30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนา ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือไม่? - Amarin Baby & Kids
ลูกถูกเพื่อนแกล้ง

30 คำถามหลังเลิกเรียน ไขปริศนา ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือไม่?

account_circle
event
ลูกถูกเพื่อนแกล้ง
ลูกถูกเพื่อนแกล้ง

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมเป็นห่วงลูก โดยเฉพาะลูกในวัยที่เข้าเรียนแล้ว  แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกมีปัญหาที่โรงเรียน หรือ ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือไม่? จะถามตรงๆ ลูกคงไม่บอก ตามมาดู 30 คำถามหลังเลิกเรียน ที่อาจจะช่วยไขปริศนาได้

รวม 30 คำถามหลังเลิกเรียน
ไขปริศนา ลูกถูกเพื่อนแกล้ง หรือไม่?

สำหรับลูกรัก ในวัยที่เริ่มไปโรงเรียนได้เจอสังคมข้างนอกเต็มตัว คุณพ่อคุณแม่ก็มักอยากรู้ความเป็นไปหรือสุขทุกข์แต่ละวันของลูก แต่บางครั้งการถาม คำถามหลังเลิกเรียน แบบตรงๆ ว่า “วันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้างลูก” หรือ “หนูชอบโรงเรียนไหมจ๊ะ” อาจไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง เพราะแม้แต่นักเรียนใหม่ตัวน้อยเองก็ยังตอบไม่ได้ หรือไม่อยากยอมรับว่า พวกเขามีปัญหาอะไร หรือ ลูกถูกเพื่อนรังแก ที่โรงเรียนหรือเปล่า?

ลูกถูกเพื่อนแกล้ง

 

เราจึงมีข้อสังเกตบางอย่างให้คุณพ่อคุณแม่ได้นำไปลองใช้ยามเด็กน้อยวัยเรียนไม่ยอมเปิดปาก จากศาสตราจารย์วอลลี่ ก็อดดาร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านชีวิตครอบครัว จากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ และผู้เขียนหนังสือ “The Soft-Spoken Parent”  มาฝากค่ะ

 

  • ดูความพร้อมก่อน ไม่เร่งจะดีกว่า

เพิ่งรับขึ้นรถปุ๊บก็ถามปั๊บอาจไม่ใช่จังหวะที่ดีนัก เพราะเด็กหลายๆ คนก็ยังไม่พร้อมที่จะทบทวนเหตุการณ์ต่างๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าวันนี้ได้ผ่านไปแล้ว ดังนั้น การอดใจเก็บคำถามนี้ไว้ตอนเย็น เช่น หลังอาหารเย็นหรือก่อนเข้านอนที่ทั้งลูกและคุณก็สบายใจผ่อนคลายกันแล้วหรือตอนกำลังอารมณ์ดีๆ จะเข้าท่ากว่าค่ะ

  • ชวนคุยให้ตรงประเด็น

ในวันที่ลูกดูไม่อยากพูดหรืออยากช่วยให้ลูกพูดง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงคำถามกว้างที่สุดในสามโลกอย่าง “วันนี้สนุกไหม” คำถามที่เหมาะควรเป็นคำถามแสดงความใส่ใจหรือคำถามที่ลูกรู้สึกได้ว่าพูดแล้วคุณกำลังฟังเขาแน่ๆ เช่น “วันนี้ลูกผสมสีอย่างที่เราทดลองกันวันก่อนหรือเปล่า แม่เห็นลูกชอบมากเลย แม่ก็ว่าสวยดีนะ เพื่อนๆ น่าจะได้เห็น”

  • ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ แม้ได้รู้ข้อมูลลบ

เมื่อลูกยอมเปิดปากบอกเราแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องดีเสมอไป ดังนั้นสิ่งสำคัญยามคุยกับลูกคือการควบคุมอารมณ์และการตอบกลับของคุณ แม้แต่เมื่อคุณได้รับรู้เรื่องที่ทำให้ช็อกได้หรือเรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไขโดยด่วน เช่น ลูกถูกรังแก ปฏิกิริยาแรกที่แนะนำคือ แสดงความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจรับฟังลูกในสถานการณ์นั้น และต้องให้ลูกรู้ว่าคุณพร้อมจะช่วยลูกเสมอ ส่วนการแก้ปัญหาเร่งด่วนอื่นๆ ก็ค่อยว่ากันไป

อ่านต่อ>> “30 คำถาม ไขปริศนาปัญหาที่โรงเรียนของลูก” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up