โรคพิการทางหู โรคที่องค์การอนามัยโลก เป็นห่วง เนื่องจากพบว่าเด็กยุคใหม่เป็นเพิ่มมากขึ้น
หู คืออวัยวะสำคัญของมนุษย์ทุกคน จริงอยู่ที่การสูญเสียการได้ยิน อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหม่ของโลก หากแต่ปัจจุบันมีไม่กี่ประเทศหรอกค่ะ ที่จะทำการหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญ และพร้อมที่จะหาวิธีแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งในวันนี้ เราจะขอยกตัวอย่างประเทศออสเตรเลีย พันธิมิตรของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย เชื่อหรือไม่คะว่า พวกเขาผลักดันให้มีการวิจัยและพัฒนาเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น
เช่นเดียวกับ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยคาดการณ์ว่า จะมีผู้ป่วย โรคพิการทางหู เพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยมีผลการวิเคราะห์จากงานวิจัยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีประชากรประมาณ 360 ล้านคน หรือ 5.3 เปอร์เซ็นต์ จากประชากรโลก 7,300 ล้านคน มีปัญหาสูญเสียการได้ยินในระดับพิการ ซึ่งถือเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด รายละเอียดจะเป็นเช่นไร ไปอ่านบทความนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ผลการวิเคราะห์ขององค์การอนามัยโลกนั้น ไปสอดคล้องกับงานวิจัยหนึ่งที่มีชื่อว่า “Cochlear” โดยพบว่า ปัจจุบันปัญหา “โรคพิการทางหู” มีมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ประเมินว่าในปี 2020 จะเพิ่มขึ้นเป็น 64 ล้านคน จาก 47 ล้านคนในปัจจุบัน และจะเพิ่มขึ้นถึง 95 ล้านคนในปี 2050
ความน่าสนใจคือ ปัจจุบันกลุ่มผู้พิการทางหูที่พบใน “วัยผู้ใหญ่” ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ ระหว่าง 65-79 ปี
ขณะที่กลุ่มผู้พิการใน “วัยเด็ก” กลับพบมากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยมีอายุระหว่าง 3-17 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกสูงที่สุด อันดับหนึ่ง ได้แก่ ศรีลังกา ตามด้วยอินโดนีเซีย และจีน เป็นต้น และแม้แต่ “สิงคโปร์” ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็พบว่ากลุ่มผู้พิการทางหูส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 3-17 ปี ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้พบว่า ผู้พิการทางหูนั้นพบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี โดยประเทศที่พบมากที่สุดคือ “อินโดนีเซีย” ซึ่งสาเหตุสำคัญนั้นมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการมีบุตร รวมไปถึงขาดความพร้อมและศักยภาพของกลุ่มแพทย์ในประเทศด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญที่พบเกี่ยวกับงานวิจัยก็คือ “ความพิการทางหูในกลุ่มวัยเด็ก พบว่ามีความเสี่ยงและส่งผลกระทบกับทางเศรษฐกิจของประเทศ มากกว่ากลุ่มผู้พิการทางหูในวัยสูงอายุ”
ทั้งนี้ทั้งนั้น วันนี้ทีมงาน มีวิธีการสังเกตลูกหลานตั้งแต่พวกเขายังเล็กมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านกันค่ะ ซึ่งถ้าหากคุณแม่รู้เร็ว โอกาสที่จะแก้ไขก็มีเพิ่มมากขึ้น ว่าแล้วไปดูกันเลยค่ะ
- สำหรับเด็กในระยะแรกที่เกิดใหม่ วิธีเริ่มแรก ของเด็กทั่วไป หลังคลอดจะส่งเสียงร้องออกมา เพราะความตกใจ หรือได้ยินเสียงของโลกภายนอกเสียงที่ไม่เคยได้ยิน การส่งเสียงของเด็กที่แสดงให้เรารู้ว่า มีพฤติกรรมรับรู้เสียงชัด ส่วนเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน จะไม่แสดงอาการส่งเสียงร้องออกมามากนัก เนื่องจาก ไม่ได้ยินเสียงของคุณหมอ มักจะร้องต่อเมื่อหิวอาหาร หรือป่วยหนัก ๆ เท่านั้น
- เด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไปหลังจากคลอดแล้ว จุดสังเกตเบื้องต้น พูด หรือส่งเสียงเรียกเขา หากไม่มีการตอบรับ ต้องรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายของเด็กให้เร็วที่สุด
- เด็กที่อายุ 6 เดือน ใช้วิธีเรียก หรือส่งเสียงให้เขารับรู้ หากได้ยิน เด็กจะแสดงพฤติกรรมการเอียงหู หรือหันหน้ามาหาเรา หากไม่พบสิ่งที่ได้เอ่ยมา แสดงว่าเด็กอาจจุมีการสูญเสียการได้ยินไปบ้างเล็กน้อย
- อายุ 8 – 12 เดือน สังเกตพฤติกรรม การรับชมทีวี การหัวเราะ ว่ามีพฤติกรรม นอกเหนือจากเด็กทั่วไปหรือไม่ ปกติแล้วหากเด็กรับชมการ์ตูน หรือดูทีวี จะแสดงท่าทีที่ชอบ และหยอกล้อกับสิ่งที่เขาเห็น เช่นการ์ตูน เป็นต้น
- เด็กอายุ 2 ปี ปกติแล้ว อายุครบ 2 ปี ถือว่าเด็กต้องมีการพูดคุยกับคุณพ่อ และคุณแม่ได้พอสมควรแล้ว และการรับรู้หรือการรับเสียง จะเต็มที่สุดในอายุครบ 2 ปี หากเด็ก ม่ความบกพร่องทางการได้ยิน แนะนำควรปรึกษา
สรุปแล้วการสังเกตเด็กที่หูหนวก หรือบกพร่องทางการได้ยิน หากอายุครบ 2 ปี ยังไม่พูด หรือแสดงกิริยา ที่ผิดปกติ ไม่มีการโต้ตอบเหมือนเด็กทั่วไป แสดงว่าเด็กอาจจุพิการทางด้านหูแล้ว แต่สมัยนี้นวัตกรรมของคุณหมอ มีความเชียวชาญและทันสมัยมากขึ้น การรับรู้ของเด็กที่พิการทางด้านหูก็อาจจะมีสิทธิกลับมาได้ยินเหมือนเด็กทั่วไปอีกครั้ง ทางที่ดีหากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติก็อย่ารอช้าค่ะ ควรปรึกษาแพทย์อย่างเร่งด่วน
ขอบคุณที่มา: Prachachart และ Abnormal Behavior
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจซ
- แพทย์เตือน! ให้ลูกเล่นมือถือ เสี่ยงพัฒนาการแย่ลงในทุกด้าน
- เด็กดื้อ (พัฒนาการถดถอย) เพราะ 7 คำพูดไม่ดีจากพ่อแม่!!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่