AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ปล่อยลูกเล่นอิสระ วิ่ง-ปีนป่าย ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ยิ่งฉลาด สมองดี

ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ –มัดเล็กของลูกน้อยเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่ ไม่แพ้พัฒนาการด้านอื่น เพื่อไปสู่ทักษะด้านต่างๆในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา การเขียนหนังสือ ขี่จักรยาน แพทย์ดังแนะ อยากให้ลูกมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก “แค่ปล่อยให้ลูกได้เล่นมากๆ” จริงหรือ มาหาคำตอบไปพร้อมกัน

ปล่อยลูกเล่น ฝึกกลัามเนื้อมัดใหญ่ ยิ่งฉลาด สมองดี 

รู้กันดีว่า เด็กกับการเล่นเป็นของคู่กัน จะเป็นเวลาไหน สถานที่ใด ลูกก็พร้อมเล่นสนุกได้ตลอดเวลา หลังลืมตาตื่นขึ้นมาลูกน้อยก็พร้อมเล่นในทันที และดูเหมือนการเล่นจะสำคัญกว่ากิจวัตรประจำวันอย่างกินข้าว อาบน้ำ ด้วยซ้ำไป หากมองผิวเผินการเล่นของเด็กๆดูเหมือนจะเป็นแค่ช่วงเวลาแห่งความสุข ความสนุก ซึ่งจับต้องไม่ได้ แตกต่างจากการสอนให้ลูกท่องก.ไก่-ฮ.นกฮูก หรือนับเลช 1 – 10 ได้ ความจริงแล้วมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

เพราะ “เล่นเป็นงานของเด็กทุกคน” 

เด็กทุกคนเต็มใจจะทำงาน “เล่น” ของตัวเองอย่างเต็มที่โดยไม่มีใคร “สอน” หรือ “บังคับใจ”  เพราะการเล่นเป็นหนึ่งในพัฒนการที่เด็กๆต้องเรียนรู้โดยในช่วงอายุ 2-3 ขวบ เป็นวัยพัฒนาตัวเอง  (Autonomy) ให้แข็งแรงขึ้นทีละน้อยโดยอัตโนมัติ  จากลูกแบเบาะที่นอนนิ่งๆ เริ่ม ยกแขนขา ชันคอ คว่ำ คลาน ยืน เดิน และวิ่ง พัฒนาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการ ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ให้แข็งแรง  ยิ่งคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกได้ลองลุกเดิน วิ่ง ปีนป่าย หรือกระโดดด้วยตัวเองมากเท่าไหร กล้ามเนื้อมัดใหญ่ก็จะแข็งแรงขึ้นเท่านั้น

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นของเด็กๆไว้ตอนหนึ่งในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า “การวิ่งเล่นปีนป่ายเป็นการเล่นพื้นฐาน ที่เด็กวัยอนุบาลอยากทำและทำได้เอง ช่วยให้มีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำงานประสานกันของมือและสายตา (Hand-Eye Coordination) สายตาจับจ้องเป้าหมาย มือข้างออกไปให้ถูกเป้าแม่นยำ หากไม่ ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ให้ดี เด็กจะเล่นโยนรับลูกบอลไม่ได้ ปาเป้าไม่โดน เมื่อโตขึ้นเวลาขับรถก็จะเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน หรือเหยียบเบรกแรงเกินไปจนรถคว่ำ เหตุการณ์เหล่านี้สัมพันธ์กับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งสิ้น”

เมื่อถึงวัย 4-5 ขวบจะสนใจการเล่นแบบใช้กำลังน้อยลง แล้วหันมาทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมากขึ้น  เพราะเป็นวัยริ่เริ่มสิ่งใหม่ (Initiation) จะพัฒนากล้ามเนื้อส่วนที่ไม่ใช่แกนกลางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อมือและนิ้วมือที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างละเอียด  หยิบจับของชิ้นเล็กๆ ร้อยลูกปัด ปะติด คีบตะเกียบได้

อวัยวะส่วนนี้มีกล้ามเนื้อมัดเล็กรวมกันมากถึง 100 มัด นอกจากนี้ปลายนิ้วทุกนิ้วยังเป็นศูนย์รวมของปลายประสาท ทุกครั้งที่ลูกได้ปั้นดินน้ำมัน เล่นทราย หรือขยำกระดาษ ทำให้สมองพัฒนาการมากขึ้น ความจำดี ฉลาดเฉียบคมไปพร้อมๆกับเติมต่อความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการไร้ข้อจำกัดในเวลาเดียวกัน ซึ่งต่างการเรียนรู้บนโต๊ะเรียนเพียงอย่างเดียว

 

สนามเด็กเล่น ช่วย ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ แบบไม่ต้องสอน

การเล่นที่เด็กชื่นชอบและสามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่พร้อมกันแบบง่ายๆโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องลงทุน คือการพาลูกไปสนามเด็กเล่น เป็นพื้นที่โล่ง ปลอดภัยจากรถยนต์ สิ่งกีดขวางๆต่าง  มีหญ้า มีทราย กับเครื่องเล่น ให้เด็กได้วิ่งเล่นกันอย่างอิสระ ปล่อยให้ลูกวิ่งล้มและเรียนรู้วิธีลุกขึ้นเอง คิดหาวิธีเล่นในแบบที่ชอบ และแบ่งปันกับเพื่อนวัยเดียวกัน หรือเพื่อนต่างวัย  พวกเขาจะได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างเต็มที่ แถมยังได้ฝึกฝน สติปัญหา การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รู้วิธีเข้าสังคมแบบเด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องการมีน้ำใจ ให้อภัย การเคารพกฎกติกาของสังคม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพื้นฐานที่ดีเมื่อลูกถึงวัยเรียนและโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

เช็กเลย พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่แรกเกิด- 3 ขวบ

เช็กเลย พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กแรกเกิด- 3 ขวบ

 

ชวนลูก ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เล่นอะไรดี

ปกติเด็กๆควรมีเวลาได้วิ่งเล่น ออกกำลังกาย ปีนป่ายอย่างน้อย 60 นาทีทุกวันสำหรับการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งแขน ขา และแกนกลางลำตัวให้แข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ร่างกายเติบโตสมวัยทั้งน้ำหนักและส่วนสูง  แต่เด็กยุคใหม่เล่นนอกบ้านกันน้อยลง กลับไปนั่งจุ้มปุ๊กกับหน้าจอมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ควรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วง 4 – 9 ขวบถดถอย คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาเวลาว่างชวนลูกห่างจอแล้วมาเล่นกลางแจ้งด้วย

เพราะกิจกรรมที่เหมาะกับการ ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มักเน้นการเพิ่มความแข็งแรงทนทานของร่างกาย ทักษะการทรงตัว ความยืดหยุ่น การคิดวางแผน แก้ปัญหาเฉพาะ และการทำงานร่วมกันของอวัยวะหลายส่วนทั้งมือเท้า แขนขา สายตา และการเคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากเด็กๆจะสนุกสนานขณะที่ได้กระโดดโลดเต้นแล้ว ร่างกายยังได้ประโยชน์อีกหลายด้านทั้งกระตุ้นสารสื่อประสาทในสมอง เพิ่มความแข็งแรงของสะพานเชื่อมระหว่างสมองซีกซ้าย-ขวา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดและหัวใจ ลดความตึงเครียดระหว่างวัน แถมยังช่วยปรับอุปนิสัยเด็กเฉื่อยช้าให้กระฉับกระเฉงมากขึ้น จริงๆ

 

สำหรับกิจกรรมเสริมพลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆได้แก่

 MUST READ :40 กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่

 

ไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบ “เล่น” เพราะการเล่นหรือของเล่นเปรียบเสมือนเพื่อนมหัศจรรย์ที่พาพวกเขาโบยบินไปสู่โลกอันเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ ที่สำคัญการเล่นยังเป็นวิธีให้เด็กได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ หรือความรู้แย่ต่างๆออกมาในเชิงบวก แทนการใช้กำลัง หรือทะเลาะเบาะแว้ง ขณะเดียวกันทุกวินาทีของการเล่น ยังช่วยให้พวกเขาเอาชนะความกลัว เช่น กลัวความสูง กลัวคนแปลกหน้า กลัวเจ็บ เมื่อเด็กเล่นอะไรอย่างหนึ่งได้ เท่ากับเขาผ่านด่านไปทีละขั้น เสริมความมั่นใจให้ตัวเองได้มากขึ้นด้วย
การปล่อยให้ลูกได้วิ่งเล่น ปีนป่าย หรือกระโดดจากที่สูงสักหน่อย แม้อาจมีความเสี่ยงบ้างเล็กน้อย แต่นี่เป็นวิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดเล็กได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังเป็นการวางพื้นฐานทักษะกีฬา ซึ่งสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงและห่างไกลโรคไปตลอดชีวิต


แหล่งที่มาข้อมูล  เพจนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์, http://www.csip.org/ www.youngciety.com

 

บทความน่าสนใจอื่นๆ

เคล็ดลับ เลี้ยงลูกให้เก่ง ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง เริ่ม 1 – 7 ขวบ

 

ตาราง น้ำหนักส่วนสูงทารก ตามเกณฑ์ ตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี

 

5 ไอเดีย…กิจกรรมเล่นกับลูกที่บ้าน สนุก ไม่น่าเบื่อ