ลูกดื้อ พูดไม่ฟัง ถือเป็นเรื่องดีด้วยเหตุผล 7 ข้อ ที่แม่ไม่เคยรู้- amarinbabyandkids

เหตุผลดี 7 ข้อ ของการมีลูกดื้อ!

event

ลูกดื้อควรทำอย่างไร

5. มีความ “เด็ดขาด” กว่าคนอื่น!

นอกจากคนดื้อ จะรู้ว่าอยากได้อะไรแล้ว นั่นทำให้เขามักจะตัดสินใจ “เด็ดขาด” กว่าคนอื่นๆ ที่มักจะลังเล หรือเอนเอียงไปกับสิ่งรอบข้างได้ง่าย ซึ่งบางที คนที่อยู่ตรงข้ามพวกที่ดื้อรั้น อาจจะรู้สึกว่า ถูกเอาเปรียบให้ต้องเลือก หรือทำตามที่พวกดื้อรั้นทำ แต่นั่นจริงๆ แล้ว ไม่ใช่ข้อเสียของคนดื้อรั้น แต่มันอาจจะเป็นขอเสียของอีกฝ่ายมากกว่า ที่ไม่หนักแน่นในความคิดของตนเองมากพอ ซึ่งเขาจะคิดเสมอว่ามีสิทธิ์เลือกที่เขาจะถูกควบคุม หรือ ไม่ถูกควบคุม นั้นเอง

6. มีความพยายามสูงมาก

เด็กที่มีความดื้อรั้นอยู่ในตัวจะมีความพยายามสูงมาก และมากกว่าคนอื่นๆ เพราะด้วยความที่เขาเชื่อมันว่าความคิดของเขาถูก เขาจะไม่ล้มเลิกความพยายามได้ง่ายๆ เขาจะตามล่าความฝันของเขาจนถึงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือแม้กระทั่งเรื่องความรักก็เช่นเดียวกัน คนพวกนี้ คำว่า “ยอมแพ้” แทบจะไม่มีอยู่ในหัวเลยแม้แต่น้อย

7. เด็กดื้อมีความต้องการคนชี้นำ

เพราะเด็กที่ดื้อ จะมีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งบางครั้งมันอาจเป็นความคิดที่ผิด เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง การกระทำบางอย่างของพวกเค้ามันอาจจะเกินรับได้มากไปหน่อย คนเป็นพ่อเป็นแม่ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการจะชี้นำลูกว่าสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ ซึ่งการปล่อยลูกไว้กับสิ่งที่เขาสนใจ แล้วก็ไปทำอย่างอื่น ไม่ได้ช่วยให้เขาโตมาเป็นคนดีได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนและชักจูงเค้าไปในทิศทางเหล่านั้นด้วยตัวเราเอง

ลูกดื้อควรทำอย่างไร

จากข้อดีของพฤติกรรมดังกล่าวมา สำหรับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เหนื่อยใจกับลูกวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ที่พบว่า ลูกมีอาการดื้อรั้น เถียงเก่ง ลองฟังทางนี้ เพราะมีการวิจัยระบุว่า การที่ลูกวัยรุ่นมีอาการดื้อรั้น หรือสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา (แม้จะไม่ถูกหูคุณพ่อคุณแม่) อาจเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตัวเขาเอง โดยเด็กที่มีพฤติกรรมเหล่านี้มักจะมีภูมิต้านทานอบายมุข เช่น ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์ เหนือกว่าเด็กที่เก็บกด หรือไม่เคยได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็นใด ๆ

งานวิจัยนี้เป็นของมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นที่มีอายุ 13 – 16 ปี และพ่อแม่ของพวกเขา พบว่า เด็กวัยรุ่นนั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา และสามารถบอกถึงมุมมองของตนเองต่อผู้ปกครองได้ แม้จะมีการถกเถียงกันก็ตาม จะมีภูมิคุ้มกันบางอย่างเกิดขึ้น และมันช่วยให้เด็กกลุ่มนี้ไม่หันหายาเสพติด หรือแอลกอฮอล์เมื่อถูกชักชวนจากเพื่อน ๆ

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบด้วยว่า การที่เด็กลุกขึ้นมาลุยเล็ก ๆ กับผู้เป็น “แม่” ยิ่งมีประโยชน์กับตัวเด็กเอง มากกว่า พ่อ พี่น้อง ญาติ ๆ หรือเพื่อน ๆ ด้วย เพราะการคุยกับแม่นั้น เด็กจะต้องหาเหตุผลต่าง ๆ มาโต้แย้งให้ตัวเองรอดพ้นจากข้อกล่าวหา หรือการถูกบ่นว่าต่าง ๆ มากกว่าสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ นั่นเอง ตรงกันข้ามกับเด็กที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือต้องเก็บกดเนื่องจากครอบครัวไม่เปิดโอกาสให้ พวกเขาจะไประบายให้เพื่อนฟังแทน นั่นทำให้เด็กรู้สึกว่าเพื่อนเป็นที่พึ่งทางใจ และทำให้เพื่อนมีอิทธิพลต่อตัวเด็กมากขึ้น ดังนั้นหากวันหนึ่งเพื่อนชักชวนให้ลองเสพยาเสพติด เด็กก็อาจคล้อยตามได้ง่าย

ทั้งนี้ทั้งนั้นการรู้ว่ามีลูกดื้อ สิ่งสำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ควรฟังลูกให้มากขึ้น ไม่ได้ให้ตามใจเด็ก แต่ให้รับฟังเขา พอเขาต่อรองอะไรมา ถ้าทำได้เราก็ต่อรองกลับ ถ้าทำไม่ได้เราก็รับฟังแต่ไม่ได้ตามใจ อยากให้พ่อแม่ยุคใหม่เข้าใจเรื่องของการต่อรองกับลูก พูดคุยกัน ไม่จำเป็นต้องไปสั่งเด็กทั้งหมด การฝึกให้ลูกต่อรองกับเราให้เป็น เขาก็จะมีทักษะเวลาเขาโตขึ้นแล้วไปเจออะไรที่ไม่เข้าที เขาก็สามารถต่อรองได้ เอาตัวรอดได้

ก็เรียกว่า งานนี้คงเพิ่มความเหนื่อยให้คุณแม่อีกหลายเท่าเลยทีเดียว แต่เชื่อว่า ถ้าเป็นสิ่งที่ดีต่อลูก หรือทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันทางใจ คุณแม่คนไหนก็ยอมเหนื่อยค่ะ ส่วนลูกวัยรุ่นก็อย่าชะล่าใจ หรือใช้โอกาสนี้พูดจาโต้เถียงหักหาญน้ำใจพ่อแม่กันมากจนเกินไปนักนะคะ เพราะการแสดงความคิดเห็นก็มีหลายแบบให้เลือกใช้ ฝึกมาแบบใดมันก็จะติดตัวคุณลูก ๆ ไปจนโตเช่นกันค่ะ ลองคิดหาทางโต้แย้ง – แสดงความคิดเห็นแบบที่ไม่ทำร้ายจิตใจพ่อแม่กันก็ดีค่ะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.kiitdoo.com , imgads.manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up