AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อุทาหรณ์ เกือบเสียลูกรักเพราะลูกไม่ยอมเคี้ยว

อุทาหรณ์ เกือบเสียลูกรักเพราะลูกไม่ยอมเคี้ยว

มีประสบการณ์หนึ่งจากคุณแม่ ที่โพสต์เล่าเหตุการณ์เอาไว้เป็นอุทาหรณ์ เมื่อลูกรักของคุณแม่ รับประทานมะม่วงเข้าไปแต่ ไม่ยอมเคี้ยว ซึ่งปกติคุณแม่จะหั่นผลไม้ให้ลูกน้อยหยิบรับประทานเองเป็นชิ้นเล็กๆ  ลูกน้อยฟันขึ้น 10 ซี่แล้ว จึงสามารถเคี้ยวได้ แต่ปัญหาคือลูกน้อยไม่ชอบเคี้ยว

เกือบเสียลูกรักเพราะ ไม่ยอมเคี้ยว

อุทาหรณ์ลูกไม่ยอมเคี้ยว
อุทาหรณ์ลูกไม่ยอมเคี้ยว
ต้องสังเกตการเคี้ยวอาหารของทารก

สิ่งที่คุณแม่อยากจะย้ำเตือนให้คุณพ่อ คุณแม่ทุกคนระมัดระวัง คือเรื่องการเคี้ยวอาหารของลูกน้อย เพราะบางครั้งเด็กๆ มักจะไม่ชอบเคี้ยว ชอบอมอาหารเอาไว้ในปาก หรือเอาไปแอบตุนไว้ที่กระพุ้งแก้ม แล้วอาจกลืนลงคอเข้าไปในคราวเดียว อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงอันตรายได้ รวมถึงเมื่อเกิดเหตุการณ์คับขัน เมื่อลูกน้อยมีอาหารติดคอ คุณพ่อ คุณแม่ห้ามเอามือล้วงเข้าไปเด็ดขาด ควรศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “มาฝึกลูกน้อยเคี้ยวข้าวกันเถอะ” คลิกหน้า 2

มาฝึกลูกน้อยเคี้ยวข้าวกันเถอะ

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยวข้าวของลูกน้อย สารพัดปัญหาที่คุณพ่อ คุณแม่อาจจะเคยพบเจอ เช่น ลูกไม่ยอมเคี้ยวข้าว ชอบอมข้าว ชอบรับประทานแต่อาหารเหลวๆ ถ้าถูกบังคับก็จะไม่ยอมรับประทาน ปัญหาเหล่านี้ อาจสร้างความกังวลใจได้ แต่ไม่เป็นไรค่ะ แม่น้องเล็กมีเทคนิคเด็ดมาแนะนำ

การเคี้ยว ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของขากรรไกร เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ ถ้าฝึกบ่อยๆ จะทำให้ลูกน้อยเคี้ยวข้าวอย่างถูกต้อง และช่วยกระตุ้นให้กราม และฟันโตสวย ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ให้ลูกน้อยได้รับประทานอาหารตามวัยที่เหมาะสม ค่อยๆ เพิ่มความแข็งของอาหาร ก็จะช่วยให้ลูกน้อย ค่อยๆ ฝึกการเคี้ยวอย่างถูกต้องได้

ตารางพัฒนาการ การเคี้ยวอาหารของทารก

เมื่อลูกน้อยอายุได้ประมาณ 6-8 เดือน ฟันน้ำนมซี่แรกของลูกน้อยเริ่มขึ้น ลูกน้อยอาจจะมีอาการคันเหงือก เพราะฟันกำลังจะโผล่ผลเหงือกออกมา การฝึกเคี้ยวนอกจากจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อให้ลูกน้อยแล้ว ยังช่วยบำรุงสมองให้ลูกน้อยด้วย ซึ่งการเคี้ยวอย่างช้าๆ 30-50 ครั้ง/คำ จะช่วยควบคุมอารมณ์ให้เย็นขึ้น ช่วยลดความเครียด สมองแล่นฉิว เพราะร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดี และทำให้สมองของลูกน้อยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ลูกไม่ยอมเคี้ยวข้าว ทำยังไงดี?” คลิกหน้า 3

ลูกไม่ยอมเคี้ยวข้าว ทำยังไงดี?

