สุภาษิตจีนกล่าวว่า “จากอายุ 3 ขวบ เห็นถึงอนาคต” หมายความว่า เราสามารถคาดการณ์อนาคตของคนคนหนึ่งได้ตั้งแต่เขามีอายุแค่ 3 ขวบ นี่ไม่ใช่คำพูดที่เกินจริง มาดูวิธี เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เพื่อเอาไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกของคุณพ่อ คุณแม่กันเลยค่ะ
เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี “แค่อายุ 3 ขวบ ก็มองเห็นอนาคต”
ผลงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า อุปนิสัยของบุคคลนั้นจะก่อตัวขึ้นในสมัยที่ยังเป็นเด็กอยู่ ฉะนั้นเราจึงสามารถคาดเดาพฤติกรรมของเด็กหลังการเติบโตจากการกระทำในช่วงอายุไม่กี่ปีได้
ในปี 1980 ศูนย์วิจัยโรคประสาทและโรคจิตของประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองกับเด็กท้องถิ่นอายุ 3 ขวบ จำนวน 1,000 คน ปรากฏว่าเด็กเหล่านี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
- มีความมั่นใจในตัวเองสูง
- มีการตอบสนองที่ดี
- มีการบังคับตนที่ดี
- เก็บตัวไม่พูดจา
- วิ่งเล่นไล่จับกันแบบไม่อยู่สุข
ต่อมาเมื่อปี 2003 เด็กเหล่านี้โตขึ้น ทางศูนย์มีการติดต่อตัวพวกเขาพร้อมทั้งญาติมิตรของเขาอีกครั้งหนึ่ง และสรุปเป็นผลงานวิจัยว่าพฤติกรรมของคนเหล่านี้ มีความสอดคล้องกับอุปนิสัยที่เผยออกมาในตอนเด็กค่อนข้างดี ผลงานวิจัยชี้ว่า เด็กอายุ 3 ขวบ จะดูดซับสิ่งที่ได้ยินได้เห็นเหมือนกับฟองน้ำ เด็กเขาใช้ชีวิตกับคนแบบไหนได้รับการปลูกฝังอย่างไร ก็จะก่อให้เกิดอุปนิสัยขึ้นมาอย่างนั้น คำพูดและกริยาท่าทางของผู้ใหญ่รอบข้างตัวเด็กจะถูกประทับตราไว้ในจิตใจส่วนลึกของเขา
ดังนั้น พ่อ-แม่กับคุณครูจึงมีบทบาทหน้าที่อันสำคัญในตลอดช่วงเวลาแห่งการเติบโตของเด็ก ถึงแม้ว่า อุปนิสัยและบุคลิกภาพของบุคคลหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ตามการศึกษา ประสบการณ์ และกระแสของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม การชี้นำของพ่อ-แม่และครูจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของเด็กในอนาคต หากเด็กได้รับการชี้นำที่ดีจากพ่อ-แม่และครู ความเป็นไปได้ที่เด็กจะมีอนาคตที่ดีนั้นก็จะยิ่งสูง
ช่วงอายุ 3 ขวบ เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาด้านสมอง เด็กในช่วงวัยนี้มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำอย่างดีเลิศ นักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาทำการสำรวจพัฒนาการทางสมองของเด็กแล้วพบว่า เมื่อเด็กทารกแรกเกิดได้รับรู้ถึงสิ่งเร้าทางภายนอกโดยการมอง ฟัง และสัมผัสนั้น ความเร็วในการเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณสิ่งเร้ากับเซลล์สมองนั้น รวดเร็วฉับพลันยิ่งกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดไว้มาก
