AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวังลูกนั่งหลังโก่ง-ค่อม เสี่ยงพัฒนาการช้า!

ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เป็นการนั่งในท่าไหล่ห่อ นอกจากจะส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก ยังเป็นการทำร้ายกระดูกสันหลังอีกด้วย  และพฤติกรรมนี้เสี่ยงต่อการทำร้ายกระดูก โดยพบได้ในคนวัยเรียนและวันทำงานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลให้คุณมีบุคลิกภาพกลายเป็นคนแก่ไปเลยก็ได้  ซึ่งถ้าฝึกการนั่งถูกท่าตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลดีต่อพัฒนาการต่างๆ ของลูกน้อยจนโตเป็นผู้ใหญ่ และยังทำให้ห่างไกลจากโรคกระดูกอีกด้วย

ระวัง ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เพราะนั่งผิดท่า เสี่ยงพัฒนาการช้า!

ภาวะหลังค่อมแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ คือ

โดยทั่วไปการเดินหลังค่อมจะทำให้ปวดหลังและปวดกล้ามเนื้อได้ง่าย และหากอยู่ในท่าทางหรืออิริยาบถที่ผิดๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะทำให้น้ำหนักถ่ายเทไม่สมดุล คือถ่ายเทไปในจุดที่ไม่ควรจะลง ทำให้กระดูกเสื่อมได้ง่าย

ซึ่งปัจจุบันพบว่าวัยเด็กเรียน ไปถึงวัยทำงานมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหาความผิดปกติ อันเกี่ยวเนื่องกับกระดูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อาการปวดหลังและคอ ไปจนถึง โรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคกระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ หรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุสำคัญของอาการเจ็บป่วยก่อนวัยเหล่านี้ มักเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวันนั่นเอง และนี่คือพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณไม่อยากเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกระดูกที่จะตามมา

การยืน

แฟชั่นอันตราย

การนอน

อ่านต่อ >> ระวัง ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เพราะนั่งผิดท่า เสี่ยงพัฒนาการช้า” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การนั่ง

โดย รศ.นพ.วรวรรธน์ ลิ้มทองกุล อาจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้การนั่งในท่าที่ถูกต้องว่า เด็กจะมีพัฒนาการการนั่งช่วงอายุ 6-9 เดือน โดยการนั่งจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบด้วยอวัยวะตั้งแต่ศีรษะ ลำตัว เชิงกราน สะโพก ขา และเข่า ส่วนที่สำคัญที่สุดคือกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแหล่งรวมเส้นระบบประสาทที่ส่งผ่านมาจากสมองเพื่อสั่งการทั่วร่างกาย โดยไล่จากกระดูกช่วงคอจะรวมเส้นประสาทของมือและแขน กระดูกช่วงหลังจะรวมเส้นประสาทของเท้าและขา

Must read : แก้ไขท่านั่ง W เหตุสร้างปัญหาการเดินของลูกน้อย
Must read : พัฒนาการกล้ามเนื้อ เท้าและขา ตั้งแต่ลูกแรกเกิด จนกระโดดได้
Must read : เช็กพัฒนาการตามวัยของลูก! กับคู่มือสำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปี

โดยแรกเกิดกระดูกสันหลังของเด็กจะโค้งเป็นรูปตัว C เหมือนท่าเด็กนอนคู้ในท้องแม่ และจะเริ่มมีโค้งแอ่นที่คอเมื่อเด็กเริ่มพลิกคว่ำชันคอที่อายุประมาณ 3 เดือน โดยอาจจะมีมือที่ยันพื้นช่วยในเบื้องต้น เป็นการเริ่มพัฒนาการแรก ต่อมาจะมีการนั่งทรงตัวได้เองที่ประมาณ 6 เดือน ซึ่งจะพัฒนาสู่ โค้งที่ 2 ตรงหลังส่วนเอว และพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยการคลาน เกาะยืน และเดิน โดยถ้าเด็กสามารถนั่งเองได้โดยมีกล้ามเนื้อส่วนเอวและเชิงกรานที่มั่นคง จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทักษะการสื่อสาร และการเรียนรู้

แต่ถ้าเด็กมีการนั่งผิดท่าในระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นรูปตัว C หรือที่เรียกว่าหลังค่อมได้ นั้นอาจทำให้อวัยวะในส่วนอื่นๆ มีการพัฒนาที่ช้าตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นทั้ง มือและแขน เพราะเด็กจะต้องเอามือและแขนคอยค้ำและพยุงตัวเองให้นั่งหรือยืนขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถใช้มือหยิบจับหรือเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีเท่าที่ควร นั่นเอง

เพราะการที่เด็กมีหลังที่นั่งได้ตรงนั้น จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ตรงกันข้ามหากเด็กนั่งหลังโก่งก็จะก่อให้เกิดปัญหาทางพัฒนาการตามมา

ปัญหาทางพัฒนาการที่เกิดจากการนั่งหลังโก่งในห้องเรียน

  1. ลูกมีปัญหาด้านการเขียน และสหสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
  2. ทำให้ลอกจดการบ้านจากกระดานได้ไม่ครบ
  3. มีอาการปวดหลังและไหล่ รวมถึงแขนเนื่องจากการสั่งการกล้ามเนื้อยังสั่งแยกมัดไม่คล่อง
  4. มีปัญหาทางทักษะการเล่นกีฬา

