AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไอคิวกับอีคิว แตกต่างกันอย่างไร

อะไรคือความแตกต่างระหว่าง ไอคิวกับอีคิว แล้วต้องเสริมลูกแบบไหน ถึงจะทำให้ลูกฉลาดยิ่ง ๆ ขึ้น!

 

 

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่าทั้ง ไอคิวกับอีคิว นั้นแตกต่างกันอย่างไร? วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้นำข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตมาฝากกัน พร้อมแนะลูกจะฉลาดอย่างเดียวไม่พอจะต้องเป็นคนดีด้วย แต่ก่อนที่เราจะไปอ่านต่อนั้น เรามาทำความรู้จักกับทั้งสองอย่างนี้พร้อม ๆ กันก่อนดีกว่าค่ะ

ไอคิว คืออะไร?

ไอคิว สามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Intelligence Quotient ถูกคิดค้นขึ้นโดย LM Terman เมื่อปี 1916 โดยหมายถึง ความฉลาดทางเชาว์ปัญญา โดยเฉพาะในเรื่องการคิด ความจำการใช้เหตุผล การคำนวณ และการเชื่อมโยง ซึ่งเป็นศักยภาพหรือความสามารถทางสมองที่แต่ละบุคคลมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดโดยถูกกำหนดจากพันธุกรรม จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ยาก

อ่านต่อ >> 7 สารอาหารต้องรู้ ดูแลสมอง สร้างไอคิว ให้ลูกรัก

ไอคิววัดระดับได้อย่างไร?

ทั้งนี้การที่จะวัดระดับไอคิวได้นั้น ต้องทดสอบความรู้ความสามารถในทักษะด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ การใช้ภาษา ความคิดเชิงตรรกะ การมองเห็น การจัดหมวดหมู่ ความจำ ความรู้ทั่วไป และความรวดเร็วในการคำนวณ

การจัดลำดับของไอคิว เป็นอย่างไร อ่านต่อได้ที่หน้าถัดไปค่ะ >>

 

อีคิว คืออะไร?

อีคิว เรียกอีกอย่างว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุขนั่นเองค่ะ ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1990 ซาโลเวย์  และเมเยอร์ สองนักจิตวิทยาได้นำความคิดนี้มาพูด  โดยเอ่ยถึงความฉลาดทางอารมณ์เป็นครั้งแรกว่า “เป็นรูปแบบหนึ่งของความฉลาดทางสังคมที่ประกอบด้วย ความสามารถในการรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น สามารถแยกความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้นและใช้ข้อมูลนี้เป็นทางชี้นำในการคิดและกระทำสิ่งต่างๆ”

จากนั้น แดเนียล โกลแมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดก็สานต่อแนวคิดนี้อย่างจริงจังโดยได้เขียนหนังสือเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์และได้ให้ความหมายของอีคิวว่า “เป็นความสามารถหลายด้าน ได้แก่ การเร่งเร้าตนเองไปสู่เป้าหมาย มีความสามารถควบคุมความขัดแย้งของตนเอง รอคอยเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถจัดการกับอารมณ์ที่สบายต่าง ๆ มีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง

อ่านต่อ >> สอนลูกมีความฉลาดทางอารมณ์ ด้วยการสร้าง 7 นิสัยเพิ่มสุขนี้!

อะไรคือ องค์ประกอบหลัก?

  1. การตระหนักรู้ตนเอง เป็นการรับรู้และเข้าใจ ความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนตามความเป็นจริง และสามารถควบคุมความรู้สึกได้
  2. ความสามารถในการบริหารจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด มีเทคนิคในการคลายเครียด สลัดความวิตกจริตรุนแรงได้อย่างรวดเร็วไม่ฉุนเฉียว สติแตกได้ง่าย
  3. เป็นการรับรู้อารมณ์และความต้องการของผู้อื่น เห็นอกเห็นใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม
  4. สามารถจูงใจตนเอง ควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถรอคอย ตอบสนองความต้องการได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดีกว่ามองโลกในแง่ดี สามารถจูงใจและให้กำลังใจตนเองได้
  5. สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

ทั้งไอคิวและอีคิว แตกต่างกันอย่างไร? อ่านต่อคลิก!

 

 

ไอคิวกับอีคิว แตกต่างกันอย่างไร?

ดังจะเห็นได้ว่า ไอคิวนั้นเป็นความฉลาดทางสติปัญญาที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเป็นความฉลาดทางด้านการคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ ความจำ และการเชื่อมโยง ซึ่งสามารถวัดและประเมินออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้นั่นเองค่ะ

  พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ให้ลูกฉลาดอย่างเดียวก็คงจะไม่เพียงต้องให้ลูกเป็นคนดีด้วย พร้อมแนะ 3 วิธีเสริมดังนี้

จะเห็นได้ว่า เราจะเลี้ยงลูกให้ฉลาดอย่างเดียวเลยก็คงไม่พอ ดังนั้นเรามาส่งเสริมให้ลูกน้อยของเราทั้งฉลาดและเป็นคนดี เพื่อให้พวกเขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมกันดีกว่านะคะ

เครดิต: กรมสุขภาพจิต

อ่านต่อเนื้อหาอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids