AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สอนลูกให้รู้จัก “พื้นที่ส่วนตัว” ป้องกันถูกละเมิดทางเพศ

เครดิตภาพ : http://cutebabypictures.org/

พื้นที่ส่วนตัว หรือ พื้นที่ต้องห้าม ของลูก เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกเข้าใจตั้งแต่ยังเล็ก อย่าคิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย หรือคิดว่าเรื่องแบบนี้เดี๋ยวโตขึ้นลูกก็รู้เอง เพราะลูกของคุณอาจพลาด ตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศโดยไม่รู้ตัว อย่างกรณีของผู้หญิงคนนี้

จากกรณีที่ผู้หญิงคนหนึ่งได้เล่าเรื่องราวความผิดพลาดในชีวิต สมัยยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นป.2 เธอถูกลูกเพื่อนสนิทของพ่อที่อยู่ข้างบ้านขอมีเพศสัมพันธ์ด้วย เธอยอมให้เขาทำ เพราะคิดว่ามันคือการเล่นกัน แต่เมื่อเธอโตพอที่จะรู้แล้วว่า สิ่งนั้นเรียกว่าการมีเพศสัมพันธ์ เธอรู้สึกเสียใจมาก เกลียดตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชายคนที่ทำร้ายเธอ เอาเรื่องของเธอไปเล่าให้เด็กคนอื่นๆ ฟังหมด แถมยังคอยตอกย้ำ เยาะเย้ยให้อับอายอยู่แทบทุกวัน เธอพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง คิดวนเวียนซ้ำๆ จมอยู่กับความทุกข์ทรมาน จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า เธอจึงมาเตือน คุณพ่อคุณแม่ให้เห็นความสำคัญของการสอนลูกเรื่องเพศ และรู้จักพื้นที่ส่วนตัว ให้ลูกรู้ว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ เพื่อไม่ให้ลูกต้องมีตราบาปติดตัวเหมือนเธอ (อ่านเรื่องเต็มๆ ได้ที่ลิงค์นี้ http://pantip.com/topic/35934798)

หากจะถามว่าการสอนลูกเรื่องเพศควรเริ่มเมื่อไหร่ ฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังคิดว่าเรื่อง “เพศ” เป็นเรื่องน่าอับอาย ไม่ควรพูดถึง ส่งผลให้เด็กไทยจำนวนมากไม่กล้าถาม  ไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ จึงเชื่อเพื่อน เชื่อแฟน มีความสัมพันธ์ทางเพศโดยไม่ป้องกัน ทำให้เกิดโรคติดต่อ เด็กผู้หญิงตั้งครรภ์ขณะเรียนหนังสือหรือบางคนทำแท้งซ้ำแล้วซ้ำอีก ปัญหาเหล่านี้มีทั้งทางป้องกันและการแก้ไข ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะสอนเรื่องเพศให้เด็กรู้ตั้งแต่เมื่อไหร่และปัญหาของเด็กแต่ละวัยมีอะไรบ้าง นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทราบเพื่อนำไปสอนลูกเรื่องเพศ ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สอนเรื่องเพศลูกวัยอนุบาล

เริ่มจากการตอบคำถาม

“หนูเกิดมาจากไหน” นี่เป็นคำถามที่ผู้ใหญ่หลายคนตอบไม่ถูก ซึ่งคงต้องย้อนกลับไปดูทัศนคติของพ่อแม่ที่มีต่อเรื่องนี้ เพราะถ้าพ่อแม่คิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอับอาย ไม่น่าพูดถึง พ่อแม่ไม่พูด ลูกก็ไม่กล้าถาม แต่ถ้าพ่อแม่พูดคุยได้ทุกเรื่องลูกก็จะกล้าถาม กล้าปรึกษา และกล้าที่จะเปิดเผย ไม่ปิดปัง

ตัวอย่างคำถามที่พบบ่อยๆ

ถาม “หนูเกิดมาจากไหน”
ตอบ “หนูเกิดจากพ่อนะลูก ลูกอยู่กับพ่อ แล้วมาอยู่กับแม่ มาอยู่ในท้องแม่”
ถาม “แล้วหนูเข้าไปอยู่ในท้องแม่ได้อย่างไร”
ตอบ “ทางช่องคลอด แล้วหนูอยู่ตรงนี้จนโต”ชี้ที่ท้อง
ถาม “หนูออกมาจากท้องแม่ได้อย่างไร”
ตอบ “ผู้หญิงมีช่องคลอด ลูกออกมาจากทางนั้น”

