4 เทคนิคพูดให้ลูกยอมฟัง - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids

4 เทคนิคพูดให้ลูกยอมฟัง

Alternative Textaccount_circle
event

เหตุผลที่อาจทำให้เจ้าตัวเล็กไม่ยอมฟังสิ่งที่พ่อแม่พูด หรือต่อต้าน อาจเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่พูดมากหรือพูดวกวน ยืดยาวจนลูกไม่มีโอกาสได้พูดจึงใช้วิธีไม่ยอมรับฟังเพื่อเป็นการต่อต้านแทน

  • ขอลองสักหน่อย!

ลูกอยากทดสอบอำนาจของพ่อแม่และความเป็นอิสระของตนเองไปพร้อมกัน เขารู้สึกสนุกเมื่อเห็นพ่อแม่คอยย้ำเตือนไม่รู้อีกกี่ครั้งกี่หน “ไม่ได้ยินเหรอลูก แม่บอกตั้ง 3 ครั้งแล้วว่าให้เก็บตุ๊กตาพวกนั้น”

  • ไม่ได้ยินจริงๆ

บางครั้งเจ้าตัวเล็กก็หมกมุ่นอยู่กับการเล่นหรือตั้งใจทำอะไรอยู่ จนไม่ได้ยินเสียงพูดของพ่อแม่ หรือแม้แต่เสียงอื่นที่ดังอยู่รอบตัว

วิธีช่วยให้ลูกตั้งใจรับฟังสิ่งที่คุณพูด

1. รับฟังสิ่งที่เขาพูด

บ่อยครั้งที่พ่อแม่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่เคยรับฟังสิ่งที่ลูกพูด แม้สิ่งที่ลูกพูดอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับคุณ แต่มันก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเขามาก หากคุณรับฟังสิ่งที่ลูกพูด เขาก็จะฟังสิ่งที่คุณพูดเช่นกัน

2. ปรับเปลี่ยนวิธีการพูด

พ่อแม่บางคนอาจจะออกคำสั่งที่ลูกไม่เข้าใจ หรือสั่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน การบอกลูกว่า “เอาผ้าเช็ดตัวไปแขวนให้เรียบร้อย” ขณะที่เขายังสูงไม่พอที่จะเขย่งถึงราว หรือ “เก็บของเล่นพวกนั้นให้หมด” ทั้งที่ลูกยังไม่รู้ว่าจะต้องเก็บที่ไหนหรือต้องเริ่มเก็บอย่างไรทำให้ลูกสับสนและไม่อยากรับฟังในที่สุด ดังนั้นควรสอนทักษะต่างๆ ก่อนจะบอกให้ลูกทำสิ่งนั้น และควรบอกด้วยคำง่ายๆ ชัดเจน

3. บอกเมื่ออยู่ใกล้ตัว

อย่าสั่งให้ลูกทำอะไรขณะที่คุณอยู่อีกฟากหนึ่งของห้องหรือขณะที่หันหลังให้ลูก เมื่อต้องการบอก คุณควรเดินเข้าไปใกล้ตัวลูก มองตา แล้วพูดช้าๆ ด้วยเสียงนุ่มนวล หากก้มตัวให้อยู่ในระดับเดียวกับลูกได้ยิ่งดีค่ะ

4. ใช้วิธีอื่น

ถ้าการพูดไม่ทำให้เขาสนใจลองหาวิธีอื่นที่จะเรียกความสนใจลูกได้ เช่น ถ้าลูกไม่ยอมฟังเมื่อคุณเตือนหลายครั้งแล้วว่าอย่ายุ่งกับตู้เก็บเอกสารนั้น คุณอาจพาเขาไปห้องอื่น หรือให้ทำกิจกรรมอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ

หากลูกไม่ยอมตอบรับเมื่อคุณเรียกไปกินข้าว คุณก็สามารถเข้าไปแยกเขาออกมาจากสิ่งที่กำลังเล่นอยู่ อุ้มไปนั่งที่โต๊ะได้เลย แต่ควรระวังว่าอย่าลากตัวลูกออกมานอกจากจำเป็นจริงๆ เท่านั้น พยายามพูดกับเขาด้วยท่าทีที่จริงจัง เช่น “แม่รู้ว่าลูกยังอยากเล่น แต่ไปกินข้าวก่อนนะ ให้คุณไดโนเสาร์รอแป๊บหนึ่ง หรือลูกจะเอามันมาไว้ที่โต๊ะอาหารก็ได้จ้ะ”

5. ชื่นชม

ถ้าลูกรับฟัง (จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ยิน) คุณควรกล่าวชมเชย เช่น “เก่งมากๆ เลยจ้ะที่หนูลุกขึ้นทันทีตอนที่แม่เรียกกินข้าว” ลูกจะรู้สึกมีกำลังใจอยากทำอย่างนี้อีก


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up