อ่านต่อ ที่บ้านมี “เด็กมารตัวน้อย” คลิกหน้า 2
ที่บ้านมี “เด็กมารตัวน้อย”
ตอนทารกแรกเกิด สมองของเด็กเปรียบเสมือนกับจักรวาลที่เพิ่งอุบัติขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างยังไม่ได้รับการแยกแยะจำแนก เลยยังไม่มีระเบียบลำดับใดๆ ดังนั้น การเติบโตและพัฒนาการทางสมองของเด็กก็เป็นโครงการอันใหญ่หลวงราวกับการสร้างโลก – นาย ซุน เร่ เสี่ย (นักจิตวิทยาเด็ก)
พวกแม่ๆ ของเด็กเล็กชอบบ่นว่า ลูกถึงอายุ 2 ขวบ ยิ่งซนกว่าเดิม ปีนขึ้นโต๊ะ ซ่อนตัวใต้โซฟา ขี่หลังอาก๋ง หรือไม่ก็ฉีกหนังสือ ขีดเขียนบนแผ่น CD จนเสียหมด วาดมั่วบนกำแพง… ปลาในอ่างน้ำถูกจับเล่น ดอกไม้ของอาก๋งต้องสูญเสียใบและกลีบทุกวัน ตัวเองก่อกรรมทำชั่วแล้วยังไม่ยอมให้คนอื่นว่า พออาก๋งว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ กัดมือตัวเองทำร้ายตัวเอง ทั้งยังพูดพร่ำแต่ว่า “ไม่เอา ไม่เอา” มาต่อต้าน โอ้ สมญานามว่า “เด็กมารตัวน้อย” จริงๆ
- เพราะอะไรจึงทำให้เด็กกลายเป็น “มารตัวน้อย”
ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เด็กจะค่อยๆ แยกตัวเองออกจากโลกรอบข้าง และมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตนเองเกิดขึ้น เขาเริ่มมีความประสงค์ที่จะหลุดพ้นจากการควบคุมของพ่อแม่ผู้ใหญ่ และยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ในขณะเดียวกัน ร่างกายของเด็กก็เติบโตขึ้น ขอบเขตการเคลื่อนไหวก็ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งทำให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น และใจที่อยากทดลองหลายๆ สิ่ง เขาจะกระทำทุกอย่างตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น พอเขาเจออุปสรรค์การขัดขวาง ก็จะแสดงท่าทีก้าวร้าวต่อต้านโดยการพูดเสียงดังว่า “ไม่เอา” และบอกคนอื่นว่า “นี่ของหนู” เมื่อเขาเห็นอะไรเป็นที่ชอบแล้วก็จะตั้งหน้าตั้งตาเอามาให้ได้ นับได้ว่าเด็กวัยนี้มีความยึดมั่นในความประสงค์ของตนเองอย่างมาก
ในช่วงวัย 2-3 ขวบนี้ เด็กจะมีความคิดมากมายและอยากลองทำหลายอย่าง ดังนั้น เขาจึงต่อต้านการสั่งห้ามของผู้ใหญ่ และไปค้นดูโลกที่เขาไม่รู้โดยลำพัง ในสายตาของผู้ใหญ่แล้วก็จะรู้สึกว่าเด็กเขาชอบก่อความวุ่นวายจังเลย
- ใช้ความรักมายอมรับพฤติกรรมการทำลายสิ่งของของเด็ก
เด็กมักจะวิ่งไปทั่วบ้าน “ทำการค้นคว้า ทุกแห่งหน” พ่อแม่ก็จะพยายามหยุดเด็กโดยอัตโนมัติ เพราะกลัวว่าลูกจะได้รับบาดเจ็บ พ่อแม่บางคนที่มีกลวิธี เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ก็จะพูดดีๆ กับเด็กหรือใช้ของล่อเพื่อให้เด็กหันเหความสนใจไปหาสิ่งอื่น แต่พ่อแม่อีกหลายๆ คนก็จะตวาดหรือตีลูก สำหรับพ่อแม่ที่ทำกับลูกแบบนี้ เขาอาจจะยังไม่ตระหนักว่าการทำเช่นนี้ ได้ทำให้จิตใจของลูกได้รับบาดเจ็บ
