หาวิธีหลายๆวิธีแต่ไม่ค่อยได้ผลทั้งเอาของเล่นไปทิ้ง,งดเล่นของเล่นไปเป็นวัน โดน Time Out, ตี ฯ แต่ไม่ได้ผลเลย ลูกจะเก็บไปประมาณ 1-2 ชินแล้วหันมาบอกว่าหมดแล้ว เราก็ไม่ยอมทะเลาะกันทุกวันก่อนเข้านอน
หลังพบครูฝึก : เราไม่ต้องเข้มงวดขนาดต้องเก็บของเล่นให้หมดด้วยตัวของลูกเอง 100% แต่ช่วยกันเก็บคนละครึ่ง เก็บกันคนละชิ้น ลูกชิ้นนึงแม่ชิ้นนึงสลับกันจนกว่าจะเก็บหมด ด้วยวิธีไหนก็ได้ให้เค้าได้ลงมือเก็บด้วยตัวเอง เค้าจะค่อยๆเรียนรู้และโตขึ้นสุดท้ายเค้าจะเก็บหมดได้ด้วยตัวเค้าเอง
เรื่องนี้แม่ลองแล้วค่ะ ความตึงเครียดลดลงเยอะ แต่ก็ยังมีอิดออก บ่นว่าเก็บหมดแล้ว เก็บหมดแล้วแต่ก็ไม่รู้สึกแย่เท่าตอนที่แม่ตึงมากบังคับให้เก็บให้หมด ครูฝึกแนะนำว่าเรื่องบางเรื่องไม่ต้องตึงจนเกินไป ผ่อนบ้างแม่ก็จะไม่เครียดลูกก็จะไม่เบื่อด้วย
คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นมีวิธียังไงแชร์กันได้นะคะเรื่องเก็บของเล่น
♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦
ขั้นอารมณ์นิดนึงนะคะเดี๋ยวเราเล่าเป็นเคสๆ ต่อว่า เราไปปรึกษาหมอเคสอื่นๆ แล้วได้วิธีในการรับมือยังไง
วิธีการเลี้ยงของแม่ที่ผ่านมายอมรับว่าไม่เข้มงวดมากจนเป็นเหตุให้ทะเลาะกับคุณพ่อของน้องค่ะ คุณพ่อของน้องพุดเสมอว่าเราไม่เข้มงวดกับลูกปล่อยในเรื่องที่ไม่ควรปล่อยทำให้เวลาออกไปนอกบ้านลูกไม่รู้จักว่าจะต้องทำตัวยังไง เราเคยมีทริปไปเที่ยวต่างประเทศชัดเจนเลยค่ะว่าลูกไม่ค่อยฟังเราเรียกได้ว่าปากเปียกปากแฉะเลยทีเดียวกว่าจะสั่งให้ทำอะไรได้ สุดท้ายเรากับแฟนเลยทะเลาะกันเรื่องวิธีการเลี้ยงลูก สำหรับเราคุณพ่อดุน้องแรงเกินไปและตีแรงเกินไป คือตีหนักมาก ในมุมของคุณพ่อเค้าคิดว่าครั้งเดียวลูกจะได้จำ คือที่ตีไม่ใช่ว่าเพราะไม่รัก แต่เพราะรักเลยใช้วิธีนี้ สุดท้ายเราก็เสียใจ เจ็บเพราะเห็นลูกเจ็บ เครียดเพราะลูกไม่ฟังเรา ทะเลาะกับแฟนเพราะกลายเป็นทัศนะคติในการเลี้ยงไม่ตรงกัน ตรงนี้สำคัญมากเพราะมันคือจุดเริ่มต้นความขัดแย้ง ลูกเริ่มไม่ไว้ใจคุณพ่อความสัมพันธ์พ่อกับลูกถดถอยซึ่งเรื่องนี้เราเครียดมาก ถ้าไม่ได้ตัดสินใจไปพบคุณหมอเราอาจมีปัญหามากกว่านี้ ลูกอาจกลายเป็นเด็กมีปัญหาเพราะโดนใช้ความรุนแรง และเพราะเราและคุณพ่อน้องรักลูกมากเราอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดกับลูก เราคิดว่าคุ้มค่ามากที่ได้ปรึกษาคุณหมอ(ครูฝึก)
การเลี้ยงดูอีกอย่างของเราที่ถือว่าเป็นข้อดีทำให้เราแก้ปัญหาตามคำแนะนำของครูฝึกคือเราไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยีค่ะ เราไม่ให้ลูกดูแทปเล็ตด้วยตัวเอง ไม่ใช่ไม่ให้ดูเลยในบางเวลาเราก็ต้องพึ่งเจ้าสิ่งนี้ แต่เราจำกัดเวลาในการดูไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง โทรทัศน์เราเลือกสิ่งที่จะให้ลูกดูและพยายามนั่งดูไปพร้อมกับลูกค่ะ
มีหลายๆเรื่องที่ทำให้ลูกเรามีพัฒนาการบางอย่างที่ช้ากว่าปกติ หรือสามารถพัฒนาได้มากกว่านี้แต่เราดูแลเค้าผิดเลยต้องกลับมาปรับปรุงวิธีการดูแลเค้าซึ่งเราจะเล่าในข้อต่อไปนะคะ
♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦
6. พฤติกรรมการขู่เหมือนไดโนเสาร์
(น้องเคยดูการ์ตูนแอนนิเมชั่นเรื่อง Good Dinosaur เลยเลียนแบบ) เวลาที่พาลูกไปเล่นบ้านบอล หรือเวลาที่ลูกเจอเพื่อนที่เรียนเตรียมอนุบาลด้วยกันลูกจะใช้วิธีการขู่แบบทำเสียงอ่าส์์แบบได้โนเสาร์คำรามค่ะ ทำทุกครั้งที่อยากเล่นกับใครพฤติกรรมนี้จริงๆไม่มีพิษมีภัยอะไรเพียงแต่เป็นวิธีการเข้าสังคมที่ผิดวิธีและสาเหตุที่ซ่อนอยู่ข้างใน
พอรู้เหตุผลแม่ต้องรีบปรับวิธีการเลี้ยงน้องในทันทีเคสนี้แม่ใช้วิธีอธิบาย แสดงให้เห็นว่าวิธีการชวนคนอื่นเล่นทำยังไง หรือวิธีการดุแต่ไม่ค่อยจะได้ผล ตอนไปพบครูฝึกและปรึกษาเรื่องพฤติกรรมนี้ รวมไปถึงเล่าเรื่องการไม่ยอมเก็บของเล่น นำมาซึ่งวิธีที่คุณพ่อกับคุณแม่คิดว่าน่าจะโอเคคือจำกัดการนำของเล่นออกมาเล่น โดยที่แม่เข้าใจเองว่า เค้าจะได้มีสมาธิในการเล่นของเล่นทีละอย่าง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นวิธีที่ผิดค่ะ แม่ทำตัวหนาๆที่หนังสือเพื่ออยากให้คุณพ่อหรือคุณแม่ที่เคยทำแบบนี้เลิกวิธีการนี้
เพราะครูฝึกแนะนำว่า “การที่เราจำกัดของเล่นเค้า ทำให้ลูกมีจินตนาการได้น้อยลง สมองของลูกยังเชื่อมต่อเรื่องราวได้ไม่ดีถ้าเค้าได้เล่นของเล่นหลายๆชิ้นจะทำให้ลูกจินตนาการและสมมุติตัวละคนในจินตนาการได้เอง สุดท้ายลูกจะนำมาเชื่อมต่อจนกลายเป็นปรับมาใช้ในการเข้าสังคม หรือการชวนเพื่อนเล่นของเล่นได้เองโดยอัตโนมัติค่ะ” ทิ้งเรื่องความคิดที่ว่าอยากสอนให้เค้าเล่นของเล่นทีละอย่างหรือคิดว่าการให้เล่นของเล่นทีละอย่างจะทำให้เค้ามีสมาธิขึ้นไปได้เลย
ลูกของแม่เล่นสมมุติบทบาทไม่เป็น ไดโนเสาร์ตัวใหญ่สมมุติว่าเป็นคุณพ่อ ไดโนเสาร์อีกตัวสมมุติว่าเป็นคุณแม่น้องจินตนาการไม่ถูกค่ะ รวมไปถึงการจินตนาการว่าของเล่นที่สูงๆเป็นภูเขาเราต้องเอาไดโนเสาร์ข้ามผ่านไปน้องเล่นแบบนี้ไม่เป็น ทำให้การอธิบาย การเชื่อมโยงความคิดและการเข้าสังคมของน้องยังพัฒนาไปได้ไม่เต็มที่
เราโชคดีที่มาปรึกษาครูฝึก ทำให้ปรับได้ทันหลังจากกลับมาลองทำดูพฤติกรรมขู่เวลาอยากชวนเพื่อนเล่นน้อยลงจนปัจจุบันแทบไม่ทำแบบนั้นแล้วค่ะ
อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ที่คุณแม่ได้แบ่งปัน กับ วิธีจัดการลูกดื้อ จากคลินิกพัฒนาการเด็กที่ไปปรึกษามานั้น อาจแก้ไขได้กับเด็กเฉพาะคน ซึ่งคุณแม่สามารถนำมาเพื่อปรับใช้กับลูกน้อยของตัวเองได้ หรือหากคุณแม่มีคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีจัดการลูกดื้อ ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ใต้โพสต์นี้ หน้าเฟซบุ๊กได้เลยนะคะ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- ลูกดื้อ ชอบเอาชนะ ต้องดูคลิป! นักจิตวิทยาชื่อดังแนะวิธีแก้ไขใช้ได้กับทุกบ้าน
- นักจิตวิทยาระดับโลกแนะ 3 วิธีรับมือ ลูกดื้อ
- นักจิตวิทยาแนะ! แก้ปัญหาลูกดื้อ ด้วยวิธีเชิงบวกแสนง่าย (มีคลิป)
- 10 วิธีรับมือ ลูกดื้อ ตามแบบฉบับคุณแม่ยุคใหม่!
ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาชิกผู้ใช้เว็บไซต์พันทิป ชื่อ Shirogane >> https://pantip.com/topic/37462068?