AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

6 สัญญาณความผิดปกติ เมื่อลูกชอบเดินเขย่งปลายเท้า

ลูกเดินเขย่ง

ลูกเดินเขย่งเท้า ผิดปกติหรือไม่? คำถามนี้อาจจะเกิดขึ้นเมื่อลูกๆของคุณอยู่ในช่วงวัย 1-3 ขวบ ซึ่งนั่นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีคุณแม่หลายคนเห็นลูกชอบเดินเขย่งเท้าแล้วไม่สบายใจ ลองมาดูวิธีการ และคำแนะนำจากคุณหมอกัน อย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจไป ปัญหาลูกเดินเขย่งเท้าอาจไม่ได้ใหญ่โตอย่างที่คิด

เด็กที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่ง จะหยุดเดินเขย่งไปเองโดยธรรมชาติเมื่อเขาอายุย่างเข้า 5 ขวบ การเดินเขย่งไม่จะส่งผลกระทบใดๆต่อการพัฒนาการหรือระบบประสาทแต่อย่างใด

สาเหตุที่ ลูกเดินเขย่งเท้า

ซึ่งสำหรับในเด็กวับ 1-3 ปี เวลาเดินลงน้ำหนักปกติสักครู่หนึ่งจึงเขย่งเท้า หรือเขย่งเท้าเดิน (toe walking) ตลอดเวลา เป็นเพราะมีสาเหตุ ดังนี้

1. นิสัยของเด็กเอง (Habit)

2. เส้นเอ็นของส้นเท้าสั้นมาแต่กำเนิด (Congenital short heelcord)

3. กล้ามเนื้อน่องทำงานมากเกินไป (Overactive tricep surae หรือ Idiopathic toe walking)

4. โรคออทิซึม (Autism) เด็กออทิสติก มีลักษณะผิดปกติดังนี้

– พัฒนาการช้าด้านภาษา ไม่หันหาเสียง ไม่ทำตามคำสั่ง ไม่พูด

– พัฒนาการผิดปกติด้านสังคม ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เช่น ไม่มองหน้า ไม่สบตากับผู้อื่น ไม่ชี้นิ้วบอกความต้องการ ไม่มีจินตนาการ (เล่นสมมติไม่เป็น) ไม่สนใจเล่นกับเด็กอื่น เด็กจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ แยกตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มีความสนใจหมดมุ่นเฉพาะอย่าง และสนใจเฉพาะส่วน ทำกริยาซ้ำๆ เล่นซ้ำๆ เช่น หมุน ตัวเอง หมุนล้อรถ เรียงของ ฯลฯ

5. อัมพาต เนื่องจากสมองได้รับบาดเจ็บ (Cerebral palsy) เด็กจะมีประวัติการคลอดลำบาก พัฒนาการช้า

โดยทั้งนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้มีผู้ปกครองเข้ามาร่วมมากกว่า 1,400 คน มีการจัดงานวิจัยในเมือง Blekinge Country ในตอนใต้ของประเทศสวีเดน ซึ่งได้มีการตรวจเช็คประจำวันของเด็กอายุ 5.5 ปี จะมีการสอบถามจากพ่อแม่ทีเข้าร่วมเกี่ยวกับการเดินเขย่งของลูก ผลสรุปจากงานวิจัยมีดังนี้

อ่านต่อ >> “วิธีแก้ไขลูกเดินเขย่ง ตามสาเหตุ” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลูกเดินเขย่ง แก้ไขตามสาเหตุดังนี้

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้

สิ่งที่สำคัญที่พ่อแม่ควรรู้ คือ “การเดินเขย่งในเด็กทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างร้ายแรง” กุมารแพทย์ประสาทวิทยา Jonathan Strober ที่ โรงพยาบาทเด็ก UCSF Benioff in San Francisco กล่าว เพราะไม่ใช่เด็กทุกคนที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่งจะมีแนวโน้มเป็นออทิสซึม

ทั้งนี้เด็กๆ ที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่งจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นไปอย่างปกติ ฉะนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ การคอยสังเกตลูก

สำหรับเด็กที่เดินเขย่งเป็นเวลาที่นานเกิน อาจจะก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้า ตึง และอาการปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย ซึ่งสามารถคลายเส้นได้ด้วยออกกำลังกายยึดหยุ่น

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกทำกิจกรรมยืดหยุ่นร่างกายขณะอ่านหนังสือหรือดูทีวี ซึ่งสามารถช่วยเอ็นร้อยหวายให้โค้งงอได้ง่ายและยึดหยุ่นมากขึ้น

การบำบัดสำหรับการเดินเขย่งไม่ได้จำเป็นมากนักสำหรับเด็กที่อายุ 6 ขวบหรือน้อยกว่า นอกเสียจากว่าอาการของเด็กทำให้เอ็นร้อยหวายหดหรือกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งอาจจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงและอาจจะมีการทำการผ่าตัด แต่ก็มีการบำบัดหลายแบบ พิจารณาจากอาการหนัก เบาของเด็ก

อ่านต่อ >> “6 สัญญาณผิดปกติที่พ่อแม่ต้องสังเกตหากลูกชอบเดินเขย่งขา” คลิกหน้า 3


ขอขอบคุณข้อมูลจาก พญ. เครียวพันธ์  บุญศิริ กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

แต่ถ้าคุณแม่สังเกตว่าลักษณะการเดินของลูกไม่ดีขึ้น หรือมีอาการที่เข้าได้กับลักษณะดังต่อไปนี้ ก็ควรพาเขาไปรับคำปรึกษาจากคุณหมอเฉพาะทางเพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพได้เลยค่ะ

1. อายุมากกว่า 3 ขวบและเคยเดินแบบปกติมาก่อน เพราะลูกอาจเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากเซลล์ประสาทผิดปกติ ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรม อาจมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน

2. คลำเจอก้อนที่บริเวณหลังเข่า ซึ่งเป็นเนื้องอกที่ไปรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อขา

3. มีประวัติคลอดยากหรือขาดออกซิเจนตอนคลอด ซึ่งมักมีพัฒนาการด้านอื่นผิดปกติด้วย

4. ตรวจร่างกายพบความผิดปกติของกระดูกสันหลัง มีปานจำนวนมาก หรือมีเนื้องอกที่ผิวหนัง

5. ความตึงตัวของเอ็นร้อยหวายมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด มักมีอาการเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย และอาจมีประวัติการถ่ายทอดในครอบครัวด้วย

6. มักพบในเด็กที่เป็นโรคทางจิตเวช เช่น ออทิสติก จิตบกพร่อง (schizophrenia)

ทั้งนี้หากคุณแม่สังเกตอาการ ลูกเดินเขย่ง ทั้งหมดนี้แล้วและลูกไม่ได้กำลังหัดเรียนบัลเล่ต์อยู่ ก็ให้รีบพาไปหาคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย จะได้รักษาได้ทันท่วงทีนะคะ

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด