วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ลูกพูดติดอ่าง
- ท่าทีของพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าไม่สบายใจที่ลูกพูดติดอ่าง ก็ต้องไม่พยายามให้ลูกรู้สึกว่าการพูดติดอ่างของลูกเป็นปัญหาเพราะจะยิ่งทำให้แก้ลำบาก
- เมื่อลูกเริ่มพูดติดอ่างพ่อแม่ต้องทำไม่รู้ไม่ชี้ เหมือนเมื่อก่อนที่ลูกยังไม่ติดอ่างและเมื่อลูกพูดอะไรอย่าเอาแต่จ้องเพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง
- เวลาเด็กพูดพ่อแม่ทำท่าเข้าใจลูกก็จะสบายใจ
- อย่าทวนคำพูดของเด็ก เพราะเป็นการย้ำทำให้เด็กรู้สึกว่าเขาพูดอะไรที่คนอื่นไม่เข้าใจ แล้วจะขยาดที่จะพูดจึงพูดติดอ่าง
- พาเด็กไปหาหมอหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแสดงอาการพูดให้คนอื่นจ้องดู อย่าทำ เพราะเท่ากับเป็นการเอาเด็กไปประจานทำให้เด็กยิ่งกลัว
- ไม่ต้องพาไปฝึกพูดเพราะจะยิ่งตอกย้ำให้เด็กกังวลและพูดติดอ่างมากขึ้น1
ถึงแม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญเองก็ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมเด็กโดยเฉพาะในวัย 2 ขวบครึ่งถึง 4 ขวบ มักจะมีอาการพูดติดอ่าง (หนูชอบ ชอบ ชอบ… หรือ หนู ชะ ชะ ชะ ชอบ) ก็ตาม หากอาการติดอ่างนั้นเกิดบ่อยขึ้น หรือกินเวลานานเกิน 3 เดือน (ไม่ควรรอให้เกิน 6 เดือน) มีอาการหยุดหายใจลึกๆ ระหว่างประโยคบ่อยครั้ง ควรลองปรึกษาแพทย์ หรือถ้าลูกมีสัญญาณผิดปกติอื่นๆ เช่น เวลาพูดต้องเกร็งใบหน้าและลำคอ สะบัดมือ แกว่งแขน หรือ กระดิกเท้ากับพื้นเวลาพูดเป็นประจำ ก็ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน (เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางสมองหรือกล้ามเนื้อสำคัญที่ใช้ในการเปล่งเสียง ซึ่งคุณไม่ควรมองข้าม)
บทความโดย: กองบรรณาธิการ Amarin Baby & Kids
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก !
8 เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกน้อยชันคอ เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย
สังเกตสัญญาณ “พัฒนาการล่าช้า” ของลูก
ลูกดูดนิ้ว ยันโต ส่งผลต่อโครงสร้างฟันและการพูด ..มาดูวิธีป้องกัน!
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1www.todayhealth.org