที่มีอาการท้องแข็งบ่อย ๆ ควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์กันไปก่อนค่ะ เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะไปกระตุ้นแถว ๆ บริเวณปากมดลูก ซึ่งจะทำให้มีการบีบรัดตัวของมดลูกตามมาค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์กันอย่างนุ่มนวลก็ตาม แต่ก็สามารถทำให้ท้องแข็งได้นะคะ เพราะเมื่อแม่ท้องถึงจุดสุดยอดขึ้นมา ก็จะทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวตามมีอีกค่ะ นอกจากนี้ ในทางการแพทย์ พบว่า ในน้ำอสุจิจะมีสารเคมีที่ชื่อว่า โปรสต้าแกลนดิน ซึ่งสารตัวนี้เป็นตัวการสำคัญของธรรมชาติที่ทำให้ปากมดลูกขยายตัวในระหว่างคลอดอีกด้วย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 6 ย.ช่วยลดอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์
6 ย.ช่วยลดอาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์
5. อย่ายุ่งกับหน้าอก!!
แม่ท้องบางคนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจมีน้ำนมไหลออกมา อย่าได้ไปบีบ หรือ กระตุ้นให้มีน้ำนมไหลออกมาเชียวนะคะ และ สำหรับแม่ท้องที่ไม่ได้มีน้ำนมไหลออกมา แต่ในช่วงตั้งครรภ์ หน้าอกมีการขยายใหญ่ขึ้น ทำให้สามีอาจจะอยากจับ ขอบอกว่าอย่าไปจับเชียวค่ะ เพราะในขณะตั้งครรภ์การกระตุ้นบริเวณหัวนม จะไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนที่ทำให้มดลูกบีบตัวได้ ทำให้แม่ท้องมีอาการท้องแข็งได้บ่อย ๆ ค่ะ
6. อย่ากลั้นปัสสาวะ!!
ตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ เคยกลั้นปัสสาวะนาน ๆ จนรู้สึกปวดท้องน้อยหรือเปล่าคะ เช่นกันค่ะ ในขณะตั้งครรภ์ เมื่อมีปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมาก ๆ แต่คุณแม่กลั้นปัสสาวะไว้ กระเพาะปัสสาวะก็จะโป่งมากขึ้น จนไปกดเบียดมดลูก จนมดลูกมีความดันสูงขึ้น จึงทำให้มดลูกบีบรัดตัว จนเกิดอาการท้องแข็งได้ค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากมดลูกที่โตขึ้นไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ จึงมักจะปวดปัสสาวะบ่อย ๆ แต่แม่ท้องบางคนก็อาจจะยุ่งจนต้องกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ จนทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้
สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 37 ขึ้นไป อาการท้องแข็งอาจหมายถึงอาการท้องแข็งจริง ซึ่งเป็นสัญญาณใกล้คลอดแล้ว โดยอาการท้องแข็งจริงนั้น เกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ที่ไปกระตุ้นให้มดลูกส่วนต้นหดรัดตัว ทำให้ผนังมดลูกบางลงและขยายปากมดลูกให้กว้างขึ้น เพื่อส่งทารกไปยังช่องคลอดได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการ แน่นท้อง ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนหรือปวดหน่วงคล้ายปวดอุจาระ อาการปวดเป็นจังหวะ โดยจะปวดถี่และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ พบมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด มีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอด อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที และอย่าลืมหิ้วกระเป๋าที่เตรียมไว้สำหรับไปใช้ที่โรงพยาบาลหลังคลอดลูกด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องรีบหาหมอ
คลอดยาก สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก ทรมานระหว่างคลอด
อาการ ท้องลด เป็นแบบไหน? ท้องลดตอนกี่สัปดาห์กันนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่