ไม่ยอมเคี้ยว จนอาหารติดคอ หัวอกแม่เกือบเสียลูกน้อย - amarinbabyandkids
ไม่ยอมเคี้ยว

อุทาหรณ์ เกือบเสียลูกรักเพราะลูกไม่ยอมเคี้ยว

event
ไม่ยอมเคี้ยว
ไม่ยอมเคี้ยว

ลูกไม่ยอมเคี้ยวข้าว ทำยังไงดี?

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่กลุ้มใจเรื่องลูกน้อยไม่ยอมเคี้ยวข้าว ลองทบทวนดูดีๆ ว่าทำไมลูกน้อยถึงไม่ยอมเคี้ยว การหาสาเหตุจะทำให้คุณพ่อ คุณแม่หาวิธีการแก้ไขได้

1.เริ่มเร็วเกินไป

การที่คุณพ่อ คุณแม่ เริ่มให้อาหารลูกน้อยเร็วเกินไป อาจจะทำให้ลูกน้อยต่อต้านการรับประทานอาหาร เนื่องจากร่างกายยังไม่พร้อม และยังส่งผลเสียต่อระบบการย่อยอาหารของลูกน้อย ทำให้ลูกมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เพราะอาหารไม่ย่อย เนื่องจากลูกน้อยยังไม่พร้อมรับอย่างอื่นนอกจากนมแม่

2.เริ่มช้าเกินไป

การที่เริ่มให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมช้าเกินไป อาจทำให้กลไกในการบดเคี้ยวของลูกน้อยไม่ได้รับการพัฒนา ลูกจึงปฏิเสธการเคี้ยว หรือเคี้ยวได้ แต่ไม่ละเอียดเท่าที่ควร

3.ตามใจลูกมากเกินไป

คุณพ่อ คุณแม่บางคนเห็นลูกไม่ยอมรับประทานอาหาร ร้องไห้งอแงเรียกหาแต่นม จึงยอมให้ลูกน้อยกินแต่นม จนลูกน้อยตัวเล็ก ขาดสารอาหาร ทำให้ลูกปฏิเสธที่จะเคี้ยวอาหาร

พญ.ภัทรียา เลิศชีวกานต์ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้คำแนะนำว่า “การฝึกให้เด็กทานข้าวเองเริ่มได้ตั้งแต่เด็กสามารถหยิบจับของด้วยมือได้ อาจให้หยิบของกินชิ้นเล็ก เช่น เส้นบะหมี่ ชิ้นขนมปัง แท่งชีส เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะประมาณ 8-9 เดือน อาจมีหกเลอะเทอะบ้าง อย่าไปกังวลนะคะ เมื่อทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กดีขึ้น ใช้ช้อนได้เก่งขึ้น ก็จะเลอะเทอะน้อยลงเองค่ะ หัดให้เด็กนั่งเก้าอี้ร่วมโต๊ะกับผู้ใหญ่ตั้งแต่เล็ก โดยใช้เก้าอี้สูง (high chair) ไม่ควรไปตามป้อน ให้เด็กนั่งจนกว่าจะครบ 20-30 นาที แล้วเก็บจานแม้จะอิ่มหรือไม่อิ่มก็ตาม ก็ควรให้เด็กเรียนรู้ว่าเวลาทานอาหารก็ต้องทานอาหาร ไม่ใช่เวลาเล่น หากไม่ใช่เวลาดังกล่าวก็จะไม่ได้กิน ยกเว้นช่วงเบรกอาหารว่าง ส่วนใหญ่หากฝึกเรื่อยๆเด็กจะเรียนรู้กิจวัตรการกินได้เองค่ะ”

ลูกไม่เคี้ยวข้าว
วิธีแก้ปัญหาลูกไม่เคี้ยวข้าว

คุณพ่อ คุณแม่ลองฝึกฝนดูนะคะ แม่น้องเล็กเชื่อว่าความพยายามของคุณพ่อ คุณแม่จะช่วยฝึกให้ลูกน้อยเคี้ยวข้าวได้ ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่าบังคับลูก การเคี้ยวมีประโยชน์สารพัด ช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยขาดสารอาหารเนื่องจากเบื่ออาหาร ระบบขับถ่ายดี และช่วยในการพัฒนาการพูดให้เร็วขึ้นได้

เครดิต: พญ.ภัทรียา เลิศชีวกานต์, Haijai.com, คลินิกทันตแพทย์สมเกียรติ, เด็กดีดอทคอม

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!

ลูกไม่ยอมเคี้ยว กลืนจนอาหารติดคอ จะแก้ไขอย่างไร?

ลูกเบบี๋ไม่อยากเคี้ยวอาหาร ทำยังไงดี?

วิธีช่วยชีวิตลูก สิ่งแปลกปลอมติดคอ สำลักอาหาร (มีคลิป)

Save

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up