อาการออทิสติกเทียม

แม่เตือน ลูกไม่สบตา เรียกไม่หัน อาการออทิสติกเทียม เหตุเพราะมือถือ!

event
อาการออทิสติกเทียม
อาการออทิสติกเทียม

แม่เตือนเรื่องจริง..รีบจัดการก่อนที่จะสายเกินแก้ ลูกมี อาการออทิสติกเทียม “ลูกไม่สบตา เรียกไม่หัน พูดแต่ภาษาต่างดาว” เหตุเพราะ “เล่นแต่มือถือ”

ลูกติดมือถือ เสี่ยงมี อาการออทิสติกเทียม ไม่รู้ตัว!!

เรียกได้ว่ายุคสมัยนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการติดต่อสื่อสารกับสังคมไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในสังคมเมืองหรือสังคมชนบท ก็มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เลี้ยงลูกให้เติบโต มากับหน้าจอทีวี ร่วมไปถึงการส่งยื่นแท็บเล็ต มือถือ ให้ลูกเล่น เมื่อไม่มีเวลาดูแลเพราะต้องทำงาน หรือเมื่อออกไปใช้ชีวิตไลฟ์สไตล์นอกบ้านและต้องการให้ลูกอยู่นิ่ง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้เด็กมีภาวะ “ออทิสติกเทียม” มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งภาวะนี้มักเกิดในครอบครัวที่มีฐานะดี ทว่าก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่หากพ่อแม่ไหวตัวทันรู้ว่าลูกมีภาวะดังกล่าวแล้วยอมรับ พร้อมแก้ไข รีบกระตุ้นพัฒนาการของลูกด้วยพลังแห่งรักเสียแต่เนิ่นๆ ภาวะ “อาการออทิสติกเทียม” ก็จะดีขึ้น และกลายเป็นเด็กปกติในที่สุด

เช่นเดียวกับคุรแม่ท่านนี้ที่ได้ออกมาเตือน พ่อแม่ทุกคนถึง อาการออทิสติกเทียม ที่พบว่ากำลังเกิดขึ้นกำลังลูก เนื่องจากลูไม่ยอมไม่สบตา เรียกไม่หัน พูดแต่ภาษาต่างดาว โดยคุณแม่พบสาเหตุว่ามาจากการให้ลูกดูจอ

ซึ่งคุณแม่ได้ใช้ Fccebook ชื่อ Khammanat Puy Thongonyosniti มาเล่าประสบการณ์ของลูกสาวที่มี อาการออทิสติกเทียม ผ่านกรุ๊ปหนึ่ง ว่า…

#เตือนภัย #เด็กติดมือถือ บอกได้เลยว่าน่ากลัวกว่าที่เราคิดไว้เยอะ แม่บ้านนี้เคยเจอมากับตัว ใครที่ให้ลูกเล่นมือถือ แท็บแลต ทีวี จอทุกชนิด เลิกได้เลิกซะ ก่อนที่จะสายเกินแก้ โชคดีลูกบ้านนี้แก้ไขได้ทันเวลา ลูกสาวเลยกลับมาเป็นเด็กปกติได้ แม่เคยลงเรื่องราวไว้ มีแม่ๆหลายคนทักแชทมาถามมาปรึกษา เพราะมีเด็กหลายคนตอนนี้กลายเป็น #ออทิสติกเทียม โดยที่พ่อแม่ไม่รู้ตัวไปแล้ว
อาการที่ลูกสาวเป็นตอนนั้น ไม่สบตา เรียกไม่หัน เฉยๆ พูดไม่ได้ เลย พูดแต่ภาษาต่างดาว ภาษาการ์ตูน หงุดหงิด โมโห ก้าวร้าว ขว้างปาสิ่งของเมื่อไม่พอใจ ไม่เข้าใจในสิ่งที่แม่พูดหรือถาม พูดไม่รู้เรื่องเลย จะเอาแต่มือถืออย่างเดียว ไม่เล่นกับใครเลย เล่นคนเดียว 3 ขวบกว่าๆแล้ว เข้าเรียนอนุบาล 1 ยังเรียกแม่ไม่ได้เลย
แม่ให้น้องเล่นมือถือตอนขวบกว่าๆ ค่ะ วัยที่สมองน้องกำลังพัฒนา กำลังจะพูดเป็น พอ 2 ขวบนิดๆ พี่สาวมาเห็นอาการน้องเลยแนะนำให้พาน้องไปตรวจพัฒนาการ
รอบแรกแม่พาไป รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านก่อน ช่วงนั้นจะมีหมอจาก รพ.สงขลา เข้ามาตรวจพัฒนาการค่ะ หมอบอกน้องพัฒนาการช้ากว่าปกติ ให้เลิกดูจอทุกชนิด ให้เลิกเด็ดขาด
แม่ก็ทำตามค่ะ แรกๆน้องงอแง โวยวายหนักมาก แต่พอสักพักน้องก็ลืมจอต่างๆไปเลยค่ะ อีก 6 เดือนต่อมา หมอนัดมาเจอกันอีกที นิสัยน้องเริ่มเปลี่ยนแล้วค่ะ เวลาเจอหมอ น้องยกมือไหว้ ยิ้มแย้มแจ่มใส หมอบอกน้องน่ารัก ใจเย็นขึ้น กล้าสบตาหมอ ไม่เหมือนครั้งแรกที่เจอกัน แต่ยังพูดไม่ค่อยได้
อาการออทิสติกเทียม
น้องฟางข้าว หายจากอาการออทิสติกเทียมแล้ว
หมอเลยแนะนำให้พาเข้าอนุบาล แม่ก็ทำตามอีก พอพาเข้าอนุบาล น้องพูดช้ากว่าเด็กคนอื่นมาก พูดกลับหน้ากลับหลัง ครูเลยแนะนำให้แม่พาไปหาหมอที่ รพ.สงขลานครินทร์ แม่ก็พาไป หมอบอกน้องเหมือนจะเป็น ออทิสติกเทียม แต่ยังไม่100% เพิ่งเริ่ม แก้ไขได้ ค่อยๆฝึก แล้วจะดีขึ้นเอง

