ตอบคำถามลูก แบบได้ประโยชน์สูงสุด - amarinbabyandkids
ตอบคำถามลูก

เทคนิค ตอบคำถามลูก แบบได้ประโยชน์สูงสุด

event
ตอบคำถามลูก
ตอบคำถามลูก

  • เสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์

  1. เกมอะไร-ทำไม

คำถาม “ทำไม” เป็นสิ่งที่ลูกคุ้นเคยดีอยู่แล้วค่ะ อาจเล่นเกมคำถามกับลูก เช่น “ลูกจ๋าทำไมนกบินได้” จากนั้นก็รอฟังคำตอบ แต่ถ้าเขายังไม่ตอบ เราก็อาจจะกระตุ้นว่า “เป็นแบบนี้ได้ไหมลูก นกบินได้เพราะมันมีปีกและขาสั้น เวลาเดินมันอาจจะเมื่อย ก็เลยบินดีกว่า” ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยกระตุ้นให้เขามีคำตอบและมีแนวทางมากขึ้น

  1. เกมคาดเดาเหตุการณ์

เวลาขับรถพาลูกไปข้างนอก เราก็อาจจะให้เขาลองคาดเดาเหตุการณ์จากสัญญาณไฟจราจร เช่น ถามว่า “ต่อจากไฟแดง จะเป็นไฟอะไรนะ แล้วถ้าไฟเขียวเราทำยังไง” วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกได้คิดและเข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลด้วย ที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่สามารถหยิบยกทุกอย่างรอบตัวทั้งในบ้านและนอกบ้านได้

  1. เกมตั้งคำถาม…สร้างจินตนาการ

เกมตั้งคำถามเหนือธรรมชาติ “หนูคิดว่าถ้าเรามี 4 แขนจะเป็นยังไงลูก” หรือ “ลูกว่าบ้านเราไม่มีแอร์เลยจะอยู่ได้ไหม จะทำยังไงดีน้า ลองช่วยกันคิดหน่อยสิคะ” ให้เขาได้บริหารสมองและใช้จินตนาการค่ะ

เกมตั้งคำถามจากธรรมชาติรอบตัว เช่น เดิน ๆ ไปเจอใบไม้ ก็ลองให้ลูกคิดต่อว่า ใบไม้ไปทำอะไรได้บ้าง เขาอาจจะตอบว่าเอาไปลอยน้ำ เป็นเรือ แค่นี้ก็ช่วยให้เขาได้ใช้จินตนาการแล้วล่ะค่ะ

  1. เกมฝึกประสาทสัมผัส

เกมนี่เสียงอะไร : ฝึกการได้ยิน โดยนำของเล่นที่ลูกคุ้นเคย เช่น เครื่องเขย่า รถ กีต้าร์ เปียโน จากนั้นก็ให้เปิดตา แล้วเขาทายว่านี่เสียงอะไร ลูกก็จะได้ให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

เกมหาของ : ฝึกสายตา ซ่อนของไว้ในมือให้ลูกทายว่าอยู่ข้างไหน เวลาเล่นควรสลับไปสลับมาช้า ๆ ให้เขาได้เล่นไปกับเรา

เกมจับของ : ฝึกการสัมผัส อาจนำขวดปากแคบหรือกล่องทึบ ๆ ใส่ของที่ลูกคุ้นเคย เช่น รถของเล่น ตุ๊กตา ช้อนซ้อม หรือของที่เจอในชีวิตประจำวัน จากนั้นก็ให้ลูกเอามือล้วงลงไป ช่วยฝึกความจำและได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก

เกมจับคู่ : ชวนลูกเก็บของตามประเภทของ เช่น กล่องหนังสือนิทาน กล่องตุ๊กตา กล่องสำหรับลูกบอล เกมนี้นอกจากจะเสริมพัฒนาการลูกและฝึกระเบียบวินัยแล้ว ยังช่วยคุณแม่ทุ่นแรงในการตามเก็บของลูกได้เยอะเชียวค่ะ ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลยนะคะ

แต่ก็มีข้อควรระวังในการรับมือกับลูกขี้สงสัยอีกอย่างหนึ่ง คือ พ่อแม่ไม่ควรใส่อารมณ์ ตำหนิ หรือทำสีหน้ารำคาญใส่ลูก เมื่อลูกขี้สงสัย หรือถามอยู่ตลอดเวลา นั่นจะทำให้เด็กรู้สึกผิดในสิ่งที่เขาถาม ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการการเรียนรู้ และจิตใจ ทำให้กลายเป็นเด็กไม่มั่นใจ และไม่กล้าจะเป็นผู้เริ่ม

ทั้งนี้ เมื่อสงสัยในสิ่งที่เขาอยากรู้ แต่ถ้าลูกถามซ้ำผิดปกติ หรือถามคำถามเดิมบ่อยเกินไป ซึ่งพ่อแม่ตอบให้ลูกฟังไปแล้ว แต่ก็ยังถามอีก วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือ ให้พ่อแม่ทำเป็นนิ่ง พร้อมกับทำสีหน้ายิ้มๆ เหมือนไม่สนใจ แต่จริงๆ แล้วสังเกตลูกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเด็กจะรู้ได้เองว่า เขาไม่ควรถามซ้ำอีก

แค่คุณพ่อคุณแม่พร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับลูก และหากิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถจะหยิบยกมาจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้เขาได้เล่นบ้าง ก็จะช่วยเสริมให้เจ้าหนูของเรากลายเป็นเจ้าหนูทำไมที่ เก่ง ฉลาด และสร้างสรรค์ได้แล้วล่ะค่ะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up