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่กลุ้มใจเรื่องลูกน้อยไม่ยอมเคี้ยวข้าว ลองทบทวนดูดีๆ ว่าทำไมลูกน้อยถึงไม่ยอมเคี้ยว การหาสาเหตุจะทำให้คุณพ่อ คุณแม่หาวิธีการแก้ไขได้

1.เริ่มเร็วเกินไป

การที่คุณพ่อ คุณแม่ เริ่มให้อาหารลูกน้อยเร็วเกินไป อาจจะทำให้ลูกน้อยต่อต้านการรับประทานอาหาร เนื่องจากร่างกายยังไม่พร้อม และยังส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อย ทำให้ลูกมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อย เนื่องจากลูกน้อยยังไม่พร้อมรับอย่างอื่นนอกจากนมแม่

2.เริ่มช้าเกินไป

การที่เริ่มให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมช้าเกินไป อาจทำให้กลไกในการบดเคี้ยวของลูกน้อยไม่ได้รับการพัฒนา ลูกจึงปฏิเสธการเคี้ยว หรือเคี้ยวได้ แต่ไม่ละเอียดเท่าที่ควร

3.ตามใจลูกมากเกินไป

คุณพ่อ คุณแม่บางคนเห็นลูกไม่ยอมรับประทานอาหาร ร้องไห้งอแงเรียกหาแต่นม จึงยอมให้ลูกน้อยกินแต่นม จนลูกน้อยตัวเล็ก ขาดสารอาหาร ทำให้ลูกปฏิเสธที่จะเคี้ยวอาหาร

พญ.ภัทรียา เลิศชีวกานต์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้คำแนะนำว่า “การฝึกให้เด็กทานข้าวเองเริ่มได้ตั้งแต่เด็กสามารถหยิบจับของด้วยมือได้ อาจให้หยิบของกินชิ้นเล็ก เช่น เส้นบะหมี่ ชิ้นขนมปัง แท่งชีส เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะประมาณ 8-9 เดือน อาจมีหกเลอะเทอะบ้าง อย่าไปกังวลนะคะ เมื่อทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กดีขึ้น ใช้ช้อนได้เก่งขึ้น ก็จะเลอะเทอะน้อยลงเองค่ะ หัดให้เด็กนั่งเก้าอี้ร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่ตั้งแต่เล็ก โดยใช้เก้าอี้สูง (high chair) ไม่ควรไปตามป้อน ให้เด็กนั่งจนกว่าจะครบ 20-30 นาที แล้วเก็บจานแม้จะอิ่มหรือไม่อิ่มก็ตาม ก็ควรให้เด็กเรียนรู้ว่าเวลาทานอาหารก็ต้องทานอาหาร ไม่ใช่เวลาเล่น หากไม่ใช่เวลาดังกล่าวก็จะไม่ได้กิน ยกเว้นช่วงเบรกอาหารว่าง ส่วนใหญ่หากฝึกเรื่อยๆเด็กจะเรียนรู้กิจวัตรการกินได้เองค่ะ”

วิธีแก้ปัญหาลูกไม่เคี้ยวข้าว

คุณพ่อ คุณแม่ลองฝึกฝนดูนะคะ แม่น้องเล็กเชื่อว่าความพยายามของคุณพ่อ คุณแม่จะช่วยฝึกให้ลูกน้อยเคี้ยวข้าวได้ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่าบังคับลูก การเคี้ยวมีประโยชน์สารพัด ช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยขาดสารอาหารเนื่องจากเบื่ออาหาร ระบบขับถ่ายดี และช่วยในการพัฒนาการพูดให้เร็วขึ้นได้

เครดิต: พญ.ภัทรียา เลิศชีวกานต์, Haijai.com, คลินิกทันตแพทย์สมเกียรติ, เด็กดีดอทคอม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!

ลูกไม่ยอมเคี้ยว กลืนจนอาหารติดคอ จะแก้ไขอย่างไร?

ลูกเบบี๋ไม่อยากเคี้ยวอาหาร ทำยังไงดี?

วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)

Save

Save