ลูกฟันผุ จากการดูดนมขวดตอนกลางคืน เรื่องจริงที่ไม่ได้มาแค่ล้อกันเล่น ๆ เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น ไปดูกันค่ะ
สำหรับใครที่กำลังจะเป็นหรือกำลังเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อยู่ โปรดฟังทางนี้ค่ะ หากไม่อยากให้ลูกน้อยของเรามีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปาก หรือฟันผุตั้งแต่ยังเล็กละก็ อย่าให้ทำสิ่งนี้ตอนนอนเด็ดขาด
วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้นำเอาข้อมูลดี ๆ จากคุณหมอชื่อดังอย่าง แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ
อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม >>
ไขข้อสงสัย ลูกฟันผุ เพราะดูดนมขวดตอนกลางคืน
เกี่ยวกับเรื่องนี้ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยชาญด้านทารกแรกเกิด ให้ข้อมูลว่า การฝึกให้ลูกเลิกดูดนมขวดกลางคืน ถ้าเลิกช้าไปลูกจะฟันผุหลายซี่ และอาจต้องดมยาสลบทำฟันกันทีเดียว ซึ่งเมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้น ควรฝึกให้หลับโดยไม่ต้องตื่นขึ้นมาดูดนมขวดกลางดึก ไม่ว่าจะเป็นนมผงหรือนมแม่ใส่ขวดก็ตาม เพราะการกินนมกลางคืนจะทำให้ฟันผุง่าย นมจะไปตกค้างในปากเป็นเวลานาน และถูกแบคทีเรียย่อยจนเกิดสารที่เป็นกรดทำให้ฟันผุกร่อน
ทั้งนี้การตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อเองไม่เป็น อาจจะต้องอาศัยขวดนมกล่อมให้หลับต่อ จะทำให้เด็กติดขวดนม ซึ่งผู้ใหญ่ก็ติดขวดด้วย เพราะติดใจที่ทำให้ลูกหลับได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ความสามารถอะไร นอกจากนี้ยังเป็นเหตุต้องใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป รองรับปัสสาวะจำนวนมาก เพราะไม่อาจกลั้นฉี่ได้จนถึงเช้า หากลูกเติบโตมากขึ้นจนใส่ผ้าอ้อมไม่ได้ ก็ต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำคืนละหลายครั้ง การนอนก็จะถูกรบกวนโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
“ถ้าลูกทานข้าวและนมที่เหมาะสม เช่น 1 ขวบทานข้าว 3 มื้อ ๆ ละ 10 ช้อนโต๊ะนมวันละ 15-24 ออนซ์ ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมให้ปรึกษาหมอที่ดูแลลูก การที่ลูกตื่นกลางคืนเรียกหานม ไม่ใช่ลูกหิว แต่เพราะเคยชินที่ดูดนมเป็นตัวกล่อมทำให้หลับ และไม่เคยถูกฝึกให้หลับเอง แต่คุณแม่ยังไม่ต้องท้อใจ เพราะสามารถฝึกลูกได้หลายวิธีค่ะ”แพทย์หญิงสุธีรากล่าว
อ่านต่อคำแนะนำของคุณหมอเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>
แต่ถึงไม่ยอมเลิกก็ยังช่วยลดฟันผุลงไปบ้าง ทั้งนี้สามารถปล่อยให้ลูกร้องไห้ได้เลย แต่ต้องอธิบายให้คนที่บ้านเข้าใจว่า กำลังฝึกหย่านมกลางคืน โดยทั่วไปคืนแรกอาจร้องนาน 1-2 ชม. จนเหนื่อยแล้วหลับไปเอง แต่จะลดลงเรื่อยๆ และไม่ตื่นอีกภายใน 1-2 สัปดาห์
“กรณีแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ไม่ต้องเลิกดูดเต้ากลางคืนค่ะ เพราะกลางวันไม่ได้ดูด กลางคืนดูดได้เพื่อกระตุ้นให้แม่ผลิตน้ำนม แต่ต้องดูแลฟันให้ดี คือ
1.พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
2.ไม่ทานขนม
3.แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
การดูดเต้าความเสี่ยงฟันพุไม่มากเท่าดูดขวด เพราะหัวนมแม่ยืดไปด้านหลัง สัมผัสกับฟันน้อยกว่าการดูดขวด และนมแม่มีปัจจัยยับยั้งการแบ่งตัวแบคทีเรียในช่องปาก แต่เน้นย้ำว่าต้องปฏิบัติตาม 3 ข้อให้ครบ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด กล่าวทิ้งท้าย
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกฟันผุ >>
เครดิต: แพทย์หญิงสุธีรา และสสส.
รู้ได้อย่างไรว่า ลูกฟันผุ
การดูว่าลูกฟันผุหรือไม่นั้นไม่ยากค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ระยะเริ่มต้น สีขาวของฟันน้ำนมจะเปลี่ยนไปจากสีขาวอมเหลือง ผิวฟันมันเงา จะพบว่าฟันมีสีขาวขุ่น ผิวฟันจะด้าน ๆ ไม่เงา ถ้าใช้ผ้าเช็ดฟันให้แห้งจะเห็นได้ชัด
- ระยะต่อมา ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผิวฟันจะเริ่มขรุขระ ถ้าผุในฟันกรามด้านบดเคี้ยว จะเห็นเป็นสีดำตามร่องฟัน ถ้าผุมากขึ้น ผิวเคลือบฟันจะแตกออก ทำให้ฟันเป็นรู และรูนั้นจะกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ฟันจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือสีดำ
ซึ่งวิธีการป้องกันนั้นก็ได้แก่ การทำความสะอาดฟันให้กับลูกอย่างถูกวิธียกตัวอย่างเช่น การแปรงฟัน เป็นต้น และพยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำอัดลม ลูกอม และช็อกโกแลต ที่สำคัญอย่างลืมพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อทำการเคลือบฟลูออไรด์ ปีละสองครั้งกันด้วยนะคะ
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่คะ ถ้าหากพบว่าลูกฟันผุและไม่ได้พาไปรับการรักษาละก็ พอฟันผุมากขึ้นก็ลุกลามถึงโพรงประสาท จะส่งผลทำให้ลูกทรมานจากอาการปวดฟันมาก มีหนอง เหงือกบวม หน้าบวม หรือยิ่งกว่านั้น คือ หากลูกไม่รู้สึกปวดทั้ง ๆ ที่ฟันดำหมดแล้วนั่นแสดงว่า เลยจุดปวดคือ โพรงประสาทฟันถูกทำลายหมดแล้ว ซึ่งต่อไปจะทำให้โพรงประสาทฟันเป็นพิษ เกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายมากเลยละค่ะ
อย่างไรลองสังเกตฟันของลูกกันด้วยนะคะ ดูแล้วอาจเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ เรื่องใหญ่ ๆ มาก ๆ เลยละค่ะ
เครดิต: Kapook
อ่านต่อเนื้อหาเพิ่มเติม: