หากลูกจะรักพ่อมากกว่าก็สามารถเป็นไปได้ เพราเด็กๆ เขาก็มี “หัวใจหลายห้อง” เหมือนเราๆ ผู้ใหญ่นี่แหละค่ะ เพียงแต่พวกเขายังไม่เรียนรู้ที่จะแบ่งความสนใจหรือเอาใจใส่ใครหลายๆ คนพร้อมกัน …ดังนั้นถ้ามีคนที่รักอยู่พร้อมกัน 2 คน ลูกจึงจัดอันดับแล้วทุ่มให้คนที่ชอบมากกว่าจนเหมือนจะเมินอีกคนไปเสีย
ทำไมเด็กๆ จึง (เหมือนจะ) รักพ่อมากกว่าแม่
บทบาทในครอบครัว ส่วนใหญ่แม่จะเป็น “นายจ่าคุมกฎ” หรือ “คุณนายระเบียบ” คอยห้ามคอยสั่งให้ลูกทำสิ่งต่างๆ ถ้าเทียบกับพ่อซึ่งมีเวลาให้น้อยกว่า แต่สนุกสนานมากกว่า (แถมตามใจมากกว่า) หนูๆ เลยชอบเวลาที่อยู่กับพ่อมากกว่าเวลาที่อยู่กับแม่
มีอาการติดพ่ออย่างมากจนไม่สนใจใคร จะแก้ไขอย่างไร?
เรื่องนี้คุณหมอสินดี จำเริญนุสิต ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กจากโรงพยาบาลเวชธานี ได้ให้คำตอบและคำแนะนำว่า
จริง ๆ แล้วถือเป็นเรื่องที่ดีนะคะ เพราะแสดงว่าลูกผูกพันกับพ่อและแม่ (และไม่ต้องแปลกใจเพราะอาจติดคนที่ไม่ใช่คนเลี้ยงหลักก็ได้) นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องของพฤติกรรมตามวัยที่เด็กจะติดเรามาก กลัวการพลัดพรากหรือแยกจาก เพราะเราจะเห็นว่าวัยนี้เริ่มทำอะไรเองได้มากขึ้น เดินวิ่งได้คล่อง เริ่มหัดพูด แต่เรื่องความเป็นอิสระเหล่านี้ยังไม่มั่นคง เด็กจึงมีช่วงเวลาที่ไม่มั่นใจต้องเกาะติดพ่อแม่ไว้ก่อน ซึ่งเมื่อวุฒิภาวะมากขึ้นเดี๋ยวก็จะดีเองค่ะ
คุณหมอยังบอกอีกว่า เข้าใจคุณพ่อคุณแม่นะคะ เพราะถ้าติดมาก ๆ บางครั้งเราก็ทำอะไรไม่ค่อยได้ วิธีการตอบสนอง คือ เข้าใจเขาก่อนนะคะว่าเขากลัวจริง ๆ จากนั้นหากพ่อต้องไปไหนหรือทำอย่างอื่น พ่ออาจจะต้องให้ความมั่นใจว่าเดี๋ยวก็กลับมา อาจฝากของอะไรเล็กน้อยแทนตัวพ่อ พยายามไม่แสดงท่าทีใจอ่อน แต่ให้ทำตามสัญญาให้ได้คือ จะกลับมาช่วงเวลาไหนก็ให้เป็นไปตามนั้นค่ะ
บางครั้งถ้าเรารู้แน่ ๆ ว่าพ่อแม่จะไปไหน ไม่อยู่เราก็ต้องบอกเขาล่วงหน้า ให้ความมั่นใจว่าพ่อแม่อยู่ ไม่มีใครทิ้งไปไหน อาจจะเล่าเรื่องผ่านนิทานที่เกี่ยวกับการไปทำงานของพ่อแม่แต่เดี๋ยวก็กลับมา และพยายามไม่ขู่เด็กว่าจะทิ้งหรือไม่มีใครอยู่ด้วยนะคะ เพราะเขาจะยิ่งติดมากขึ้นค่ะ หรืออย่าให้เหตุผลนี้ทำให้เราต้องฝากคนอื่นเลี้ยงเพราะจะกลายเป็นว่าสิ่งที่เขาคิดคือกลัวการพลัดพรากได้เกิดขึ้นจริง ๆ
สุดท้ายหมอขอให้กำลังใจนะคะ ส่วนใหญ่หายได้เองค่ะ ประมาณ 4-7 ขวบจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าดูมากผิดปกติและทำให้การใช้ชีวิตของพ่อแม่มีปัญหาจริง ๆ ก็คงต้องปรึกษาแพทย์ดีที่สุดค่ะ
ถ้าแม่อยากได้ตำแหน่ง “ขวัญใจ” คืนบ้าง
ลองทำตัวให้สนุกสนานและผ่อนคลายขึ้นอีกหน่อย ชวนลูกเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ หลังจากทำการบ้านเสร็จ มีส่วนร่วมมากขึ้น ตอนที่พ่อ – ลูกเตะฟุตบอลกัน คุณอาจทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตู หรือดึงลูกเข้ามาในกิจกรรมของคุณ เช่น ให้พวกเขาช่วยเด็ดผักระหว่างที่คุณกำลังทำอาหาร ช่วยเลือกของเวลาไปช็อปปิ้ง ฯลฯ
ถึงแม้ว่าทำแล้วยังดูเหมือนลูกยัง “ติด” พ่อมากกว่า ก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะถ้าถึงเวลาที่หนูๆ ต้องการใครสักคนขึ้นมาจริงๆ แม่จะเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งโดยอัตโนมัติ
อ่านต่อ >> “เหตุผลที่ลูกสาวติดพ่อมากกว่าแม่” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่