AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

มาดู “ประเภทของเด็กวายร้าย”แก้นิสัยเด็กดื้อให้ทันก่อนเข้าสู่วัยรุ่น

ไม่อยากให้ลูกเป็นเด็กวายร้าย ป้องกันคำพูดของคนอื่นที่หาว่าเลี้ยงลูกแบบสปอยล์มากเกินไป มาดูกันว่าทำอย่างไรลูกถึงจะเป็นเด็กดี มาดูประเภทของเด็กวายร้ายกันค่ะ

ลูกน้อยอาจกลายเป็นเด็กที่ไม่เคยพอใจอะไรเลย ไม่ว่าจะได้ของมากเท่าไหร่ก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จึงควรคำนึงถึงผลกระทบ 3 ข้อนี้

1.ทำให้เกิดพฤติกรรมอันตราย

เด็กที่ต้องการของขวัญตลอดเวลา อาจส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่ดี จากการวิจัยของ University of Missouri พบว่า เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นจะเป็นทุกข์กับหนี้สิน บัตรเครดิต การพนัน และเสพติดการช็อปปิ้ง กลายเป็นความอยากที่ไม่รู้จักพอ

2.ทำให้คุณค่าในตัวเองลดลง

 

สิ่งที่มากเกินไปไม่ได้เพิ่มคุณค่า การได้สิ่งของ กับ ความสุขนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกัน มีเด็กๆ ที่มีสิ่งของน้อยกว่า แต่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่และเพื่อนๆ จะมีปัญหาพฤติกรรมน้อยกว่า และยืดหยุ่นเมื่อเผชิญกับอุปสรรคมากกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่พ่อแม่ตามใจมากเกินไป

 

3.พรากความสุขที่ยั่งยืนของเด็กๆ ไป

นักวิจัยจาก Journal of Happiness ของมหาวิทยาฮาร์วาร์ด พบว่า คนเราให้คุณค่ากับของขวัญที่เราซื้อให้คนอื่นมากกว่าของขวัญที่เราซื้อให้ตัวเอง การสอนให้ลูกรู้จักการให้ จะช่วยเสริมการเรียนรู้ระหว่างคน และเพิ่มความสุขของตัวเอง ขณะที่เด็กที่รู้เพียงคุณค่าของการรับของขวัญ จะโตเป็นคนที่เห็นตัวเองเป็นศูนย์กลาง และขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

อ่านต่อ “ประเภทของเด็กวายร้าย” คลิกหน้า 2

ประเภทของ เด็กวายร้าย

เด็กน้อยจอมแสบ ที่ชอบป่วนใส่พ่อแม่ เพื่อให้พ่อแม่ตามใจ มักจะได้ของขวัญมากกว่าเด็กที่ไม่ป่วนพ่อแม่ ซึ่งมี 3 ประเภท ได้แก่

1.วายร้ายจอมต่อต้าน

จะเรียกร้องของขวัญ รู้สึกว่าตัวเองต้องมีสิทธิ์ ใช้วิธีข่มขู่ให้การตัดสินใจของพ่อแม่ค่อยๆ แย่ลง จนพ่อแม่ต้องซื้อของขวัญให้ เพื่อซื้อความสงบสุข แต่ก็ไม่พอ ยิ่งให้เท่าไร ยิ่งพอใจน้อยเท่านั้น ยิ่งต้องการมากขึ้น

 

2.วายร้ายขี้กังวล

ตีความของขวัญเป็นความรัก จะรู้สึกว่าขาดแคลนตลอดเวลา ชอบเปรียบเทียบและรู้สึกสิ้นหวังกับเพื่อน กังวลว่าตัวเองจะมีไม่พอ กลัวการถูกทอดทิ้งหรือถูกลืม ทำให้พ่อแม่รู้สึกผิดและละอายใจจนต้องซื้อของให้เพิ่ม

3.วายร้ายนักหว่านล้อม

ใช้ประโยชน์จากความไม่มั่นใจของพ่อแม่ โดยการโกหกและจูงใจเพื่อให้ได้สิ่งที่เขาต้องการ รู้ว่าต้องกระทุ้งจุดไหนเพื่อให้พ่อแม่สั่นคลอน ทำทุกวิธีเพื่อให้ได้ของขวัญ แม้จะได้สิ่งที่อยากได้ไปแล้ว เด็กแบบนี้จะวางแผนต่อทันที

อ่านต่อ “ประเภทของเด็กวายร้าย” คลิกหน้า 3

1.ตั้งข้อจำกัดกับของขวัญ

ของขวัญที่มีความหมายให้คุณค่าทางจิตใจมากกว่าของขวัญกองโต การตั้งข้อจำกัดของขวัญจะกระตุ้นความเอาใจใส่และการคิดพิจารณาของเด็กๆ มากขึ้น และเป็นการย้ำว่าทุกคนจะได้ทั้งการให้และการรับอย่างเท่าเทียม ของขวัญทำมือ เช่น งานศิลปะ หรือแต่งกลอน จะสร้างความทรงจำที่ยืนยาวกว่าสิ่งของทั่วไป

 

2.รักษากำหนดเวลาและกฎในบ้าน

ไม่ปล่อยปละเวลานอน เวลาช่วยงานบ้าน และกฎในบ้านอื่นๆ ถ้าไม่มีกฎ ความประพฤติของเด็กๆ จะแย่ลง เช่น ถ้าลูกสามารถกินขนมได้ไม่จำกัด ตื่นตลอดคืน นอนหลับทั้งวัน เราจะได้พบอารมณ์ร้าย และอาการพาลของลูกแน่นอน

 

3.เน้นของขวัญที่เสริมสร้างคุณค่าในตัวลูก

หาของขวัญที่ช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษ หรือทักษะการเคลื่อนไหว เช่น เครื่องดนตรี อุปกรณ์ศิลปะ อุปกรณ์ถ่ายภาพ เป็นต้น เด็กๆ ชอบการค้นหาความสามารถใหม่ๆ ของตัวเอง สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกมีความมั่นใจ ได้เรียนรู้ว่าเขาไม่จำเป็นต้องมีสิ่งของมากมายเพื่อให้รู้สึกดีต่อตัวเอง

4.สอนให้รู้จักความสุขของการให้

เด็กๆ ที่มีพ่อแม่ส่งเสริมการให้ของขวัญกับผู้อื่น จะเรียนรู้ได้ดีกว่าในสังคมและคน ช่วยให้ลูกๆ เรียนรู้คุณค่าของการให้ โดยพาไปร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ เช่น งานอาสาสมัคร หรือช่วยผู้ที่ลำบาก

ที่มา : Psychologytoday.com
ภาพจาก : nogreaterjoy.org, linkedin.com

Save