5 วิธีจัดการลูกดื้อ ไม่เชื่อฟัง พฤติกรรมวายร้าย
การปรับเปลี่ยนอารมณ์ดื้อสุดขั้ว พฤติกรรมแย่ๆ ไม่เชื่อฟังอะไรเลย ที่ลูกแสดงออกมาในช่วง 2-3 ขวบ กับภาวะที่เรียกว่า แทริเบิล(Terrible) เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญกันอย่างมาก และเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจลูกๆ ลองดูวิธีจัดการแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น กันตามนี้ค่ะ…
1. หลีกเลี่ยงพูดคำว่า “ไม่” กับลูก
เด็กวัยนี้จะมีความดื้อ และพฤติกรรมต่อต้านพ่อแม่ คนรอบข้างอยู่มากพอสมควร และทุกครั้งที่เขาอยากจะทำอะไร อยากลองเล่น ลองกิน อยากเดินขึ้นลงบันไดด้วยตัวเอง ฯลฯ พ่อแม่มักหยุดลูกด้วยคำว่า “ไม่นะ ไม่ได้ ไม่ให้ทำ” เป็นต้น คือพ่อแม่ต้องเข้าใจก่อนว่าลูกที่เพิ่งอยู่ในวัย 3 ขวบ เขายังไม่เข้าใจเหตุผลจริงๆ หรอกว่า ไม่ ที่แม่พูดบ่อยๆ กับเขานั้นหมายความว่าอย่างไร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าเมื่อยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุให้ลูกอยากรู้ อยากลองมากขึ้น จึงทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าลูกกำลังท้าทาย เพราะห้ามอะไรก็ไม่เคยที่จะฟังกันเลย
ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือพูดให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผลที่เขาพอเข้าใจได้ เช่น เมื่อลูกหยิบเอาของใช้ส่วนตัวคุณแม่มาเล่น แนะนำว่าให้เบี่ยงเบนความสนใจลูกด้วยการหาของเล่นอื่นที่เขาชอบมาเปลี่ยนให้ใหม่ แทนการพูดดุว่าไม่ให้เล่นเพียงอย่างเดียว การไม่ให้เหตุผลว่าทำไมเขาถึงเล่นของใช้แม่ไม่ได้ จะยิ่งทำให้ลูกอยากเล่นเข้าไปอีก และไม่ยอมปล่อยมือจากของที่หยิบมาเล่นค่ะ รวมทั้งในครั้งต่อๆ ไปลูกก็จะแอบไปหยิบเอามาเล่นอีกได้ค่ะ
2. อย่าเอาชนะกัน
เชื่อว่าหลายบ้านเลยที่มีลูกวัยนี้แล้วมีพฤติกรรมชอบลงไปนอนกรีดๆๆ อยู่กับพื้นเวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ แล้วยิ่งตอนพาไปเที่ยว เดินเล่นนอกบ้าน ไปห้าง ไปสวนสัตว์ ถ้าเห็นแล้วอยากได้ของเล่นสักชิ้น ถ้าพ่อแม่ไม่ซื้อให้ ก็ประท้วงด้วยการร้องไห้เสียง ดัง แถมกรีดดังให้คนมองจนพ่อแม่นี่อายเลยก็มีค่ะ
พฤติกรรมและอารมณ์แบบนี้ของลูก ทำให้แม่ๆ ส่วนใหญ่มักเก็บอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ คือโมโหดุใส่ลูกตรงนั้นเลยก็มี ลูกกับ แม่แรงใส่กัน มีแต่พังค่ะ แนะนำว่ากับเด็กอายุแค่ 3 ขวบ เขายังไม่มีวุฒิภาวะในการควบคุมตัวเองได้ พอมีคนขัดใจก็ยิ่งแสดง พฤติกรรมไม่น่ารักออกมา ถ้าลูกเป็นแบบนี้ให้เดินเลี่ยงออกมาจากลูก แล้วมองดูเขาอย่าให้คลาดสายตา พอเขาเห็นว่าแม่ หรือใครๆ ก็ไม่สนใจในสิ่งที่เขาเรียกร้องและแสดงอาการแย่ๆ ออกมา เดี๋ยวลูกก็จะค่อยๆ หยุดทำ และสงบลงค่ะ เมื่อลูก เงียบแล้ว อารมณ์แม่ก็เย็น ทีนี้ก็ค่อยๆ พูดอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไม่ถึงไม่ซื้อของเล่นให้ ซึ่งอาจบอกได้ว่า “ที่บ้านก็มีของเล่น แบบเดียวกันนี้ แล้วลูกก็ยังไม่ได้เอาออกมาเล่น ถ้าลูกอยากได้อยากเล่น แม่จะพากลับบ้านไปเล่นของเล่นด้วยกันดีกว่านะคะ”
บทความแนะนำ คลิก >> 4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)
3. ชื่นชม ให้กำลังใจลูกบ่อยๆ
เด็กๆ ช่วงแทริเบิล ทูส์-ทรี จะมีอารมณ์ไม่ค่อยคงที่ บางทีก็ออดอ้อนแม่ พูดจาน่ารัก เมื่อเด็กทำดี หรือพูดจาดี รู้จักขอโทษ พ่อแม่ควรให้คำชมลูกบ่อยๆ กอดลูก และบอกรักบ่อยๆ เพื่อให้ลูกมีกำลังใจทำดีในทุกวัน1
4. ฝึกลูกให้ควบคุมอารมณ์ด้วย Time Out
คือการ ขอเวลานอก หรือการหยุดพักชั่วคราว เป็นวิธีการจัดการกับลูก ที่นำมาจากทฤษฎีที่วิจัยกันมาแล้วว่า ช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กได้ เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธ หรือเอาแต่ใจ ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เชื่อฟัง เด็กควรรู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาการใช้วิธี Time Out ใช้ในเวลาที่เหมาะสม และใช้อย่างถูกต้อง เพื่อสร้างสื่อที่ตรงกันกับลูก2
5. ฝึกวินัยให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ
ในช่วง 2-3 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นกิน นอน ขับถ่าย เล่น แปรงฟัน กิจวัตรประจำวันที่ลูกต้องทำ ควรจัดให้ตรงตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ เช่นกินข้าวแต่ละมื้อตรงเวลา นอนตรงเวลา เวลาเล่น เวลาแปรงฟัน เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กมีวินัยในตัวเอง และรับรู้ว่าเวลานั้นๆ เป็นกิจกรรมที่ต้องทำอะไร ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีความอดทนในการช่วยส่งเสริมให้ลูกด้วย ถึงประสบผลสำเร็จ3
วายร้าย 3 ขวบ พฤติกรรมและอารมณ์แบบดื้อ ต่อต้านแบบสุดขั้วลูกดูแล้วไม่น่ารักเลยใช่ไหมคะ ดังนั้นพ่อแม่ต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้ลูกกันด้วยนะคะ อย่าปล่อยเลยผ่าน เพราะเมื่อลูกโตขึ้นอาจไม่สามารถช่วยและแก้ไขได้ทันการณ์ก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่นิสัยเสีย อยู่ร่วมกับใครก็ไม่ได้ เอาเป็นว่าสังเกตลูก และแก้ให้ตรงจุดแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!
4 วิธีปราบลูกดื้อ วางอำนาจ เอาแต่ใจ จากนักจิตวิทยาต่างประเทศชื่อดัง (มีคลิปเหตุการณ์จริง)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2,3www.ceediz.com
magazine.orami.co.th