“จบดร.สูง แต่พูดภาษาคนไม่รู้เรื่อง จบการศึกษาสารพัดปริญญาเลย แต่นั่งวงไหนก็แตกวงนั้น”
นายแพทย์สุิยเดช ได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ครอบครัวที่มั่งคั่งมีอันจะกิน ครอบครัวมีการศึกษาสุง และเป็นครอบครัวที่อยู่ด้วยกันไม่ได้หย่าร้าง สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือยเต็มที่ แต่ปรากฎว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือเลี้ยงลูกมีภูมิชีวิตต่ำ จนในที่สุดลูกอ้วน เอาแต่ใจ ปรนเปรอเต็มที่ ลูกต้องการอะไรให้ได้หมด ลูกต้องการติววิชากับสถาบันกาววิชา เงินไม่อั้น ซื้อคอนโด เช่าคอนโด ซื้อรถ ทำได้ทุกอย่าง ทั้งที่เป็นครอบครัวมีกิน อยู่ด้วยกัน แต่ “เลี้ยงลูกแบบสำลักความรัก”
แล้วกลายเป็นประเด็นว่า จะมีความเสี่ยง แล้วอันนี้เราเคยทำงานวิจัยเมื่อหลายปีที่แล้วเปรียบเทียบกันเลย ผลปรากฎว่า ครอบครัวประเภทแรกที่มีสภาวะยากลำบากทั้งหลายเลี้ยงลูกมีความเสี่ยงต่อยาเสพติด 1-2 เท่า แต่ในกลุ่มที่ใช้คำว่า “มีพร้อม” ทุกอย่าง แต่เลี้ยงลูกมีทุนชีวิตต่ำ กลับเสี่ยงต่อยาเสพติดมาก 3-10 เท่าตัว!!
นี่จึงกลายเป็นประเด็นที่เรากำลังชวนสังคมมองว่า ณ วันนี้ ไม่ใช่ว่าคุณจะมีบ้าน มีจะกิน ปรนเปรอลูกเต็มที่ แล้วแปลว่า ลูกทุกคนจะเป็นคนดี มันไม่แน่หรอก แล้วคำว่าทุนชีวิตคืออะไร คือทักษะชีวิตบวกจิตสำนึกต่อตนเองและต่อสังคม
ถ้าเลี้ยงลูกมีทักษะชีวิตบวกจิตสำนึกทั้งต่อตนเอง ต่อสังคมต่ำ จะเกิดสภาวะพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กสารพัดรูปแบบเลย ต้องอยู่ที่กระบวนการให้พัฒนาลูกหลานมีทั้งบทบาททางกายภาพ สภาวะทางจิตใจ บทบาทในสังคม มีทักษะชีวิตและจิตสำนึกทั้งต่อตนเองและสังคม