สอนลูกให้รู้จัก "พื้นที่ส่วนตัว" ป้องกันถูกละเมิดทางเพศ - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
พื้นที่ส่วนตัว

สอนลูกให้รู้จัก “พื้นที่ส่วนตัว” ป้องกันถูกละเมิดทางเพศ

account_circle
event
พื้นที่ส่วนตัว
พื้นที่ส่วนตัว
สอนลูกสาวเรื่องเพศ
เครดิตภาพ : http://revolutionaryparent.com/

ครูพิม นักจิตวิทยาพัฒนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กวัย 0-6 ปี ได้แนะนำวิธีสอนลูกเล็กวัย 3- 8 ขวบ ให้ปลอดภัยจากการคุกคามทางเพศไว้ว่า เด็กวัยนี้อาจจะต้องมีช่วงเวลาที่ต้องห่างคุณพ่อคุณแม่บ้าง เช่น การไปโรงเรียน การไปบ้านญาติ บ้านเพื่อน ที่ไกลหูไกลตาคุณพ่อคุณแม่ แต่ก็ยังไม่โตพอที่จะเข้าใจเจตนาของคนอื่นที่อาจต้องการมาคุกคามและยังไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ และแน่นอนว่า ในฐานะนักจิตวิทยาเด็ก การสอนของเราจึงไม่ใช่การสอนแบบทั่วๆ ไป ซึ่งอาจไม่ได้ผล แต่เราจะใส่ความเข้าใจในพัฒนาการและลักษณะของเด็กแต่ละช่วงวัยเข้าไปด้วย ดังนั้นสิ่งที่เราจะเลือกสอนให้เด็กๆ ในวัยนี้นั้น จะผ่านวิธีการนำเสนอที่เป็นการพูดคุยแบบธรรมดาๆ คั่นระหว่างการเล่นสนุกกับลูก หรือท่องเป็นกฎก่อนนอน ทบทวนด้วยการลองพูดสมมติเหตุการณ์บ้างในบางครั้ง เพื่อให้เด็กๆ รู้จักการเอาตัวรอดในเบื้องต้น โดยตัวอย่างคำพูดที่เราจะนำมาใช้สอนเด็กๆ ให้เข้าใจและนำไปใช้ได้ง่ายที่สุด มีดังนี้

กฎทอง 7 ข้อ สร้างความปลอดภัยให้เด็ก

1) “นอกจากพ่อ/แม่และ (ชื่อคนที่ไว้ใจได้) แล้ว หนูอย่าให้ใครมาจับอวัยวะในพื้นที่ส่วนตัวของหนูได้นะคะ/ครับ”

2) “เราเองก็จะไม่จับหรือเล่นอวัยวะในพื้นที่ส่วนตัวของเพื่อนๆ เหมือนกันนะคะ/ครับ รู้ไหมลูก”

3) “เราจะไม่ให้คนอื่นมาถ่ายรูปอวัยวะในพื้นที่ส่วนตัวของเรานะลูก”

4) “เราจะเล่นหรืออยู่กับคนอื่นตอนที่เราใส่เสื้อผ้าอยู่เท่านั้นนะคะ/ครับ”

5) “เวลาที่หนูถอดเสื้อผ้าได้ก็หนูคือ เวลาอาบน้ำ/เวลาเปลี่ยนเสื้อผ้าและเวลาเข้าห้องน้ำแค่นั้นนะคะ/ครับ” (หรือบางกรณีอาจรวมเวลาพบแพทย์ด้วยก็ได้ค่ะ)

6) “ถ้าใครไม่ทำตามกฎที่แม่สอน ให้หนูพูดว่า”ไม่”ดังๆ และวิ่งหนีจากเขาไปเลยนะลูก”

7) “ถ้ามีคนมาบอกหนูว่า “อย่าบอกเรื่องนี้กับใครนะ” ให้หนูรีบมาบอกพ่อ/แม่ ได้เลย ว่าเขาพูดหรือว่าทำอะไรกับหนู”

*อธิบายศัพท์ อวัยวะในพื้นที่ส่วนตัว = อวัยวะเพศ/หน้าอก/ก้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกเด็กๆ ตามศัพท์ที่บ้านนั้นๆ ใช้เรียกได้เลยค่ะ โดยใช้คำที่เด็กเข้าใจมากที่สุดเป็นหลัก

เป็นอย่างไรบ้างคะ กับกฎ 7 ข้อในมุมมองของนักจิตวิทยาเด็ก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปใช้สอนเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยจากการถูกคุมคามทางเพศ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทบวนความเข้าใจของลูกได้ โดยการถามว่า ตรงไหนบ้างนะคะ ที่แม่เคยสอนว่า ไม่ให้คนอื่นมาจับ/ถ่ายรูป/ดู” ซึ่งทั้งหมดนี้ให้เราสอนด้วยน้ำเสียงจริงจังแต่ไม่ใช่การ “ดุ” นะคะ เพราะการใช้น้ำเสียงหรือการสอนที่เสมือนการลงโทษ เด็กอาจเข้าใจผิดคิดว่าอวัยวะเหล่านั้นเป็นส่วนที่ไม่ดี หรือทำให้เกิดอันตราย ซึ่งจะนำไปสู่การรู้สึกผิดหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเองได้ค่ะ ซึ่งจะผิดไปจากเจตนาที่เราตั้งใจจะสอนเขา  เรื่องของวิธีการสอนจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กับสิ่งที่เราจะสอนค่ะ

 


ขอบคุณข้อมูลจาก Pantip , pimandchildren , familynetwork , teenrama

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up