อ่านต่อ “ไม่ใช้ความรุนแรง และเผด็จการกับเด็ก” คลิกหน้า 3
ไม่ใช้ความรุนแรง และเผด็จการกับเด็ก
เด็กที่โตขึ้นมาภายใต้การใช้ความรุนแรงนั้น จิตใจของเด็กต้องถูกทำร้าย ผลลัพธ์คือ เขาจะใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นต่อไป ที่จริง หากเราพูดดีๆ กับเด็ก ส่วนใหญ่เด็กจะยินดีรับฟังคำพูดของเรา
นายคาร์เทอร์ เวล ได้เขียนหนังสือเรื่อง “การเรียนการสอนแบบคาร์เทอร์ เวล” เขาได้เล่านิทานเรื่องหนึ่งให้ฟังว่า
มีเด็กคนหนึ่งรักแกะที่เขาเลี้ยงไว้ที่บ้านมาก เขามักจูงแกะไปเดินเล่นที่เนินเขา ทุกครั้งที่เห็นแกะตัวนั้น กินหญ้าก็จะรู้สึกดีใจมาก ในความรู้สึกของเด็กนั้น เขาคิดว่าแกะตัวนี้ คือ เพื่อนที่ดีที่สุดของเขา เขามีความในใจอะไรเขาก็จะเอามาเล่าให้แกะฟังจนหมด การได้ตากแดดกับแกะบนเนินเขาเป็นเรื่องที่วิเศษ และมีความสุขที่สุดสำหรับเขา
แต่แล้ววันหนึ่งเขาได้เผลอนอนหลับไป และเมื่อเขาตื่นนอนขึ้นมาเขากลับพบว่า แกะที่เขาเลี้ยงไว้ได้หายตัวไป ทั้งๆ ที่มันไม่เคยไปจากตัวเขาไกลเลย แต่ตอนนี้ เขาหามันจนทั่วก็ยังหาไม่เจอ เขารู้สึกเสียใจมากถึงกับร้องไห้เลย เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เจอเพื่อนที่ดีที่สุดของเขาอีกต่อไป
พอเริ่มตกเย็น เขาวิ่งกลับบ้านแล้วเล่าเรื่องแกะหายให้พ่อเขาฟัง พอพ่อเขาได้ยินว่าแกะหาย ก็หยิบท่อนไม้มาตีเขาจนเป็นแผลเต็มตัว ในที่สุด พ่อเขาสั่งว่า “บ้านเรามีแกะแค่ตัวเดียว ออกไปหามันให้เจอ ถ้าหาไม่เจอก็ไม่ต้องกลับบ้าน” พูดจบก็ผลักตัวเด็กออกไปนอกบ้านและปิดประตูดังปัง
เด็กรู้สึกเสียใจมาก
เขาวิ่งร่อนเร่ไปบนเนินเขาท่ามกลางความมืดเพียงลำพัง เขาไม่เข้าใจว่าทำไม พ่อต้องตีเขาเจ็บขนาดนี้ “แกะหาย เขาเองก็รู้สึกเสียใจมากพออยู่แล้ว แต่พ่อกลับมาพูดว่า ถ้าหาแกะไม่เจอก็ไม่ต้องกลับบ้านอีก ทำไมพ่อถึงให้ความสำคัญกับแกะมากกว่าตัวเขาอีกนะ”
ไม่นานเขาก็เห็นจุดขาวๆ จุดหนึ่ง เขารีบวิ่งไปดูอย่างรวดเร็ว นี่ไงแกะของเขายังมัวแต่เล็มหญ้าอยู่เลย
ในตอนนี้ เมื่อเด็กเห็นแกะกำลังเล็มหญ้าอย่างสบายใจ เขาก็รู้สึกเจ็บปวดใจอย่างมาก แทนที่เขาจะไปกอดแกะตัวนี้อย่างที่เคย เขากลับหันไปยกก้อนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งขึ้นมา แล้วพูดว่า “ไอ้เลว…เพราะแกนี่แหละ ที่ทำให้ฉันต้องถูกพ่อตี ทำให้ฉันต้องทุกข์ทรมานเป็นเพราะแกแท้ๆ” เด็กร้องไห้เสียงดังและทุ่มก้อนหินก้อนนั้นใส่หัวแกะอย่างสุดแรง
อ่านต่อ “ทำไมเด็กถึงมักไม่ค่อยจะเชื่อฟังคำของพ่อ-แม่” คลิกหน้า 4
ทำไมเด็กถึงมักไม่ค่อยจะเชื่อฟังคำของพ่อ-แม่
เมื่อเด็กมีอายุ 2-4 ขวบ ก็มาถึงขั้นที่พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ในช่วงนี้ เด็กต้องผ่านพ้นวิกฤตทางจิตใจ ที่ขี้อายและหวาดระแวง จนมีความกล้าในการแสดงออกซึ่งความปรารถนาของตน ดังนั้น เมื่อเด็กอยากทำบางสิ่งบางอย่าง พ่อแม่หรือผู้ดูแลก็ควรอนุญาตและยอมรับเขา ให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาพอมีความสามารถที่จะทำได้ เด็กก็จะได้รับความมั่นใจที่เขาสามารถควบคุมและส่งผลต่อสภาพแวดล้อม จนสร้างความกระตือรือร้นและความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมา ในทางกลับกันหากพ่อแม่หรือผู้ดูแลไม่เชื่อถือเด็ก หรือกลัวเด็กลำบาก ไม่ยอมให้เด็กได้ทดลองทำในสิ่งที่เขาอยากทำ เด็กก็จะเกิดความท้อแท้ หงุดหงิด และมีความรู้สึกอับอาย ตลอดจนเกิดความสงสัยในความสามารถของตนเอง (เอริคสัน: หลักจิตวิทยาของบุคคล)
แม่คนหนึ่งขอความช่วยเหลือมาทางออนไลน์ว่า
ลูกสาวของฉันอายุ 2 ขวบ 9 เดือน ทั้งฉลาดและน่ารัก แต่ว่าเป็นเด็กที่ใจร้อนไม่ว่าเรื่องอะไร หากไม่สมหวังก็จะอารมณ์เสียทันที ทั้งยังเป็นเด็กที่ดื้อไม่เคยเชื่อฟังผู้ใหญ่เลย เวลาร้องไห้ก็จะร้องเป็นเวลานานมากบางทีร้องไห้นานจนลืมเรื่องที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ร้องไห้ไป ถึงหยุดร้องแต่เมื่อไรที่นึกขึ้นได้ก็จะร้องไห้ต่ออีกนานเลย
เชื่อว่าแม่อีกหลายๆ คนต้องปวดหัวเรื่องการร้องไห้และการดื้อด้านของเด็กเหมือนกับแม่คนนี้ เด็กที่อายุ 3 ขวบนั้น เขามักจะอารมณ์เสียหลายครั้งต่อวันเป็นเรื่องปกติ บางทีมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน หรือไม่ก็พาเด็กออกไปเยี่ยมบ้านเพื่อน เด็กก็ส่งเสียงร้องไห้โฮหักหน้าพ่อแม่ จนพ่อแม่ไม่ค่อยอยากจะพาไปไหนด้วยหรือไม่ให้ใครมาเยี่ยมที่บ้านเลย แม่บางคนไม่เข้าใจว่าทำไมลูกถึงได้ดื้ออย่างนี้ พอเขาเห็นเด็กคนอื่นที่ดูเรียบร้อยเชื่อฟังพ่อแม่ ก็แอบอิจฉาอย่างแรงว่า ทำไมเด็กของเขาถึงไม่งอแงไม่ดื้อด้านช่างเรียบร้อยน่ารักดีจังเลย
- เด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมักไม่เชื่อฟังพ่อแม่
ที่จริงแล้วพ่อแม่ที่มีเด็ก “ดื้อ” นั้น ไม่ต้องปวดหัวอะไรหรอก เพราะการดื้อด้านยืนกรานนั้นสำหรับเด็กแล้ว คือแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาความสามารถและบุคลิกภาพของเขา
สรุปคือ เด็กที่มีความคิดเป็นของตนเอง ชอบขัดขืนคำสั่งของพ่อแม่เมื่อโตขึ้น มักมีโอกาสที่จะเป็นบุคคลที่มีความเข้มแข็ง และมีความสามารถ
อ่านต่อ “ของที่ทำเสียหาย มีคุณค่าเท่ากับโอกาสที่ได้ศึกษา” คลิกหน้า 5
ของที่เด็กทำเสียหาย มีคุณค่าไม่เท่ากับโอกาสที่เด็กได้ค้นคว้าศึกษา
นาย เถา สิง จือ เป็นนักศึกษาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของจีน วันหนึ่ง ผู้หญิงคนหนึ่งมาบ่นกับเขาว่า “คุณเถา ลูกชายของดิฉันซนมากเลย วันวันมีแต่ทำของในบ้านพังเสียหายหมด นี่เมื่อวานก็เพิ่งทำนาฬิกาเรือนทองที่ราคาแพงๆ ของพ่อเขาพัง ดิฉันจึงตีเขาไปหลายที โอ๊ย ไม่รู้จะทำยังไงดี” นายเถา ตอบเขาทันทีว่า “เสียดายจัง” หญิงคนนั้นได้ยินนายเถา พูดคำว่าเสียดาย นึกว่านายเถาก็คงเสียดายนาฬิกาทองของสามีเขาเหมือนกัน แต่นายเถากลับพูดต่อว่า “แอติสัน นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนในอนาคต ถูกคุณตีตายแล้ว”
พ่อแม่หลายท่านก็เคยมีประสบการณ์เช่นนี้เหมือนกัน ของเล่นที่เพิ่งซื้อมาใหม่เด็กได้เล่นแค่ไม่กี่วันเอง เมื่อเจอมันอีกทีก็กลายเป็นชิ้นส่วนที่แยกกันกองอยู่บนพื้นแล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงตุ๊กตาที่เพิ่งซื้อเข้าบ้านยังไม่ถึงอาทิตย์ ก็แขนหัก ขาหาย พ่อแม่เสียดายเงินจึงอดไม่ได้ที่จะต้องตะโกนว่า “ของเล่นตั้งแพง ลูกไม่รู้จักรักษาให้ดีๆ ต่อไปจะไม่ซื้อให้แล้วนะ”
- ทำความเข้าใจว่า ทำไมเด็กชอบทำลายข้าวของ
เวลาเด็กมีความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็มักจะแกะออกมาดูว่าข้างในมันมีอะไร โดยที่เขาไม่ได้นึกว่านี่คือการทำลาย แต่เขากลับคิดว่านี่คือ การค้นคว้าและเรียนรู้ สมองของเด็กเต็มไปด้วยคำถามที่มากมาย เช่น “ทำไมรถวิ่งได้” “ทำไมนาฬิกาถึงเดินได้” “ข้างในมันมีอะไรหนอ?” เขาจะจดจ่อกับสิ่งเหล่านี้และใช้สองมือเล็กๆ ของตนเองในการค้นหาคำตอบ พอเด็กแกะของออกเรียบร้อยแล้วและตรวจดูชิ้นส่วนเสร็จ เขาก็อยากจะนำชิ้นส่วนเหล่านี้มาประกอบติดกันใหม่ ให้คืนสภาพอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องด้วยความจำกัดของความสามารถ เขามักจะทำชิ้นส่วนหักหรือหายไปบางชิ้น จนมันซ่อมไม่ได้
เวลาเด็กทำอะไรสักอย่าง เขาไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่จะตามมาได้ เช่น เด็กที่ทำตุ๊กตาแขนหักนั้น เจตนาคือ เขาเห็นเสื้อผ้าของตุ๊กตามันสกปรกแล้ว จึงอยากถอดเสื้อมันออกไปซักให้ แต่ถอดยังไงก็ถอดไม่ออก จึงต้องหักแขนของตุ๊กตาออกเพื่อจะได้ถอดเสื้อไปซักให้ได้ สรุปว่า เด็กๆ อาจจะทำลายข้าวของก็จริง แต่ก็ทำไปด้วยเจตนาที่ดีก็เป็นได้
- รักษาแรงบันดาลใจในการค้นคว้าศึกษาของเด็ก
สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือ เข้าใจและสนับสนุนความคิดของเด็ก เราต้องเข้าใจว่า ของที่เด็กทำเสียหายนั้น มีคุณค่าไม่เท่ากับความสนใจของเด็กในด้านการค้นคว้าศึกษาหรอก สาเหตุที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ชอบทำลายของนั้น ไม่ใช่นิสัยไม่ดี หรือ ชอบยั่วโมโหเรา แต่มันคือใจที่อยากรู้อยากเห็นอย่างแรงกล้า
Save
Save
Save
Save
Save