อาการออทิสติกเทียม

ที่สำคัญห้ามดูจอเด็ดขาด แม่ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงโดยหันมาพูดคุยกับน้องเยอะๆ บวกกับน้องไปโรงเรียน เจอเพื่อน เจอครู น้องจึงดีขึ้นตามลำดับ จนทันเพื่อน ตอนนี้อยู่ ป.1 ด้วยวัย6ขวบ อายุน้อยสุดในห้อง อารมณ์ดี พูดเพราะ พูดเก่ง จนแม่เวียนหัว อ่านออกเขียนได้ เรียนรู้เรื่องเหมือนเด็กปกติทั่วไปค่ะ #เป็นกำลังใจคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกกำลังเป็นอยู่สู้สู้นะคะ #อย่าให้เทคโนโลยีมาทำร้ายลูกเราเด็ดขาด
ขอบคุณภาพและข้อมูลจากคุณแม่ Khammanat Puy Thongonyosniti

ออทิสติกเทียม คือ

สำหรับ อาการออทิสติกเทียม คือ ภาวะที่มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ วัยขวบกว่าที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าทั้งทางด้านภาษาและสังคม เช่น ด้านภาษา คือวัยขวบกว่าแต่ไม่สามารถพูดหนึ่งคำที่มีความหมายได้ หรือเด็กวัย 2 ขวบกว่า ยังไม่สามารถพูดเป็นวลีได้ ส่วนพัฒนาการล่าช้าด้านสังคม เช่น ไม่เล่นกับเพื่อนหรือไม่สื่อสารกับคนอื่น อยู่ในโลกส่วนตัว หมกมุ่นกับกิจกรรมตัวเอง ไม่มองหน้า ไม่ทำตามคำสั่ง

อย่างไรก็ตามการเลี้ยงเด็กเล็กๆ ที่ดีคือ ควรมีเวลานั่งคุยนั่งพูดกับเด็ก เล่านิทานให้ลูกฟัง เด็กจะได้รับการกระตุ้นด้านภาษา ถ้าพ่อแม่ยุคนี้ไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ผลกระทบที่จะเกิดจากการเล่นไอที เราต้องเฝ้าระวัง และตื่นตระหนกในการป้องกัน ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับไอที ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต อย่าปล่อยให้เด็กเล่นเกม นั่งดูซีดีการศึกษา ซึ่งพ่อแม่คิดว่าการปล่อยให้เด็กนั่งดูการ์ตูนเป็นการกระตุ้นแล้ว แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว เมื่อลูกถูกกระตุ้นด้านพัฒนาการ ลูกมีแนวโน้มดีขึ้นได้ถ้ากระตุ้นอย่างเหมาะสม อย่างน้อยๆ 6 เดือนขึ้นไปเด็กจะมีภาวะดีขึ้น หรือฝึกแค่ 3 เดือน เด็กดีขึ้นในด้านการสื่อสาร

อาการออทิสติกเทียม

ซึ่งออทิสติกแม้ใส่ตัวกระตุ้นไปแล้ว ก็ยังมีอาการบางอย่างไปจนถึงตอนโต แต่อาการออทิสติกเทียม หากกระตุ้นดีๆ จะไม่หลงเหลืออาการเลย แต่มีบางคนที่ไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมก็ไม่หายและมีภาวะอยู่อย่างนั้น ออทิสติกเทียมจึงสามารถพัฒนาได้ เพราะสมองเด็กไม่ได้ล่าช้า แต่เขาขาดการกระตุ้นต่างหาก” นี่คือความต่างระหว่างออทิสติกทั้งสองแบบ

สิ่งสำคัญเพื่อเลี่ยง อาการออทิสติกเทียม พ่อแม่อย่าฝากความหวังไว้กับคนอื่น ต้องคอยเช็ก คอยดูพัฒนาการของลูกและหากพบลูกเป็นออทิสซึม อันดับแรกควรพาไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งคุณหมอจะวินิจฉัยอาการว่าเด็กมีพัฒนาการเหมาะกับวัยหรือไม่ จากนั้นคุณหมอจะแนะนำคุณพ่อคุณแม่เพื่อส่งน้องไปกระตุ้นพัฒนาการทั้งในหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้ไม่สายเกินแก้


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.posttoday.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓

แม่แชร์ วิธีสังเกต อาการเด็กออทิสติก รู้ก่อนรักษาได้เร็ว

หมอชี้! เด็ก 4 ขวบเก่งอังกฤษเพราะมือถือไม่ใช่เรื่องดี เสี่ยงออทิสติกเทียม

โรคออทิสติก เกิดจากความผิดปกติของสมอง และแม่ผู้ให้กำเนิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up