อ่านต่อ >> วิธีการแก้ไขเมื่อ ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เพราะนั่งผิดท่า” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สำหรับผู้ใหญ่ถ้านั่งผิดท่านานๆ ปัญหาจะเกิดได้ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ท่าที่ผิดคือชะโงกไปด้านหน้า ทำให้หลังที่แอ่นบริเวณคอและเอวเกิดการค่อม ส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอและกระดูกสันหลังทำงานหนัก และอาจเรื้อรังจนส่งผลต่อหมอนรองกระดูกต้นคอ และกระดูกสันหลังเคลื่อนจนทับเส้นประสาทได้ หรืออาจทำให้เส้นเอ็นที่ข้อมือ ข้อศอกอักเสบ เส้นประสาทข้อมืออักเสบมีพังผืดกดทับ ปวดเข่าและข้อเท้า เป็นต้น

√ วิธีการแก้ไข เมื่อ ผู้ใหญ่ และ ลูกน้อยหลังค่อม โก่ง เพราะนั่งผิดท่า

  1. เก้าอี้ที่นั่งควรมีพนักพิงที่เอียง ประมาณ 100-110 องศา
  2. เบาะเก้าอี้ที่นั่งต้องกระชับ ไม่นุ่มหรือแข็งและไม่เทลาดลดลงด้านหน้ามากเกินไป
  3. เบาะเก้าอี้ต้องมีขนาดพอสมควร สามารถรองรับสะโพกและต้นขาด้านหลังได้ดี
  4. ต้องนั่งเก้าอี้ให้ลึก ไม่นั่งตื้นๆ ขาทั้ง 2 ควรสอดเข้าไปใต้โต๊ะ และเท้าทั้ง 2 ข้างต้องวางกับพื้น ถ้าเท้าลอยควรหาที่รองเท้าขณะนั่งให้พอดี
  5. นั่งวางแขนบนพนักวางแขนซึ่งมีความสูงที่เหมาะสมไม่ทำให้ไหล่ยกสูงหรือลู่ลงมากไป
  6. จัดสัดส่วนระหว่างเก้าอี้และโต๊ะเรียนให้เหมาะสม ไม่ก้มตัวหรือตัวตรงมากเกินไป
  7. หลีกเลี่ยงการนั่งไม่เต็มเก้าอี้ นั่งไขว้ห้าง เพราะจะส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกระดูก

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถแก้ปัญหาหลังค่อมได้เป็นอย่างดี โดยการเลือกท่าบริหารที่เหมาะสม เช่นท่าดังต่อไปนี้

♦ ยืนหลังและส้นเท้าชิดกำแพง จากนั้นกางแขนออก แล้วทำแขขึ้นลงประมาณ 45 องศา เหมือนท่านกกางปีกบิน จำนวน 10 ครั้ง

♦ ยืนหลังและส้นเท้าชิดกำแพง จากนั้นพับแขนมาแตะที่หู เหมือนกับการทำท่าเอาฝ่ามือมาปิดหู โดยทำประมาณ 10 ครั้ง

♦ ยืนหลังและส้นเท้าชิดกำแพง จากนั้นทำท่าเหมือนกับการปีนเชือก โดยการยืนมือขึ้นเหนือศีรษะ โดยให้มือทั้งสองข้างสลับกัน ทำประมาณ 10 ครั้ง

ทั้งนี้ด้าน ศาสตราจารย์มาร์ เบนเดน ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ศึกษาวิทยาการสุขภาพเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม สหรัฐอเมริกา ยังได้ค้นพบว่า การใช้โต๊ะเรียนแบบตั้งสูงจากพื้นซึ่งนักเรียนจะต้องยืนนั้น สามารถช่วยเพิ่มความสนใจในชั่วโมงเรียนมากขึ้นถึงร้อยละ 12 อีกด้วย

จากการศึกษาในเด็กวัยประถม อายุ 7-9 ขวบ จำนวน 300 คน เป็นเวลานาน 1 ปี โดยเปรียบเทียบผลการเรียนและการมีส่วนร่วมในห้องเรียนระหว่างเด็กที่นั่งโต๊ะเรียนหนังสือตามปกติ กับเด็กที่ใช้โต๊ะยืนเรียน ปรากฏว่า นักเรียนในกลุ่มที่ใช้โต๊ะยืนมีความร่วมมือในห้องเรียนดีกว่าเพื่อนอีกกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด ทั้งตอบคำถามครูได้ทันที เข้าใจบทเรียนโดยไม่ต้องถามซ้ำ และยังมีคะแนนทดสอบมากกว่าคะแนนเฉลี่ย

 นอกจากนี้การยืนเรียนยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน และโรคเบาหวานในเด็กได้อย่างอัศจรรย์ โดยร่างกายขณะยืนสามารถเผาผลาญไขมันได้มากกว่าถึงร้อยละ 15

อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้เปลี่ยนการนั่งเรียนมาเป็นยืนเรียนนั้น ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่าการยืนเรียนจะมีผลเสียต่อสุขภาพของเด็กหรือไม่ เนื่องจากการยืนนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด และเป็นตะคริวได้

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ลูกมีภาวะหลังค่อม อันเป็นเหตุ ให้มีพัฒนาการช้าได้ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยกันดูแลลูกน้อย พยายามบอกลูก หรือให้คุณครูช่วยดูที่โรงเรียน เพื่อหลีกเลี่ยง หลังค่อม การเปลี่ยนท่าทางหรือกิริยาให้หลังตั้งตรงขณะทำกิจกรรมต่างๆ ให้ถูกต้อง และควรเสริมด้วยการให้ลุกน้อยออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยคลายและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังอีกทางหนึ่ง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : daily.khaosod.co.th , daily.khaosod.co.th www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net , www.bumrungrad.com