นี่เป็นตัวอย่างการพูดคุยง่ายๆ กับเด็กวัยอนุบาล ซึ่งต้องการคำอธิบายที่ชัด กระชับ เข้าใจง่าย เมื่อเด็กถามแล้ว อาจนำคำถามเดิมมาถามซ้ำอีก พ่อแม่ก็อย่าเพิ่งรำคาญ เพราะวัยนี่จะถามบ่อยๆ ซ้ำๆ เป็นเรื่องปกติ พ่อแม่คอยตอบคำถามที่เช้าใจง่ายก็พอแล้ว เพราะสิ่งที่เด็กต้องการจริงๆ คือความรัก ความมั่นคง ความปลอดภัยจากครอบครัว

สอนลูกให้รู้จักรักและดูแลตัวเอง
การสอนลูกให้รู้จักพื้นที่ของตนเอง เป็นอีกเรื่องที่สอนเชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี โดยสอนให้เด็กรู้จักอวัยวะของตัวเอง เช่น หัว ไหล่ หน้าอก จิ๋ม ก้น แขน ขา เป็นต้น และให้เด็กได้เรียนรู้ว่า ส่วนไหนของร่างกายเป็น พื้นที่ส่วนตัว ที่เด็กๆ มีสิทธิที่จะปกป้อง ไม่ให้คนอื่นมาจับต้อง หรือทำร้าย และอวัยวะส่วนไหนที่เด็กๆ ไม่ชอบให้จับต้อง เด็กๆ ก็มีสิทธิในร่างกายนั้น

เครดิตภาพ : http://www.parenting.com/

สอนเรื่องเพศลูกวัยประถม

ร่างกายมีผลต่อจิตใจ
เมื่อเด็กเข้าสู่วัยประถม การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะเห็นได้ชัด และเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องเตรียมตัวที่จะพูดถึงสถานการณ์ต่างๆ เช่น

สอนเรื่องเพศลูกวัยรุ่น

การจัดการอารมณ์ทางเพศ

เมื่อมีความต้องการทางเพศหรือมีอารมณ์ทางเพศ วิธีการจัดการมีหลายวิธีอย่างที่เรารู้กันคือ การใช้ทักษะชีวิตที่เราสอนเด็กตั้งแต่เล็ก  ในเรื่องการจัดการปัญหา การจัดการความรู้สึก  การเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ เป็นต้น

มีคำถามว่า “ช่วยตนเองผิดหรือไม่” การช่วยเหลือตนเองทางเพศ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เป็นการปลดปล่อยอย่างหนึ่งและไม่ผิด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ความถี่หรือวิธีที่ใช้ ซึ่งประเด็นสำคัญ คือ การปลดปล่อยนั้นต้องไม่ทำร้ายตนเอง ไม่ทำร้ายหรือคุกคามคนอื่น

เพราะฉะนั้น การมีทัศนคติ และความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้องสำหรับพ่อแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะส่งผลถึงการเข้าใจในการสอนและการพูดคุยกับลูกเรื่องเพศ  เพราะเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ สามารถเรียนรู้ได้ แลกเปลี่ยนได้ ถามได้ ตอบได้ ไม่ใช่เรื่องผิด

ที่สำคัญ คนที่จะให้คำตอบและพูดคุยกับลูกเรื่องนี้ได้ดีที่สุด ก็คือ พ่อแม่

พ่อแม่ต้องพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้เด็กสบายใจ ไม่กังวล ได้รู้และเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น รู้วิธีที่จะดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม รู้จักรักษาความสะอาด และเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีผลกับอารมณ์และจิตใจ ที่สำคัญ เป็นเรื่องปกติตามวัยที่ทุกคนต้องเจอ

อ่านต่อ>> พฤติกรรมพ่อแม่ ตัวการกระตุ้นพฤติกรรมทางเพศของลูก คลิกหน้า 2

เครดิตภาพ : http://www.ibtimes.co.uk/

จากกรณีเด็กป.สองถูกเพื่อนชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ ทำให้เราเห็นว่า พฤติกรรมของพ่อแม่ เป็นตัวการที่กระตุ้นพฤติกรรมทางเพศของลูกชายโดยตรง เนื่องจาก พ่อแม่ชอบมีเซ็กส์ให้ลูกเห็น เด็กจึงเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่ และเล่นแบบที่ผู้ใหญ่เล่นกัน

นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่าโดยทั่วๆ ไป เด็กจะสนใจเรื่องเพศอย่างจริงจังเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี ยกเว้นแต่ว่ามีสิ่งไปกระตุ้นก่อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ปัจจัยด้านร่างกายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศ ที่ไม่เหมาะสมหรือมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งยังไม่ถูกต้องทีเดียวนัก เพราะพฤติกรรมทางเพศดังกล่าวส่วนสำคัญ เป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านจิตใจ และทางสังคม โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านสังคม ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ ถือเป็นแบบอย่างการแสดงออกทางเพศที่ไม่ดี และไม่เหมาะสมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเสพสื่อลามกเพื่อใช้ปรนเปรอตนเอง ในเรื่องเพศ การมีพฤติกรรมทางเพศ แบบเปิดเผย เช่น เดินกอดจูบ เล้าโลมในที่สาธารณะ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังรวมถึงสื่อต่างๆ ที่แสดงออกถึงเรื่องเพศ แม้ไม่ถึงขั้นการร่วมเพศ แต่แสดงให้เห็นว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางเพศเป็นวิถีปกติ โดยเฉพาะภาพยนตร์ต่างประเทศ ที่จะเน้นฉากเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น การกอดจูบลูบคลำ เล้าโลมทางเพศ ซึ่งมีฉากเหล่านี้ในหนังทุกเรื่องเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

พฤติกรรมทางเพศของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ถือเป็นแบบอย่างต่อเด็กโดยตรง และส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศของเด็ก มากกว่าการใช้สื่อหรือเห็นจากสื่อลามก เพราะการดูจากสื่อหรือภาพยนตร์อาจมีผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก แต่ไม่ส่งผลมากเท่ากับการที่เด็กได้เห็นจากแบบอย่างในชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้โดยธรรมดา เด็กจะรู้สึกเหมือนกับตนเองตกอยู่ภายในบรรยากาศนั้นด้วย

เมื่อเปรียบเทียบกับการดูภาพยนตร์ เด็กจะไม่รู้สึกว่าอยู่ในบรรยากาศของการมีเพศสัมพันธ์มากนัก ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีผู้คนมากมาย และเป็นที่สาธารณะ แต่ถ้ามีคนแสดงให้เห็น เด็กจะรู้สึกเหมือนตกอยู่ในบรรยากาศนั้นจริงๆ

เช่น เด็กอายุ 9 ปี ซึ่งฮอร์โมนเพศยังไม่ทำงาน แต่ชวนเด็กอายุ 8 ปี มามีเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะเห็นพ่อแม่มีเพศสัมพันธ์กันต่อหน้า พ่อแม่ทำเหมือนไม่มีเด็กอยู่ในที่นั้น และคิดว่าเด็กคงไม่เข้าใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศ ตั้งแต่ยังเล็กหรือจำความได้ และมีการเรียนรู้เรื่องเพศมาตลอด เพียงแต่เด็กไม่เคยเรียนรู้ในลักษณะของการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะฮอร์โมนเพศของเด็กยังไม่ทำงาน และไม่มีใครแสดงบทบาทนั้นให้ดู แต่การที่พ่อแม่แสดงออกทางเพศ ที่ไม่เหมาะสมให้เด็กเห็นเท่ากับ เป็นการกระตุ้นเร่งเร้าเด็กในเรื่องเพศ ทำให้เด็กมีความสนใจ และมีพฤติกรรมในเรื่องเพศเร็วกว่าวัย ซึ่งเป็นสาเหตุทางสังคมที่สำคัญที่สุด ที่ต้องระมัดระวัง

การปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องเพศของพ่อแม่ แสดงออกซึ่งความรักและบทบาททางเพศที่เหมาะสม เพราะผลพวงที่เกิดขึ้นจากการได้เห็นแบบอย่างที่ดี ถือเป็นต้นแบบที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ และมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม อีกทั้งไม่เสี่ยงต่อภัยทางเพศในทุกๆ รูปแบบ

อ่านต่อ>> กฎทอง 7 ข้อ สร้างความปลอดภัยให้เด็ก คลิกหน้า 3

เครดิตภาพ : http://revolutionaryparent.com/

ครูพิม นักจิตวิทยาพัฒนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กวัย 0-6 ปี ได้แนะนำวิธีสอนลูกเล็กวัย 3- 8 ขวบ ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศไว้ว่า เด็กวัยนี้อาจจะต้องมีช่วงเวลาที่ต้องห่างคุณพ่อคุณแม่บ้าง เช่น การไปโรงเรียน การไปบ้านญาติ บ้านเพื่อน ที่ไกลหูไกลตาคุณพ่อคุณแม่ แต่ก็ยังไม่โตพอที่จะเข้าใจเจตนาของคนอื่นที่อาจต้องการมาคุกคามและยังไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ และแน่นอนว่า ในฐานะนักจิตวิทยาเด็ก การสอนของเราจึงไม่ใช่การสอนแบบทั่วๆ ไป ซึ่งอาจไม่ได้ผล แต่เราจะใส่ความเข้าใจในพัฒนาการและลักษณะของเด็กแต่ละช่วงวัยเข้าไปด้วย ดังนั้นสิ่งที่เราจะเลือกสอนให้เด็กๆ ในวัยนี้นั้น จะผ่านวิธีการนำเสนอที่เป็นการพูดคุยแบบธรรมดาๆ คั่นระหว่างการเล่นสนุกกับลูก หรือท่องเป็นกฎก่อนนอน ทบทวนด้วยการลองพูดสมมติเหตุการณ์บ้างในบางครั้ง เพื่อให้เด็กๆ รู้จักการเอาตัวรอดในเบื้องต้น โดยตัวอย่างคำพูดที่เราจะนำมาใช้สอนเด็กๆ ให้เข้าใจและนำไปใช้ได้ง่ายที่สุด มีดังนี้

กฎทอง 7 ข้อ สร้างความปลอดภัยให้เด็ก

1) “นอกจากพ่อ/แม่และ (ชื่อคนที่ไว้ใจได้) แล้ว หนูอย่าให้ใครมาจับอวัยวะในพื้นที่ส่วนตัวของหนูได้นะคะ/ครับ”

2) “เราเองก็จะไม่จับหรือเล่นอวัยวะในพื้นที่ส่วนตัวของเพื่อนๆ เหมือนกันนะคะ/ครับ รู้ไหมลูก”

3) “เราจะไม่ให้คนอื่นมาถ่ายรูปอวัยวะในพื้นที่ส่วนตัวของเรานะลูก”

4) “เราจะเล่นหรืออยู่กับคนอื่นตอนที่เราใส่เสื้อผ้าอยู่เท่านั้นนะคะ/ครับ”

5) “เวลาที่หนูถอดเสื้อผ้าได้ก็หนูคือ เวลาอาบน้ำ/เวลาเปลี่ยนเสื้อผ้าและเวลาเข้าห้องน้ำแค่นั้นนะคะ/ครับ” (หรือบางกรณีอาจรวมเวลาพบแพทย์ด้วยก็ได้ค่ะ)

6) “ถ้าใครไม่ทำตามกฎที่แม่สอน ให้หนูพูดว่า”ไม่”ดังๆ และวิ่งหนีจากเขาไปเลยนะลูก”

7) “ถ้ามีคนมาบอกหนูว่า “อย่าบอกเรื่องนี้กับใครนะ” ให้หนูรีบมาบอกพ่อ/แม่ ได้เลย ว่าเขาพูดหรือว่าทำอะไรกับหนู”

*อธิบายศัพท์ อวัยวะในพื้นที่ส่วนตัว = อวัยวะเพศ/หน้าอก/ก้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกเด็กๆ ตามศัพท์ที่บ้านนั้นๆ ใช้เรียกได้เลยค่ะ โดยใช้คำที่เด็กเข้าใจมากที่สุดเป็นหลัก

เป็นอย่างไรบ้างคะ กับกฎ 7 ข้อในมุมมองของนักจิตวิทยาเด็ก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปใช้สอนเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยจากการถูกคุมคามทางเพศ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทบวนความเข้าใจของลูกได้ โดยการถามว่า ตรงไหนบ้างนะคะ ที่แม่เคยสอนว่า ไม่ให้คนอื่นมาจับ/ถ่ายรูป/ดู” ซึ่งทั้งหมดนี้ให้เราสอนด้วยน้ำเสียงจริงจังแต่ไม่ใช่การ “ดุ” นะคะ เพราะการใช้น้ำเสียงหรือการสอนที่เสมือนการลงโทษ เด็กอาจเข้าใจผิดคิดว่าอวัยวะเหล่านั้นเป็นส่วนที่ไม่ดี หรือทำให้เกิดอันตราย ซึ่งจะนำไปสู่การรู้สึกผิดหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเองได้ค่ะ ซึ่งจะผิดไปจากเจตนาที่เราตั้งใจจะสอนเขา  เรื่องของวิธีการสอนจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับสิ่งที่เราจะสอนค่ะ

 


ขอบคุณข้อมูลจาก Pantip , pimandchildren , familynetwork , teenrama

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids