สอนลูกให้ซื่อสัตย์ ด้วยการฝึกให้ลูกไม่โกหก และขี้ขโมย - amarinbabyandkids
สอนลูกให้ซื่อสัตย์

สอนลูกเรื่องการโกหก การขโมย และความซื่อสัตย์

event
สอนลูกให้ซื่อสัตย์
สอนลูกให้ซื่อสัตย์
ลูกโขมยเงินแก้ยังไง
ลูกโขมยเงินแก้ยังไง

ทำยังไงดี!? เมื่อลูกชอบ “ขโมย”

ถ้ามีใครสักคนบอกคุณพ่อ คุณแม่ว่า ลูกขโมยเงิน หรือของของคนอื่น คุณพ่อ คุณแม่จะรู้สึกอย่างไร แน่นอนว่าคนเป็นพ่อ เป็นแม่ ย่อมไม่เชื่อว่าลูกของตัวเองจะขโมยเงินของคนอื่น เพราะลูกน้อยไม่เคยมีพฤติกรรมแบบนี้ และเป็นเด็กดีมาโดยตลอด แล้วคุณพ่อ คุณแม่จะเริ่มต้นพูดกับลูกว่าอย่างไร? จะถามลูกว่าไปขโมยเงินของคนอื่นมาจริงหรือเปล่า? ก็กลัวว่าลูกจะเสียใจ ถ้าพบว่าลูกไม่ได้เอาไปจริงๆ พ่อแม่บางคนจึงเลือกที่จะ “ไม่ทำอะไรเลย!!”

แล้วถ้าลูกน้อยขโมยจริงๆ ล่ะ คุณพ่อ คุณแม่จะรับมืออย่างไร? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ถ้าลูกอยู่ในวัยเด็กเล็ก เขายังไม่เข้าใจเรื่องความเป็นเจ้าของ และไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรทำ ไม่ควรทำ พ่อแม่จึงต้องอบรมสั่งสอน และปลูกฝังในเรื่องนี้ตั้งแต่ยังเล็ก ให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องการเป็นเจ้าของ สิ่งไหนของเขา สิ่งไหนของคนอื่น และไม่ควรเอาของของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง

ถ้าเป็นเด็กโต เขาจะเรียนรู้เรื่องการเป็นเจ้าของแล้ว แต่ยังควบคุมตัวเองได้ไม่ดี อาจอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตัว ถ้าคุณพ่อ คุณแม่เลี้ยงดู และปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเล็กๆ ก็คงไม่น่าเป็นห่วง แต่ถ้าลูกน้อยมักจะได้ตามที่ตัวเองต้องการมาตลอด อยากได้อะไรก็ได้ เมื่อลองเอาของคนอื่นมาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็จะทำขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชินในที่สุด

ปัญหาที่ตามมาคือ “การโกหก” เพราะไม่กล้าพูดความจริง กลัวว่าจะโดนลงโทษ คุณพ่อ คุณแม่จึงควรรีบแก้ปัญหา พูดคุยกับลูก ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไ

วิธีแก้ไขเมื่อพบว่าลูก “ขี้ขโมย”

1.ถามลูกด้วยท่าทีที่อ่อนโยน ว่าตอนที่เกิดเหตุ ลูกทำอะไรอยู่ เล่นอะไร เล่นกับใคร อยู่ที่ไหน ชวนพูดคุยถึงสิ่งที่เขาทำในเวลานั้น คุณพ่อ คุณแม่ จะสังเกตได้ว่าลูกน้อยพูดความจริงหรือเปล่า ลองเล่าให้ลูกฟังว่ามีคนทำของหายไป ไม่รู้ว่าหายไปไหน เขากังวลว่าจะหายไปในช่วงที่ลูกอยู่แถวนั้น ลูกเห็นบ้างหรือเปล่า

2.ถ้าลูกยอมรับผิด ลองถามลูกว่า ทำไมถึงเอาเงินเขาไป หรือมีความจำเป็นอะไรที่ต้องเอาเงินเขาไป พูดด้วยท่าทีปกติ ไม่ใช้อารมณ์ รับฟังว่าเพราะอะไร บางครั้งเขาอาจจะทำอะไรบางอย่างเสียหาย และกลัวถูกลงโทษ ไม่กล้าบอกพ่อแม่ พอเห็นเงินก็คิดว่าจะเอาเงินนั้นไปซื้อของชดใช้ เมื่อรับฟังลูกแล้ว ต้องอธิบายถึงผลของการกระทำนั้น เช่น เมื่อหนูขโมยเงินคนอื่น คนๆ นั้นจะต้องเดือดร้อน เสียใจ และเป็นทุกข์

3.ให้ลูกเรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่ผิด ต้องรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง เริ่มจากการยอมรับผิด เอาเงินไปคืนเจ้าของ และกล่าวขอโทษ อาจลงโทษโดยการตัดสิทธิบางอย่าง เช่น ค่าขนม งดดูรายการโปรด ลงโทษลูก เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ถ้ามีการทำผิดครั้งหน้า จะมีการลงโทษเพิ่มขึ้น

แนวทางแก้ไขการลักทรัพย์
ลูกโขมยเงินแก้ยังไง

 

อ่านต่อ คุณธรรมพื้นฐานของคำว่า “ซื่อสัตย์” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up